อุปกรณ์แยกฝุ่นไซโคลนสําหรับการศึกษาในห้องปฏิบัติการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็กที่เกิดจากกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมหรือใน กระบวนการทางธรรมชาติหากไม่มีการควบคุมและการจัดการที่เหมาะสมย่อมส่งผลให้เกิดการฟุ่ง กระจายและแขวนลอยในอากาศและอาจก่อให้เกิดปัญหามลภาวะ งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการประเมิน สมรรถนะของอุปกรณ์แยกฝุ่นไซโคลนที่ออกแบบและสร้างขึ้นโดยการนําสัดส่วนมิติสําหรับไซโคลน ประสิทธิภาพสูงมาประยุกต์กับโมเดลไซโคลนที่มีรูปแบบสมการที่ไม่ซับซ้อนสําหรับการทดสอบและ ใช้สําหรับการเรียนการสอนในห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาโดยใช้อนุภาคตัวอย่าง (ทรายบด) ที่คัดแยกเป็นขนาดต่าง ๆ ได้แก่อนุภาคที่มี ขนาดน้อยกว่า 32,32-44, 45-124,125-249,250-299และ300-425 ไมครอน (ความหนาแน่น ระหว่าง 2.636 – 2.650 g/cm3)ใช้อัตราการไหลอากาศอัดคงที่ ณ 1.0,2.0, 3.0, 4.0,6.0,8.0 และ10.0 m3/hrณ อุณหภูมิ 30 ±1oCผลการทดสอบพบว่า ค่าความดันลดคล่อมไซโคลนมีค่าระหว่าง35.3 –196.0 Pa ไซโคลนมีประสิทธิภาพในการเก็บกักอนุภาคขนาดต่าง ๆ สอดคลองกับมาตรฐาน ประสิทธิภาพการเก็บกักอนุภาคของไซโคลนประสิทธิภาพสูงตามเส้นโค้งทํานายสัดส่วนประสิทธิภาพของไซโคลนนี้โดยภาวะที่เหมาะสมเพื่อการศึกษาในห้องปฏิบัติการ (ไม่มีผงอนุภาคบางส่วนตกค้างอยู่บริเวณช่องทางเข้าตัวไซโคลน)คืออัตราการไหลอากาศอัดไม่น้อยกว่า 4.0 m3/hrและขนาดของอนุภาค (ทรายบด) น้อยกว่า 425.0 m และค่าความดันลดตลอดการศึกษาไม่เกิน0.0031 บรรยากาศ