แนวทางการพัฒนาขีดความสามารถศูนย์สงครามทุ่นระเบิดของกองทัพเรือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัย ข้อขัดข้อง รวมทั้งสาเหตุของข้อขัดข้องของการพัฒนาขีดความสามารถศูนย์สงครามทุ่นระเบิดของ ทร. ในปัจจุบัน ศึกษาถึงทฤษฎี หลักการ รวมทั้งตัวอย่างของศูนย์สงครามทุ่นระเบิดของกองทัพเรือต่างๆ ที่สามารถนำมาใช้เป็นตัวแบบในการพัฒนาขีดความสามารถฯ และศึกษาถึงแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาขีดความสามารถฯ เพื่อให้ศูนย์สงครามทุ่นระเบิดของ ทร. สามารถรวบรวมข้อมูลทางยุทธการด้านสงครามทุ่นระเบิด วางแผน อำนวยการ สั่งการ ควบคุมบังคับบัญชากำลังที่ไปปฏิบัติการด้านสงครามทุ่นระเบิด และมีความสอดคล้องกับขีดความสามารถการปฏิบัติการสงครามทุ่นระเบิดของ ทร. ผลของการวิจัย จากการวิเคราะห์ขีดความสามารถของศูนย์สงครามทุ่นระเบิดของ ทร. และแนวทางการพัฒนาขีดความสามารถฯ ที่เคยดำเนินการมา ทำให้ทราบถึงปัญหาของศูนย์สงครามทุ่นระเบิดของ ทร. ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย ปัญหาด้านองค์วัตถุ ได้แก่ การขาดโปรแกรมที่มีความเป็นเฉพาะทางในงานสนับสนุนการปฏิบัติการด้านสงครามทุ่นระเบิด (Software) การขาดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมโยง Data link ที่ทันสมัย (Hardware) รวมทั้งการขาดการบริหารจัดการที่ดี และปัญหาด้านองค์บุคคล ได้แก่ การไม่มีแนวทางการพัฒนาด้านกำลังพล ซึ่งเมื่อพิจารณาทฤษฎี หลักการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น พบว่าสามารถใช้ทฤษฎีซอฟต์แวร์เอ็นจิเนียริ่ง (Software engineering) หลักการทำสงครามทุ่นระเบิดของ ทร. การศึกษาศูนย์สงครามทุ่นระเบิดของ ทร. ออสเตรเลีย (MINTACS) และหลักการบริหาร มาใช้เป็นแนวทางการพัฒนาด้านองค์วัตถุ ซึ่งทำให้สามารถกำหนดแนวทาง รวมทั้งขั้นตอนต่างๆ ในการได้มาซึ่งโปรแกรมฯ ที่ต้องการได้อย่างชัดเจน ในส่วนของแนวทางการพัฒนาด้านองค์บุคคลสามารถนำกระบวนการกรรมวิธีของศูนย์สงครามทุ่นระเบิดมาใช้เป็นแนวทางในการกำหนดแนวทางการพัฒนา โดยมีความต้องการในการพัฒนาบุคลากรแบบรอบด้าน (ความรู้ ทัศนคติ และทักษะ) ในส่วนขั้นตอนการพัฒนานั้น สามารถกำหนดได้เป็น 7 ขั้นตอนตามหลักการจัดขั้นตอนการเรียนการสอนแบบโมเดลซิปปา โดยในแต่ละขั้นตอนสามารถระบุถึงวิธีการพัฒนาในแบบต่างๆ ที่มีความเหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้อันได้แก่ หลักการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน แบบค้นพบ แบบนิรนัย แบบอุปนัย และแบบบรรยาย การพัฒนาขีดความสามารถศูนย์สงครามทุ่นระเบิดถือเป็นแนวทางที่สร้างประโยชน์ให้แก่กองทัพเรือและประเทศชาติได้อย่างมากมาย เนื่องจากงานของศูนย์สงครามทุ่นระเบิดจะสามารถสนับสนุนงานทางด้านความมั่นคงและด้านเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างครอบคลุมทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางที่มีความคุ้มค่าเนื่องจากใช้งบประมาณดำเนินการไม่มากเมื่อเทียบกับการพิจารณาจัดหาระบบฯ เข้ามาใช้จากต่างประเทศ
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นายเรืออากาศ
ข้อความที่ปรากฎในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนนายเรืออากาศฯ และคณาจารย์ท่านอื่น ๆในโรงเรียนนายเรืออากาศฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบขององค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่เพียงผู้เดียว
References
[2] กรมยุทธการทหารเรือ. (2551). อนุมัติกองทัพเรือ ลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2551 ท้ายบันทึกข้อความกรมยุทธการทหารเรือ (ลับ) ที่ กห 0505/81 ลง 20 กุมภาพันธ์ 2551 เรื่อง ขอความเห็นชอบช่องทางเข้า-ออกและพื้นที่จอดเรือของฐานทัพ/ท่าเรือสำคัญ (Q-Route). (เอกสารไม่ตีพิมพ์).
