แนวทางการพัฒนาสื่อแอนิเมชันเพื่อการเสริมสร้างพลังทางสุขภาพและความสุข ของผู้สูงอายุในชุมชนคลองเกลือเอื้ออารี จังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาสื่อแอนิเมชันเพื่อการเสริมสร้างพลังทางสุขภาพและความสุขของผู้สูงอายุในชุมชนคลองเกลือเอื้ออารี จังหวัดนนทบุรี มีวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ 1) เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้สูงอายุในชุมชมคลองเกลือเอื้ออารี จังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสื่อสำหรับเสริมสร้างพลังทางสุขภาพและความสุขของผู้สูงอายุในชุมชมคลองเกลือเอื้ออารี จังหวัดนนทบุรี สำหรับการวิจัยครั้งนี้ได้ใช้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ขึ้นไป ของจังหวัดนนทบุรี ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ด้วยการนำเสนอในรูปแบบของตารางและบรรยายเชิงพรรรณา
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 60 – 65 ปี ส่วนใหญ่สถานภาพโสด สถานภาพทางเศรษฐกิจ ฐานะปานกลาง สภาวะด้านสุขภาพร่างกาย สุขภาพปกติไม่มีโรคประจำตัว มีการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม 1 - 2 ครั้งต่อสัปดาห์ มีการรับชมสื่อภาพเคลื่อนไหว จากทางโทรทัศน์ หรือทางอินเตอร์เน็ต ช่องทางการรับชมสื่อ แอพพลิเคชันไลน์ ความคิดเห็นโดยรวมเกี่ยวกับ แนวทางการพัฒนาสื่อแอนิเมชันเพื่อการเสริมสร้างพลังทางสุขภาพและความสุขของผู้สูงอายุ โดยรวมทั้งหมดอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านเนื้อหาและการนำเสนอ มีความคิดเห็นว่า การนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการเสริมสร้างพลังทางสุขภาพและความสุขของผู้สูงอายุ ทำให้สามารถได้รับความรู้และเข้าใจได้ง่าย ด้านการผลิตและเทคนิคในการนำเสนอ มีความคิดเห็นว่า สื่อที่นำเสนอควรมีความยาวระหว่าง 3 – 5 นาที ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ มีความคิดเห็นว่า การนำเสนอข้อมูลเรื่องการเสริมสร้างพลังทางสุขภาพและความสุขของผู้สูงอายุ ในรูปแบบแอนิเมชัน ทำให้ผู้สูงวัยเข้าใจง่าย และสามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้
ความคิดเห็นโดยรวมเกี่ยวกับ การเสริมสร้างพลังทางสุขภาพและความสุขของผู้สูงอายุในชุมชนคลองเกลือ เอื้ออารี จังหวัดนนทบุรี โดยรวมทั้งหมดอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความสุขจากการเข้าร่วมกิจกรรม มีความคิดเห็นว่า ชอบทำกิจกรรมกับสังคม ด้านความสุขจากการช่วยเหลือผู้อื่น มีความคิดเห็นว่า มีการให้คำปรึกษาที่เป็นประโยชน์ ต่อผู้อื่น ด้านความสุขอันเกิดจากการตระหนักถึงคุณค่าในตนเอง มีความคิดเห็นว่า เป็นคนที่มีทัศนคติและแนวคิดที่ดีต่อตนเอง ด้านความสุขอันเกิดจากการมีสุขภาพกายและจิตใจที่ดี มีความคิดเห็นว่า มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
Article Details
References
กฤษณาพร ทิพย์กาญจนเรขา และคณะ. (2560). พฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลสุขภาพจากสื่อออนไลน์และสื่อสังคมของผู้สูงอายุตามระดับการรับรู้ภาวะสุขภาพ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 11(2), 12-22. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JHR/article/view/107898/85422
กฤษดา พรหมสุวรรณ์. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุตำบลหนองไม้แก่น. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
เล็ก สมบัติ (2554). ภาวะสูงวัยอย่างมีคุณประโยชน์กับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจในประเทศไทย. (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นัสมล บุตรวิเศษ และอุปริฏฐา อินทรสาด. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
บริบูรณ์ ศรีมาชัย, นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล และนาฏสุดา เชมนะสิริ. (2557). แบบจำลองสมการโครงสร้างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในกิจกรรมชุมชนเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมนักวิจัย, 19(1), 146-158. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jar/article/view/241107/164097
พระครูสังฆรักษ์ ทวี อภโย และคณะ. (2563). พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในตำบลหนองโน อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(2), 180–192. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/241699/165109
วรนารถ ดวงอุดม. (2555). การพัฒนาสื่อที่เหมาะสมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครและจังหวัดแพร่. วารสารจันทรเกษมสาร, 18(34), 13-22. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/article/view/30000/25847
วาสนา สิทธิกัน, สายหยุด มูลเพ็ชร์ และสามารถ ใจเตี้ย. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาล ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
วัลภา สรรเสริญ. (2559). การตลาดออนไลน์: Online marketing. ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
วิไลภรณ์ สำเภาทอง. (2561). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์และการสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจผลิตภัณฑ์เวชสำอาง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิโรจน์ ทองชูใจ. (2563). การสื่อสารของผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดในเครือข่ายสังคมออนไลน์และพฤติกรรมการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชันซีในเขตกรุงเทพมหานคร. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุขประเสริฐ ทับสี. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า, 3(1), 14-30. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/view/239659/164260
สุคี ศิริวงศ์พากร. (2556, 24 ตุลาคม). การศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการพึ่งตนเองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร. https://repository.rmutp.ac.th/bitstream/handle/123456789/ 1248/MCT_56_04.pdf?...1.
สุภาวดี วาทิกทินกร (2553, 9 มีนาคม). การวิจัยและพัฒนา “กระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต”. https://panchalee.wordpress.com/2010/03/09/การวิจัยและพัฒนา/
ชาลี ไตรจันทร์ และใหม่ บัวบาล. (2556). องค์การบริหารส่วนตำบลกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ บทบาทที่เป็นจริง บทบาทที่คาดหวังปละการประเมินความต้องการจำเป็นในเขตคาบสุมทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อรรถกร เฉยทิม, นวลฉวี ประเสริฐสุข และอุรปรีย์ เกิดในมงคล. (2561). ความสุขของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล, 5(1), 85–108. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/isshmu/article/view/153968/112088
อิทธิวัฒน์ รัตนพองบู่. (2555). การตลาดอิเล็กทรอนิกส์: E-Marketing. วิตตี้กรุ๊ป.
เอริสา อูจิอิเอะ. (2564). การสื่อสารการตลาดออนไลน์และออฟไลน์ที่ส่งผลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ตราทัศนคติและความเชื่อถือไว้วางใจในตราชุดชั้นในของสตรีในกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Wertime, K., & Fenwick, I. (2008). DigiMarketing: The essential guide to new media and digital marketing. John Wiley & Sons (Asia).