ความเป็นมืออาชีพยุคดิจิทัลและการปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีที่ส่งผลต่อคุณภาพของงบการเงินของผู้ทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาความเป็นมืออาชีพในยุคดิจิทัลที่ส่งผลต่อคุณภาพของงบการเงินของผู้ทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร 2.ศึกษาการปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีที่ส่งผลต่อคุณภาพของงบการเงินของผู้ทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ทำบัญชีที่ขึ้นทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 395 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ เพื่อทดสอบทดสอบสมมติฐานการวิจัย ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า
1) ความเป็นมืออาชีพในยุคดิจิทัล ด้านความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชี ด้านความรู้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและด้านทักษะด้านภาษาส่งผลเชิงบวกต่อคุณภาพของงบการเงินด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของผู้ทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05
2) การปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีส่งผลเชิงบวกต่อคุณภาพของงบการเงินด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของผู้ทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าความเป็นมืออาชีพยุคดิจิทัลและ การปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีบัญชีจะส่งผลดีต่อการจัดทำข้อมูลในงบการเงินให้มีคุณภาพและช่วยส่งผลให้ข้อมูลในงบการเงินเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน
Article Details
References
ณัฐวุฒิ ตันติเศรษฐ. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของงบการเงินและประสิทธิผลในการตัดสินใจของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 6(2), 20-35.
ณัชชา คล้ายสุบรรณ และ กุสุมา ดำพิทักษ์. (2564). คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ของสถานประกอบการในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 11(1), 148-157.
ธนิศร์ วินิจสร. (2563, 16 เมษายน). ปรับมุมมองส่องโลกดิจิทัล. https://www.tfac.or.th/Article/Detail/123188.
นิรมล คชแก้ว และ ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์. (2559). คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ในยุคดิจิทัลที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจ SMEs ในกลุ่มภาคใต้ฝั่งอันดามัน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(7), 245-258.
ผกามาศ บุตรสาลี, สุพัตรา รักการศิลป์, และ เอมอร แสวงวโรตน์. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของนักบัญชีที่คาดหวังและการปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีกับคุณภาพข้อมูลทางบัญชีของนักบัญชีในสำนักงานบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสหวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 6(1), 28-44.
ราชิต ไชยรัตน์. (2564, 8 มกราคม). Digital Transformation สำหรับนักบัญชีในยุคดิจิทัล. https://www.tfac.or.th/Article/Detail/135088.
ศิลปะพร ศรีจั่นเพชร. (2561). งบการเงินมีคุณภาพ พิจารณาได้อย่างไร. สรรพากรสาสน์, 65(7), 79-84.
สภาวิชาชีพบัญชี. (2564, 8 มกราคม). คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2564. https://eservice.tfac.or.th/files/ethics/mobile/index.html.
สมชาย รัตนทองคำ. (2556, 23 พฤษภาคม). ทฤษฎีการเรียนรู้ของนักการศึกษาที่มักถูกนำมาใช้พัฒนาด้านการเรียนการสอน. https://ams.kku.ac.th/aalearn/resource/edoc/tech/56web/4learn_edu56.pdf.
Darwanis, D., Saputra, M., & Kartini, K. (2016). Effect of Professionalism, Competence, Knowledge of Financial Management, and Intensity Guidance Apparatus Inspectorate for Quality of Financial Statements (Study on Inspectorate Regencies/Cities in Aceh). BRAND. Broad Research in Accounting, Negotiation and Distribution, 7(1), 28-36.
Fouche, J. P., & Kgapola, M. P. (2016). Professional accountant’s perspective of skills required to progress to management positions. International Journal of Business and Management Studies, 8(1), 20-36.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd Ed.). Harper and Row Publications.