แบบจำลองผลกระทบของการจัดการนวัตกรรมและโลจิสติกส์สีเขียวต่อการเพิ่มประสิทธิภาพผลการดำเนินงานของธุรกิจด้านการขนส่งสินค้าทางถนน ในจังหวัดนครปฐม

Main Article Content

สุพัชรี สุปริยกุล
ธันย์ ชัยทร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินการจัดการนวัตกรรม โลจิสติกส์สีเขียว และผลการดำเนินงานของธุรกิจด้านการขนส่งสินค้าทางถนนในจังหวัดนครปฐม 2) ศึกษาอิทธิพลของการจัดการนวัตกรรมและโลจิสติกส์สีเขียวที่มีผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจด้านการขนส่งสินค้าทางถนนในจังหวัดนครปฐม
3) พัฒนาแบบจำลองผลกระทบของการจัดการนวัตกรรมและโลจิสติกส์สีเขียวต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจด้านการขนส่งสินค้าทางถนนในจังหวัดนครปฐม โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางถนนในจังหวัดนครปฐม ที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 264 ตัวอย่าง ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ การวัดค่ากลางของข้อมูล ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis – CFA) และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model – SEM)


            ผลการวิจัยพบว่า


            1) ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางถนนในจังหวัดนครปฐม ให้ความสำคัญกับตัวแปรตามกรอบแนวคิด ประกอบด้วย การจัดการนวัตกรรม โลจิสติกส์สีเขียว และผลการดำเนินงานของธุรกิจ  พบว่า ทุกด้านมีระดับ
ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญต่อการจัดการนวัตกรรมมากที่สุด รองลงมาคือ ผลการดำเนินงานของธุรกิจ และโลจิสติกส์สีเขียว  ตามลำดับ


            2) ผลวิเคราะห์การศึกษาอิทธิพลการจัดการนวัตกรรมและโลจิสติกส์สีเขียวที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจด้านการขนส่งสินค้าทางถนนในจังหวัดนครปฐม พบว่า การจัดการนวัตกรรมมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อโลจิสติกส์สีเขียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 นอกจากนี้การจัดการนวัตกรรมยังมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และการจัดการนวัตกรรมยังมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจผ่านโลจิสติกส์สีเขียว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.001 ในขณะเดียวกันความสัมพันธ์ของโลจิสติกส์สีเขียวมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยโลจิสติกส์สีเขียวสามารถอธิบายความแปรปรวนต่อการจัดการนวัตกรรมและผลการดำเนินงานของธุรกิจ ได้ร้อยละ 69.20 และการจัดการนวัตกรรมและโลจิสติกส์สีเขียว สามารถอธิบายความแปรปรวนต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจได้ร้อยละ 54.60


3) แบบจำลองผลกระทบของการจัดการนวัตกรรมและโลจิสติกส์สีเขียวต่อการเพิ่มประสิทธิภาพผลการดำเนินงานของธุรกิจด้านการขนส่งสินค้าทางถนนในจังหวัดนครปฐม มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับดีมาก (ค่าสถิติ Chi square/df=0.8324, P-value=0.5395, RMSEA=0.000, GFI=0.996, AGFI=0.978)

Article Details

How to Cite
สุปริยกุล ส., & ชัยทร ธ. (2024). แบบจำลองผลกระทบของการจัดการนวัตกรรมและโลจิสติกส์สีเขียวต่อการเพิ่มประสิทธิภาพผลการดำเนินงานของธุรกิจด้านการขนส่งสินค้าทางถนน ในจังหวัดนครปฐม. วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, 7(3), 44–59. https://doi.org/10.14456/jsmt.2024./23
บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาการค้าธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์. (2563). รูปแบบองค์กรธุรกิจ. กรมพัฒนาการค้าธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์.

กองนโยบายการสร้างความเข้มแข็งทางการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2565). ผู้ประกอบการยุคใหม่ ทำอย่างไรจึงจะสำเร็จ. กระทรวงอุตสาหกรรม.

