การเล่าเรื่อง (Storytelling) โดยการใช้ภาษาจีนและภาษาอังกฤษ สำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

มณีนุช ฉวีวงศ์
หยกขาว สมหวัง
สุขสันต์ ทับทิมหิน

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการเล่าเรื่อง (Storytelling) โดยการใช้ภาษาจีนและภาษาอังกฤษสำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชนใน     จังหวัดร้อยเอ็ด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการชุมชนในการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน  โดยการเล่าเรื่อง (Storytelling) เพื่อศึกษาเรื่องราวผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดร้อยเอ็ดที่สามารถนำมาสู่การสร้างการเล่าเรื่อง (Storytelling) และสร้างสรรค์การเล่าเรื่อง (Storytelling) ให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนที่โดดเด่น ด้วยภาษาจีนและภาษาอังกฤษเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่สากล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอเสื่อกกบ้านดงทรายงาม ตำบลหนองขุ่นใหญ่ อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด


              ผลการวิจัยพบว่า


              การเล่าเรื่องผ่านบรรจุภัณฑ์และช่องทางการสื่อสารยังไม่มีความหลากหลาย ขาดเนิ้อหาการเล่าเรื่องที่เชื่อมโยงถึงที่มา ความหมายผลิตภัณฑ์ ที่จะนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม ความต้องการของผู้ประกอบการ คือ การออกแบบเนื้อหาในการเล่าเรื่อง ผ่านการนำเสนอช่องทาง บรรจุภัณฑ์ที่หลากหลาย การวิจัยครั้งนี้ได้คัดสรรเรื่องราวในการเล่าเรื่อง จากเรื่องที่โดดเด่น เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ และเนื้อหาที่จะสนองตอบความต้องการของผู้บริโภคด้วยภาษาอังกฤษและภาษาจีน ได้แก่ ความเป็นมาของหมู่บ้าน/กลุ่ม ชื่อแบรนด์ “ทอรุ้ง”ความหมายของลวดลาย กระบวนการการผลิต การเล่าเรื่อง (Storytelling) โดยการใช้ภาษาจีนและภาษาอังกฤษ ผ่านสื่อวีดิโอ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อบรรจุภัณฑ์ และเผยแพร่ในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์

Article Details

How to Cite
ฉวีวงศ์ ม., สมหวัง ห., & ทับทิมหิน ส. (2024). การเล่าเรื่อง (Storytelling) โดยการใช้ภาษาจีนและภาษาอังกฤษ สำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, 7(3), 16–30. https://doi.org/10.14456/jsmt.2024./21
บท
บทความวิจัย

References

จีรภัทร์ พินิจสุวรรณ์ และคณะ. (2563). จิตวิทยาในการเลือกลักษณะการเล่าเรื่องผลิตภัณฑ์ที่มีอิทธิพลต่อประชากรไทย. วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม, 5(1), 48-61. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/iba/article/view/244508/165502

นิฤมล หิรัญวิจิตรภรณ์ และธีร์ คันโททอง. (2564). การเล่าเรื่องเพื่อสื่อสารการตลาดผ้าทอน้ำแร่ จังหวัดลำปาง.วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 11(2), 31-44. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JGNRU/article/view/243600/168626

ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ และคณะ. (2547). สุนทรียนิเทศศาสตร์ : การศึกษาสื่อสารการแสดงและสื่อจินตคดี. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพ็ญภิมล โสภณธนกิจ. (2560). การตลาดเชิงเนื้อหาของสำนักพิมพ์ที่มีผลต่อความพึงพอใจ การตัดสินใจซื้อ และความภักดีของผู้อ่าน : สำนักพิมพ์อะบุ๊กและสำนักพิมพ์แซลมอน. http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/ 3779.

รัชกฤต ไตรศุภโชค. (2558). รูปแบบและองค์ประกอบของการเล่าเรื่องในฐานะกลยุทธ์การตลาดด้วยเนื้อหาของตราสินค้าผลิตภัณฑ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. https://repository.nida.ac.th/server/api/core/bitstreams/f6acee3e-776b-4d72-9bc8-a28129fa3af7/content

สำนักงานจังหวัดร้อยเอ็ด. (2564). แผนพัฒนาของจังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. 2566 – 2570. http://www.roiet.go.th/ckfinder/ userfiles /images/PDF/plan_2565/sub-2566.pdf

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล. (2564). ข้อมูลจำนวนวิสาหกิจชุมชนและ/เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน จังหวัดร้อยเอ็ด. https://data.go.th/dataset/roiet_community_enterprise

อุมาวดี เดชธํารงค์, ดาศรินทร์พัชร์ สุธรรมดี. (2565). การพัฒนาช่องทางการตลาดและการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ตําบลโคกมั่งงอย อําเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ, วารสารนวัตกรรมและการจัดการ, 7(1), 128-136

อุบลวรรณ เปรมศรีรัตน์. (2558). การเล่าเรื่องทางนิเทศศาสตร์ : ศึกษาจากงานวิจัย. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมนิด้า, 2(1), 31-58. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcin/article/view/42384/35039

Namoan Jirawongsy. (2016). The Impact of Storytelling on Luxury Value Perception of a Brand Goyard case study. Panyapiwat Journal, 8(Supplementary), 64-73. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/73535/59190

Pulizzi, J. (2014). Epic content marketing: how to tell a different story, break through the clutter, and win more customers by marketing less. McGraw-Hill.