การดำเนินโครงการสวนปันสุขสร้างชาติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในพระดำริ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช วัดบางสระเก้า อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

ธรรศพงศ์ วงษ์สวัสดิ์
พรจิต อรัณยกานนท์
ทรงพล มงคลจิรวัฒน์
พระปลัดสาธิต ทองเปรม

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการดำเนินโครงการสวนปันสุขสร้างชาติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของวัดบางสระเก้า จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) ศึกษาปัญหาอุปสรรคการดำเนินโครงการสวนปันสุขสร้างชาติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงวัดบางสระเก้า อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ประชากรที่ใช้วิจัย คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุมชนบางสระเก้า จำนวน 766 ครัวเรือน การเลือกสุ่มตัวอย่างจากกลุ่มเป้าหมายแบบง่าย ครัวเรือนละ 1 คน โดยเป็นหัวหน้าครอบครัวหรือตัวแทน มีขนาดเป้าหมาย 261 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบ ได้แก่ t-test F-test วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี Scheffé


             ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการดำเนินโครงการสวนปันสุขสร้างชาติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในภาพรวม มีความสำเร็จอยู่ในระดับมาก โดยด้านการลดรายจ่ายมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ด้านความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการเพิ่มรายได้ และด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 2) การเปรียบเทียบการดำเนินโครงการสวนปันสุขสร้างชาติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ที่แตกต่างกัน พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และจำนวนสมาชิกในครัวเรือน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน เมื่อทดสอบความแตกต่างรายคู่ พบว่า ผลการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกตามอาชีพ ปรากฏว่าการดำเนินโครงการ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ปัญหาอุปสรรค พบว่า ชุมชนขาดงบประมาณที่สนับสนุนการลงทุน งบประมาณเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสามารถขับเคลื่อนโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ หากมีหน่วยงานให้การสนับสนุนด้านงบประมาณที่เพียงพอ ชุมชนสามารถนำต้นแบบโครงการสวนปันสุขไปใช้ได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม และเกิดประสิทธิผลสูงสุด ส่วนการพัฒนาที่ยั่งยืน ควรให้องค์ความรู้ โดยอาศัยความร่วมมือให้ชุมชนเห็นคุณค่าและศักยภาพของตนเอง สนับสนุนให้ประชาชนคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทิวเมฆ นาวาบุญนิยม. (2558). การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนปฐมอโศก จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. ปีที่ 2(1) : มกราคม-กรกฎาคม 2558, 27-44.
นิสรา ใจซื่อ. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา: หมู่บ้านศาลาศักดิ์ หมู่ที่ 1 ตำบลเริงราง อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี และหมู่บ้านโคก หมู่ที่ 7 ตำบลม่วงงาม อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี. ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
บวร เทศารินทร์. (2560). ประเทศไทย 4.0 สร้างเศรษฐกิจใหม่. สืบค้น 24 ตุลาคม 2563. จาก www.drborworn.com.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
มูลนิธิชัยพัฒนา. (2560). เศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้น 6 พฤศจิกายน 2563 จาก http://www.chaipat.or.th.
วิซุตตา ชูศรีวาส. (2561). การดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง บ้านหัวอ่าว ตำบลบางช้าง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยราชพฤกษ.
วิษณุ หยกจินดา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน หมู่บ้านทุ่งกร่าง ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สัณห์เพชร สายสรรพมงคล. (2559). การนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตของข้าราชการกรมกิจการพลเรือนทหาร. กรมกิจการพลเรือนทหาร หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 59 ปีการศึกษา 2559.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2563). โครงการพระดำริสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก. ศูนย์ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ข้อมูลวันที่ 29 มีนาคม 2563.
องค์การบริหารส่วนตำบลบางสระเก้า. (2563). ข้อมูลพื้นฐาน. สืบค้น 6 ตุลาคม 2563 จาก http://www.bangsrakao.go.th
อัมราวดี อินใหม่, ธีรเดช ทองเกตุ, ภัทรวริญญ์ เอกชนก, อาอีฉ๊ะ หนูชูสุข กันยปริณ ทองสามสี และอิสระ ทองสามสี. (2559). การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวันของประชาชนบ้านสวนทุเรียน หมู่ 4 ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. การประชุมวิชาการด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ระดับชาติ ครั้งที่ 2 “มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ นวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม”. วันที่ 5-6 สิงหาคม 2562 ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550.
อาธิป ปัญญาประเสริฐ. (2562). การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการปฏิบัติงานของบุคลากร: กรณีศึกษากรมศุลกากร. การค้นคว้าอิสระเรื่องการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมศุลกากร หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities, Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.