เกยูร ใยบัวกลิ่น. (2556). การบริหารโลจิสติกส์และซัพพลายเชน. ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2552) สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2557). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย AMOS. ห้างหุ้นส่วนจํากัดสามลดา.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. บิสซิเนสอาร์แอนด์ด.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ และคณะ. (2566). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจสั่งผลิต ผลิตและสร้างแบรนด์อาหารเสริมสุขภาพผ่านสื่อดิจิทัลของบริษัท เอสซีจีแกรนด์ จำกัด. วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, 6(1), 33–43. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/article/view/259525/178485

มนนภา เทพสุด. (2553). ก้าวพ้นวิกฤตภาวะโลกร้อนด้วยการปรับเปลี่ยนสู่สังคมคาร์บอนต่ำ. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 6(1), 119-134. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/29087/25000

มานิตย์ สิงห์ทองชัย. (2565). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานภายใต้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียนของอุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูปในประเทศไทย. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(1), 278-295. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/259178/172893

สมบัติ นามบุรี. (2562). นวัตกรรมและการบริหารจัดการ. วารสารวิจัยวิชาการ, 2(2), 121-134. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jra/article/view/179215/140510

สวัสดิ์ วรรณรัตน์. (2563). อิทธิพลของนวัตกรรมโลจิสติกส์ต่อผลการดำเนินงานขององค์กรผู้ให้บริการ

โลจิสติกส์ในประเทศไทย : แบบจำลองสมการโครงสร้าง. วารสารบริหารธุรกิจ, 44(171), 51-74. http://www.jba.tbs.tu.ac.th/files/Jba171/Article/JBA171Sawat.pdf

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561, 13 สิงหาคม). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ. https://www.oap.go.th/images/documents/about-us/policy/Master_Plan_2561-80.PDF

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565, 13 สิงหาคม). รายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทยประจำปี 2564. https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=12898

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564, 20 กันยายน). ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสาม พ.ศ. 2566-2570. https://www.nesdc.go.th/download/Plan13/Doc/Plan13_DraftFinal.pdf

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครปฐม. (2565). แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมจังหวัดนครปฐม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. กลุ่มนโยบายและแผนงาน สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครปฐม.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2562). นวัตกรรมเพื่ออนาคต. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ.

Adebare, O., Mustakim, M., & Richard, A. O. (2021). Moderating Impact of Innovation Practices on Logistics Practices of 3PLs Service Provider in Malaysia Context. Journal of Economics, Management and Trade, 27(6), 1–12. https://doi.org/10.9734/jemt/2021/v27i630347

สุุภาวดีี ฮงคนาค, นรพล จินันท์เดช และมาเรียม นะมิ. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพความสัมพันธ์ของลูกค้าที่ใช้บริการขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภคในประเทศไทย. วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, 6(2), 1–9. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JRBGS/article/view/261629/180254

Al-Minhas, U., Ndubisi N.O., & Barrane, F.Z. (2020). Corporate environmental management: A review and integration of green human resource management and green logistics. Management of Environmental Quality An International Journal, 31(2), 431-450.

Anadon, L.D., Chan, G., Harley, A.G. & Clark, W.C. (2016). Making technological innovation work for sustainable development. PNAS, 113(35), 9682-9690.

Arsawan, I. W. E., Koval, V., Duginets, G., Kalinin, O., & Korostova, I. (2021). The impact of green innovation on environmental performance of SMEs in an emerging economy. In E3S Web of Conferences, 255, 01012. EDP Sciences.

Chesbrough, H. (2003). Open innovation: the new imperative for creating and profiting, from technology. Harvard Business School Press.

Chidchob, T. & Pianthong, N. (2020). Effect of driving force, knowledge management, green supply chain management on competitiveness and business performance of manufacturing industries in Thailand. International Journal of Environmental Science, 5, 63-73. https://www.iaras.org/iaras/filedownloads/ijes/2020/008-0008(2020).pdf

Christa, U.R. & Kristinae, V. (2021). The effect of product innovation on business performance during COVID 19 pandemic. Uncertain Supply Chain Management, 9(1), 151-158. https://www.growingscience.com/uscm/Vol9/uscm_2020_145.pdf

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Upper Saddle River. NJ: Prentice Hall

Huang Y.C. & Wu, Y.C. (2010). The effects of organizational factors on green new product success :Evidence from high-tech industries in Taiwan. Management Decision, 48(10), 1539-1567.

