การพัฒนาหุ่นจำลองสำหรับการทำหัตถการ เพื่อการเรียนการสอน: หุ่นจำลองสำหรับฝึกผ่าตัดใส่สายระบายทรวงอก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประเภทของหุ่นจำลอง วัสดุที่ใช้ และกายวิภาคในการพัฒนาหุ่นจำลองฝึกทักษะการทำหัตถการผ่าตัดใส่สายระบายทรวงอก 2) วิเคราะห์ประเภทของหุ่นจำลอง วัสดุที่ใช้และกายวิภาค 3) พัฒนาหุ่นจำลองฝึกทักษะการทำหัตถการผ่าตัดใส่สายระบายทรวงอก และ 4) ประเมินคุณภาพหุ่นจำลองฝึกทักษะการทำหัตถการผ่าตัดใส่สายระบายทรวงอก ด้านการใช้งาน และด้านคุณค่าทางความงาม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการพัฒนาหุ่นจำลอง คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ จำนวน 3 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญด้านทัศนศิลป์ จำนวน 3 ท่าน ได้มาจากการเลือกตัวอย่างตามวัตถุประสงค์ (Purposive sampling) สถิติที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย และสถิติทดสอบไบโนเมียล (Binomial Test)
ผลการวิจัยพบว่า
หุ่นจำลองสำหรับฝึกผ่าตัดใส่สายระบายทรวงอกที่พัฒนาขึ้น มีคุณภาพทั้งในด้านการใช้งาน (Function) และด้านคุณค่าทางความงาม (Aesthetic) อยู่ในเกณฑ์มากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 5.00 ทั้ง 2 ด้าน และผลการทดสอบด้วยสถิติทดสอบไบโนเมียล (Binomial Test) พบว่า มีสัดส่วนของผู้เชี่ยวชาญที่เห็นว่าหุ่นจำลองมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการทำหัตถการ เพื่อการเรียนการสอน สำหรับฝึกผ่าตัดใส่สายระบายทรวงอก มากกว่าร้อยละ 50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
References
นันทวัฒน์ อู่ดี. (2559). หุ่นจำลองยางพาราสำหรับตรวจสอบความถูกต้องปริมาณรังสีจากการรักษาโรคมะเร็งด้วยเทคนิคการรักษาสามมิติ. http://elibrary.trf.or.th/project_ content.asp? PJID=RDG5950015.
นิพนธ์ ศุขปรีดี. (2530). ไมโครคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา. วารสารคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาสหประชาชาติ.15(2), 22-65.
บังอร ดวงรัตน์, อรุณี ยันตรปกรณ์, ธัญรวดี จิรสิทธิปก, วินัย สยอวรรณ, นลินภัสร์ รตนวิบูลสุข, และ นวลปราง สาลีเพ็ง. (2559). การพัฒนาหุ่นจำลองแขนฝึกทักษะการเย็บแผลชนิดยางพารา. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา, 7(1). 47-57.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). หลักการวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 3). สุวีริยาสาสน.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2531). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. เกษมศรีอนันต์.
บุญเสริม วัฒนกิจ และ กิตติ กรุงไกรเพชร. (2566). การพัฒนาหุ่นจำลองสำหรับการทำหัตถการ เพื่อการเรียนการสอน: หุ่นจำลองสำหรับฝึกผ่าตัดคลอดบุตร. วารสารศิลป์ปริทัศน์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 11(1), 23-41
บุศย์รินทร์ อารยะธนิตกุล, วิชัย เสวกงาม, และ อลิศรา ชูชาติ. (2559). การพัฒนาหุ่นจำลองต้นแบบสำหรับฝึกตรวจช่องท้องการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยและแนวคิดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางวัฒนธรรมในการพยาบาล ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(3), 51-61.
ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และ ประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ, 29(2), 31 – 48.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. อักษรเจริญทัศน.
เรืองวิทย์ นนทะกา และคณะ. (2551). เอกสารการสอนวิชาสื่อและเทคโนโลยีการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการสอน.[เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่.
โรงพยาบาลกรุงเทพ. (2560).อาการของโรคเบาหวานมีอะไรบ้าง. https://www.bangkokpattayahospital.com/th/healthcare-services-th/dm-andendocrinology-center-th/item/1284.html
วินัย สยอวรรณ, ศราวุฒิ แพะขุนทด, เจษฎา อุดมพิทยาสรรพ์, และ จริยา อัมพาวงษ์. (2561). การพัฒนาหุ่นจำลองฝึกทักษะการกดนวดชนิดยางพาราสำหรับนักศึกษาการแพทย์แผนไทยบัณฑิตของวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษก. วารสารพยาบาลและการศึกษา, 10(3), 71-81.
ศรารัตน์ มหาศรานนท์, สุมาลี ยับสันเทียะ, นันทวัฒน์ อู่ดี, สมบัติ บุญขวาง, ภัสสุรีย์ ชีพสุมนต์, และ ธัญรัตน์ ชูศิลป์. (2556).การพัฒนาหุ่นจำลองรังสีรักษาสำหรับฝึกทักษะการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง. http://elibrary.trf.or.th/project_content.asp? PJID=RDG5650117.
ศุภพงศ์ ยืนยง. (2547). หลักการเขียนภาพ. โอเอสพริ้นติ้งเฮ้า
สุสันหา ยิ้มแย้ม. (2558). การพัฒนาหุ่นจำลองเพื่อฝึกทักษะทางคลินิกของนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ.วารสารพยาบาลศาสตร์, 43(2), 142-151.
อภินันท์ สุประเสริฐ, มาลีวรรณ เหลี่ยมศิริเจริญ, เสรี กุญแจนาค, และ ขจร กอบสันเทียะ. (2558). เกษตรนวัตกรรมรวบรวมผลงานนวัตกรรมทางการค้นคว้าวิจัยในวาระครบรอบ 72 ปี แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. หุ่นจำลองยางพาราสื่อการเรียนการสอน. (น. 129-130). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Depp, R. (1996). Cesarean delivery. USA: Churchill Livingstone.
Firth, N. (1989). Special exercise for pregnancy, labour and puerperium. USA: Churchill Livingstone.