ปัจจัยการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เขตอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ในยุคความปกติใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาปัจจัยการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เขตอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ในยุคความปกติใหม่ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการทางกายภาพและความต้องการด้านค่าครองชีพ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เขตอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ในยุคความปกติใหม่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้สูงอายุในเขตอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 392 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (Systematic sampling) และคำนวณตามสัดส่วน เก็บข้อมูล ด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression)
ผลการวิจัยพบว่า
ด้านความต้องการทางกายภาพส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอยู่ที่ร้อยละ 44 มีค่า P-Value < 0.01 และด้านความต้องการด้านค่าครองชีพที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อยู่ที่ร้อยละ 19 มีค่า P-Value < 0.01
Article Details
References
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์. (2553, 25 มิถุนายน). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. https://www.dop.go.th/download/laws/regulation_th_20152509163042_1.pdf.
กาญจนา สมพื้น (2564). การสื่อสารสุขภาพและการรู้เท่าทันสื่อเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตในกลุ่มสตรีผู้สูงอายุจังหวัดจันทรบุรี. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 4(3), 14-25.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2565, 20 ตุลาคม). การดูแลผู้สูงอายุ. https://www.dop.go.th/th/know/15/741.
กนกอร เลิศลาภ. (2561). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสกลนคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
จิตตรา มาคะผล. (2561). การศึกษาแนวทางส่งเสริมการทํางานเพื่อสร้างความสุขของผู้สูงอายุในอาเซียน.วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 11(1), 1467-1486.
จุฑารัตน์ แสงทอง. (2560). สังคมผู้สูงอายุ (อย่างสมบูรณ์) : ภาวะสูงวัยอย่างมีคุณภาพ. วารสารวิชาการวารสารกึ่งวิชาการ, 38(1), 13- 27.
ณรงค์ คุณสุข. (2559). คุณภาพชีวติของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลแสนตุ้ง อำเภอเขาสมิง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลยับูรพา.
ธมนวรรณ อยู่ดี. (2560). กระบวนการจัดการเรียนการสอนดนตรีไทยสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทยกรณีศึกษา ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เทศบาลนครนนทบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2564). NEW WORLD LANDSCAPE เดินหน้าอย่างไรในภูมิทัศน์ใหม่ของโลก. พระสยาม MAGAZINE, 1(1) 33-45.
ปริญญาภรณ์ ธนะบุญปวง. (2565). การดูแลสุขภาวะและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในยุคปกติถัดไป. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต, 2(1), 22-34.
พัชรี หล้าแหล่ง. (2556). การศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ชาวสวนปาล์มน้ามันในพื้นที่ภาคใต้. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดชุมพร
พัชราณี กิจชมภู. (2557). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
ภูษิต ประคองสาย. (2565, 1 สิงหาคม). ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มตัว. https://www.tnnthailand.com/news/health/103902/.
สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน). (2562, 4 กันยายน). คุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality Of Working Life). https://www.tosh.or.th/index.php/blog/item/475-quality-of-working-life.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2565, 20 ตุลาคม). การดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม. https://empowerliving.doctor.or.th/case/160.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2561). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560. โรงพิมพ์เดือนตุลา
อำเภอตระการพืชผล. (2564, 25 สิงหาคม). ข้อมูลทะเบียนราษฎรอำเภอตระการพืชผล 2565. http://www.ubondopa.com/.
Manmin, P. (2015). Values and Media Usages of Generations Baby Boomer, X, and Y in Thailand. [Unpublished doctoral dissertation]. Chulalongkorn University.
Saul McLeod. (2020,1 March). Maslow's Hierarchy of Needs. https://www.simplypsychology.org/maslow.html.