Ilmudeen, A., Bao, Y., & Alharbi, I.M. (2019). How does business-IT strategic alignment dimension impact on organizational performance measures: Conjecture and empirical analysis. Journal of Enterprise Information Management, 32(3), 457- 476.

Jimenez, D., & Navarro, J.G. (2007). The performance effect of organizational learning and market orientation. Industrial Marketing Management, 36(6), 694-708.

Kahn, J.R. (2005). The economic approach to environmental and natural resource (3th ed.). South Western.

Kalkan, A., Bozkurt, O.C., & Arman, M. (2014). The Impacts of Intellectual Capital, Innovation and Organizational Strategy on Firm Performance. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 150, 700-707.

Karaman, A.S., Kilic, M., & Uyar, A. (2020). Is corporate social responsibility reporting a tool of signaling or greenwashing? Evidence from the worldwide logistics sector. Journal of Cleaner Production, 253(20), 119997.

Khan, M.T., Idrees, M.D., Rauf, M. Sami, A., Ansari, A. & Jamil, A. (2022). Green supply chain management practices’ impact on operational performance with the mediation of technological innovation. Sustainability, 14(6), 1-22.

Kurniawan, P., Hartati, W., Qodriah, S., & Badawi, B. (2020). From knowledge sharing to quality performance: The role of absorptive capacity, ambidexterity, and innovation capability in creative industry. Management Science Letters, 10(2), 433-442.

Lee, R., Lee, J. & Garrett, T.C. (2019). Synergy effects of innovation on firm performance. Journal of Business Research, 99, 507-515.

Li, Y., Huang, J., & Tsai, M. (2009). Entrepreneurial orientation and firm performance : The role of knowledge creation process. Industrial Marketing Management, 38(4), 440-449.

Liang, H.Y., Lin, S., & Wang, J. (2022). Impact of technological innovation on carbon emissions in China's logistics industry: Based on the rebound effect. Journal of Cleaner Production, 377(3977), 134-174.

Orji, I.F., Kusi-Sarpong, S., Gupta, H., & Okwu, M. (2019). Evaluating challenges to implementing eco-innovation for freight logistics sustainability in Nigeria. Transportation Research Part A: Policy and Practice, 12(9), 288-305.

Seman, N. A. A., Govindan, K., Mardani, A., Zakuan, N., Saman, M. Z. M., Hooker, R. E., & Ozkul, S. (2019). The mediating effect of green innovation on the relationship between green supply chain management and environmental performance. Journal of cleaner production, 229, 115-127.

Seroka-Stolka, O., & Ociepa-Kubicka, A. (2019). Green logistics and circular economy. Transportation Research Procedia, 39, 471-479.

Schumpeter, J.A., (2008). The theory of economic development: an inquiry into profits, capital, credit, interest and the business cycle. Translated from the German by Redvers Opie. Transaction Publishers.

Tidd, J. & Bessant, J. (2018). Management innovation: Integrating Technological, Market and Organizational Change (6th ed). West Sussex : Wiley.

Tommasetti, A., Singer, P., Troisi, O. & Maione, G. (2020). Extended Theory of Planned Behavior (ETPB): Investigating customers’ perception of restaurants’ sustainability by Testing a Structural Equation Model. Sustainability, 10(7), 1-21.

Trott, P. (2008). Innovation management and new product development (4th ed.). Prentice Hall.

Wang, Y.F., Chen, S.P., Lee, Y.C., & Tsai, C.T.S. (2013). Developing green management standards for restaurants: An application of green supply chain management. International Journal of Hospitality Management, 34, 263-273.

Wong, W. P., & Tang, C. F. (2018). The major determinants of logistic performance in a global perspective: evidence from panel data analysis. International Journal of Logistics Research and Applications, 21(4), 431-443.

Yingfei, Y., Mengze, Z., Zeyu, L., Ki-Hyung, B., Avotra, A.A.R.N. & Nawaz, A. (2022). Green logistics performance and infrastructure on service trade and environment-Measuring firm’s performance and service quality. Journal of King Saud University-Science, 34(1), 1-10.

Yu, W., Chavez, R., & Feng, M. (2017). Green supply management and performance: A resource-based view. Production Planning & Control, 28, 6-8.