ปัญหาการสละสมณเพศของพระภิกษุ ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 : ศึกษากรณี การใช้อำนาจดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรม

Main Article Content

สมชาย บุญคงมาก
ภูภณัช รัตนชัย

Abstract

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ถึงกรณีปัญหาของพระภิกษุที่ถูกจับโดยต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ภายใต้มาตรา 29 และมาตรา 30 ที่ให้อำนาจดุลยพินิจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ พนักงานสอบสวน อัยการและศาล เพื่อดำเนินการให้พระภิกษุสละสมณเพศ โดยไม่มีการไต่สวนทวนความจากฝ่ายพุทธจักรเสียก่อนว่ามีการทำผิดพระวินัยร่วมด้วยหรือไม่ ซึ่งปัญหาต่อมาอยู่ที่ว่า หลังปรากฏคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดว่ามิได้กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาก็จะได้รับการปล่อยตัวไป ซึ่งดูเสมือนว่าการจะให้พระภิกษุสละสมณเพศย่อมกระทำได้โดยง่าย


กรณี มาตรา 29 ที่กำหนดให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจเต็มเปี่ยมในการใช้อำนาจดุลยพินิจ ถ้าเห็นว่าไม่ควรปล่อยตัวก็สามารถบังคับให้พระภิกษุสละสมณเพศทันทีเสียก็ได้ และมาตรา 30 กรณีที่กำหนดให้พระภิกษุต้องสละสมณเพศ เนื่องจากศาลมีคำสั่งขัง ซึ่งพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอหมายขังและศาลมีคำสั่งอนุญาต พระภิกษุนั้นก็จะต้องสละสมณเพศ ก่อนนำตัวไปขังตามคำสั่งศาลต่อไป


ปัญหาดังกล่าว เป็นการบั่นทอนการสืบทอดอายุพระศาสนา ผู้เขียนจึงเห็นว่า ควรแก้ไขเพิ่มเติมความในมาตรา 29 เพื่อมิให้พนักงานสอบสวนใช้อำนาจดุลยพินิจเพียงฝ่ายเดียว แต่ควรกำหนดให้ฝ่ายพุทธจักรต้องเข้าไปรับตัวไว้ควบคุมเพื่อไต่สวนให้เป็นที่ประจักษ์เพื่อตัดสินลงโทษตามพระธรรมวินัยเสียก่อนหากทุกฝ่ายให้ความสำคัญอย่างแท้จริงก็คงใช้เวลาในการไต่สวนเพื่อค้นหาความจริงให้ประจักษ์ในเวลาที่ไม่นานนัก ต่อจากนั้นจึงนำคดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมของบ้านเมือง และควรแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 30 ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งขัง จะทำได้เฉพาะพระภิกษุที่กระทำความผิดซึ่งหน้า หรือเป็นกรณีที่ได้กระทำความผิดหรือต้องโทษอาญามาก่อน

Article Details

How to Cite
บุญคงมาก ส., & รัตนชัย ภ. (2019). ปัญหาการสละสมณเพศของพระภิกษุ ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 : ศึกษากรณี การใช้อำนาจดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรม. NKRAFA Journal of Humanities and Social Sciences, 6, 11–28. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KANNICHA/article/view/146701
Section
Academic Articles

References

ข่าวสด BBC ไทย, จับพระผู้ใหญ่ – สึกพระดัง : กวาดล้างเพื่อเร่งปฏิรูปศาสนา? 25 พฤษภาคม 2561
https://www.khaosod.co.th/bbc-thai/news_1128957.
คทาวุธ วีระวงษ์, วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2554
จารุณี ฐานรตาภรณ์, อิทธิพลของพระพุทธศาสนาต่อระบบกฎหมายไทย. วารสารยุติธรรมปริทัศน์. 2553
นัดดาภา ภังคานนท์. ความรับผิดทางอาญาของพระสงฆ์ในกฎหมายเก่า, วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะ
นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. ประวัติการปกครองคณะสงฆ์ไทย และลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ไทยโดยสังเขป, พระนคร :
มหามงกุฎราชวิทยาลัย 2521.
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2557), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 22, กรุงเทพ :
มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาวันชัย สีลเตโช, บทบาทของพระวินัยธรในพุทธปรัชญาเถรวาท วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ ปีที่ 4 ฉบับ
พิเศษ
พระเมธีรัตนดิลก, ประวัติการสังคายนาพระไตรปิฎกบาลี https://www.mcu.ac.th/mcutrai/menu2/
Article/article_23.htm เข้าถึงเมื่อ 1 สิงหาคม 2561
พระวินัยปิฎก เล่ม 1 ภาค 1, มหาวิภังค์ ปฐมภาคและอรรถกถา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรม
ราชูปถัมภ์. 2543.
ภูภณัช รัตนชัย. (2558). “หลักการของเบญจศีลที่มีอิทธิพลต่อประมวลกฎหมายอาญา: กรณีศึกษาว่าด้วยความผิด
เกี่ยวกับชีวิตและความผิดเกี่ยวกับทรัพย์”. รายงานวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
รุจิระ บุนนาค. คดีอาญากับการสละสมณเพศ, https://www.marutbunnag.com/article/548/
สมาน สุดโต. โพสต์ทูเดย์, การลงโทษสงฆ์ผิดศีลในสมัยรัชกาลที่ 1 https://www.posttoday.com/dhamma/351803
แสวง บุญเฉลิมวิภาส. ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย, พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ: วิญญูชน
แสวง อุดมศรี. (2546) พระวินัยปิฏก 1ว่าด้วยมหาวิภังค์หรือภิกขุวิภังค์. กรุงเทพ : บริษัท ประยูรวงศ์
พริ้นท์ติ้ง จำกัด.
อำนวย ยัสโยธา. (2531) “กระบวนการต้องโทษในประมวลกฎหมายอาญากับในพระไตรปิฎก-การศึกษาเชิง
เปรียบเทียบ” รายงานวิจัยภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะวิชามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์วิทยาลัยครูสงขลา.