[3] กองเรือทุ่นระเบิด. (2537). บันทึกข้อความ (ลับมาก) ที่ กห 0510.4/220 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2537 เรื่อง ขออนุมัติหลักการแผนงานประจำปีของ กทบ.กร. (เอกสารไม่ตีพิมพ์).
[4] กองเรือทุ่นระเบิด. (2540). คำสั่งที่ 102/2540เรื่อง พิธีเปิดศูนย์สงครามทุ่นระเบิด,ลง 25 ก.ย.40. (เอกสารไม่ตีพิมพ์).
[5] กองเรือทุ่นระเบิด.(2543).คำสั่งที่ 36/2543 เรื่อง แต่งตั้งกรรมการตรวจรับอุปกรณ์ศูนย์สงครามทุ่นระเบิด, ลง 9 มี.ค.43. (เอกสารไม่ตีพิมพ์).
[6] กองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ.(2544). ขีดความสามารถและประสิทธิภาพของเรือใน กทบ.กร. เอกสารประกอบการบรรยาย ณ กองเรือยุทธการ.
[7] กองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ.(2550). ขีดความสามารถศูนย์สงครามทุ่นระเบิด กทบ.กร.เอกสารประกอบการบรรยาย (อัดสำเนา).
[8] กัลยา ศรีธิ.(2553).การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรในการดำเนินงานขององค์การบริหารงานส่วนตำบล ในเขตอำเภองาว จังหวัดลำปาง.(ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
[9] ณรงค์ นันทวรรธนะ.(2547).การบริหารโครงการ. นครปฐม: ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.
[10] พรฤดี เนติโสภากุล.(2549).วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (พิมพ์ครั้งที่ 1 ed.).กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด.
[11] พรนพ พุกกะพันธุ์. (2544).ภาวะผู้นำและการจูงใจ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จามจุรีโปรดักท์.
[12] ทิศนา แขมมณี. (2555).การจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง : CIPPA Model.
[13] นาวาตรี กิตติพงษ์ ทิพย์เสถียร. (2545). การปรับปรุงการต่อต้านทุ่นระเบิดของเรือล่าทำลายทุ่นระเบิดใกล้ฝั่ง. (เอกสารวิจัยนายทหารนักเรียนโรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ),โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ.
[14] บุญชัด เนติศักดิ์. (2553).คู่มือการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง (อัดสำเนา).
[15] พสุ เดชะรินทร์.(2548).การบริหารยุทธศาสตร์อย่างครบวงจร. เอกสารประกอบคำบรรยายในการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง หลักสูตรเพื่อพัฒนาผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 2 ณ โรงแรมรอยัลซิตี้ ปิ่นเกล้า (อัดสำเนา).
[16] มยุรี อนุมานราชธน.(2548).การบริหารโครงการ. เชียงใหม่: คนึงนิจการพิมพ์.
[17] รัตนา สายคณิต. (2546).การบริหารโครงการ : แนวทางสู่ความสำเร็จ (พิมพ์ครั้งที่ 1 ed.). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[18] สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม. (2553).การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2550 – 2553.Retrieved from http://www.otp.go.th/th/pdf/Statistic/transport/goods_inter_53
[19] สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2548).แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย Competency-Based Learning กรุงเทพมหานคร: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
[20] อลงกรณ์ มีสุทธา และ สมิต สัชฌุกรม. (2545).การประเมินผลการปฏิบัติงาน. กรุงเทพมหานคร: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย – ญี่ปุ่น).
[21] อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2546). หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.