MANAGEMENT FACTORS AFFECTING OIL SPILL PREVENTION FROM OIL TANKERS IN THAILAND

Main Article Content

ธนกฤต ปาลวัฒน์
กัลยา วัฒยากร

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการป้องกันการรั่วไหลของน้ำมันจากเรือบรรทุกน้ำมันและระดับการป้องกันการรั่วไหลของน้ำมันจากเรือบรรทุกน้ำมันในประเทศ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา เป็นพนักงานผู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานขนส่งน้ำมันของบริษัทเรือบรรทุกน้ำมันภายในประเทศจำนวน 118 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามที่กำหนดคำตอบไว้ให้ผู้ตอบเลือกตอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้การคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม และใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise regression analysis) สร้างสมการพยากรณ์การป้องกันการรั่วไหลของน้ำมันจากเรือบรรทุกน้ำมันในประเทศไทยที่ดีผลการศึกษาพบว่าปัจจัยการบริหารหลักที่ส่งผลต่อการป้องกันการรั่วไหลของน้ำมันจากเรือบรรทุกน้ำมันในประเทศมี 3 ด้าน คือ ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ด้านมาตรการในการวัดผล การวิเคราะห์และปรับปรุง และด้านการเตรียมการเพื่อผจญกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน ตัวแปรทั้ง 3 ตัว สามารถพยากรณ์การป้องกันการรั่วไหลของน้ำมันจากเรือบรรทุกน้ำมัน ได้ร้อยละ 44.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 สำหรับระดับการป้องกันการรั่วไหลของน้ำมันจากเรือบรรทุกน้ำมันพบว่าอยู่ในระดับมาก ดังนั้นบริษัทเรือบรรทุกน้ำมันภายในประเทศ ควรมุ่งเน้นพัฒนาปัจจัยทั้ง 3 ด้าน เพื่อจะทำให้การป้องกันการรั่วไหลของน้ำมันจากเรือบรรทุกน้ำมันในประเทศเกิดประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
ปาลวัฒน์ ธ., & วัฒยากร ก. (2017). MANAGEMENT FACTORS AFFECTING OIL SPILL PREVENTION FROM OIL TANKERS IN THAILAND. NKRAFA Journal of Humanities and Social Sciences, 5, 5–14. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KANNICHA/article/view/137727
Section
Research Articles

References

[1] ธีรพล ประภากร. การตรวจสอบคุณภาพของเรือบรรทุกน้ำมันที่จดทะเบียนไทย. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการขนส่งและโลจิสติกส์, มหาวิทยาลัยบูรพา, 2550.

[2] บุษบา พัวพานิช. การประยุกต์ใช้การบริหารจัดการเรือบรรทุกน้ำมันและการประเมินตนเอง (TMSA) สำหรับกองเรือบรรทุกน้ำมันในประเทศไทย. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, การบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2553.

[3] พิสุทธิ์ เพียรมนกุล และ ณัฐวิญญ์ ชวเลิศพรศิยา. อีกครั้งกับ “น้ำมันรั่ว” : กรณีศึกษาคราบน้ำมันที่หัวหิน.[ออนไลน์]. 2015. แหล่งที่มา: https://www.eng.chula.ac.th/node/2492

[4] สุพัตรา ติวเฮือง. ปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ของผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น.
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, การบริหารสาธารณสุข, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2557.

[5] สุวิมล ว่องวาณิช และ นงลักษณ์ วิรัชชัย. แนวทางการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ กรุงเทพมหานคร, ภาควิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546.

[6] อภิวัฒน์ นวลรัตนตระกูล. ความพร้อมขององค์กรที่เกี่ยวข้องในการขจัดคราบน้ำมันรั่วไหลในน่านน้ำไทย.วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, สหสาขาวิชาการบริหารกิจการทางทะเล, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555.

[7] เอกชัย ธีระวรรณ. ปัจจัยที่มีผลกระทบคนประจำเรือไทยเกี่ยวกับระบบมาตรฐานการจัดการควาปลอดภัยวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการการขนส่งและโลจิสติกส์, มหาวิทยาลัยบูรพา, 2548.
[11 มีนาคม 2559]

[8] International Tanker Owners Pollution Federation Limited. Oil Tanker Spill Statistics 2015.[online]. 2015. แหล่งที่มา: https://www.itopf.com/knowledge-resources/data-statistics/statistics/[11 March 2015]

[9] Oil Companies International Marine Forum. Tanker Management and Self Assessment Glasgow, Bell&Bain Ltd, 2008