ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมลาวกับสังคม กรณีศึกษาเรื่องสั้นประเพณีและชีวิต

Main Article Content

วิเชษฐชาย กมลสัจจะ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของวรรณกรรมลาวกับสังคมใน เรื่องสั้น “ประเพณีและชีวิต” ของบุนเสิน แสงมณี ผลการศึกษาพบว่า เรื่องสั้นประเพณีและชีวิตเป็น การปะทะทางด้านความคิดของคนรุ่นใหม่กับคนรุ่นเก่า ดังนั้นสภาพสังคมภายในเรื่องจึงแบ่งออกเป็น สภาพสังคมของคนลาวรุ่นเก่าในแถบชนบทกับคนลาวรุ่นใหม่ โดยคนรุ่นเก่ายังปรากฏ ความเชื่อเรื่องภูตผีจารีตประเพณี การให้ความสําคัญกับการประกอบอาชีพมากกว่าการศึกษา และความคิดเหล่านั้นล้วนแต่ได้รับอิทธิพลมาจากการสืบทอดมาในอดีตแต่ในขณะเดียวกันภายในเรื่องประเพณีและชีวิตก็ยังคงนําเสนอความคิดของคนรุ่นใหม่ที่ขัดแย่งกับความคิดของคนรุ่นเก่า โดยได้มีการให้ความสําคัญในเรื่องการศึกษาอีกทั้งได้รับการสนับสนุนในเรื่องการศึกษาจากรัฐบาลและหน่วยงานที่เป็นปัจจัยและตัวแปรสําคัญทําให้ความคิดของคนรุ่นใหม่เปลี่ยนไปจากเดิม แต่อย่างไรก็ตามผู้เขียนยังคงได้สร้างตัวละครรุ่นกลาง เพื่อคอยผสานระหว่างความคิดของคนรุ่นเก่ากับความคิดของคนรุ่นใหม่ไว้ด้วยกัน เรื่องสั้นประเพณีและชีวิตยังแสดงให้เห็นถึงความเสมอภาค ทั้งในเรื่องของการให้ความสําคัญกับกลุ่มชนต่าง ๆ เห็นได้จากการที่เด็กในกลุ่มต่าง ๆ ได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม การให้ผู้หญิงมีสิทธิและบทบาทที่เท่าเทียมกับผู้ชาย รวมไปถึงการนําเสนอบทบาทที่สําคัญของผู้หญิงในฐานะ แม่ ภรรยา และบุตรสาว ที่มีบทบาทสําคัญในสังคมทั้งในบ้านและนอกบ้าน เป็นผู้อยู่เบื้องหลังของความสําเร็จต่าง ๆ เป็นกําลังในการพัฒนาชาติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นความเป็นผู้หญิงลาวที่มีบทบาทสําคัญในสังคมของประเทศ และยังคงรักษาความเป็น แม่หญิงลาวในอุดมคติตามความคาดหวังของสังคมไว้อีกด้วย เหล่านี้เองทําให้เห็นถึงความเปิดกว้างและยอมรับให้ผู้หญิงมีบทบาททางสังคมของประเทศลาว นอกจากนี้ยังมีการนําเสนอผลกระทบจากบาดแผลสงคราม ผานตัวละครและการดําเนินเรื่อง อีกทั้งยังให้ภาพของการสร้างชาติและการพัฒนาประเทศของลาว โดยปลูกฝังให้ประชาชนมีความรักชาติและมีความต้องการพัฒนาประเทศ

Article Details

บท
บทความวิจัย