ปัจจัยที่ส่งผลต่อการค้นหาข้อมูลด้านสุขภาพ

Main Article Content

ยุพาพร ปุยภิรมย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการค้นหาข้อมูลด้านสุขภาพ เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ พฤติกรรมและเหตุผลในการใช้งานอินเตอร์เน็ตด้านสุขภาพ ทั้ง 4 ด้าน มีรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ Independent t-test, One - Way ANOVA และ LSD โดยมีประชากรกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุระหว่าง 26-35 ปี เป็นกลุ่มวัยทำงาน ผลการวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ต พบว่า ปัจจัยด้านพฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตด้านความถี่ในการเปิดอ่านเว็บไซต์ ด้านสถานที่ในการเปิดอ่านเว็บไซต์ และด้านหัวข้อสุขภาพที่สนใจที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อวัตถุประสงค์ด้านสุขภาพที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ด้านเหตุผลการเลือกใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการดูแลสุขภาพ พบว่า เหตุผลด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ ด้านการใช้งานง่าย ด้านอิทธิพลทางสังคม ด้านความสะดวกสบายที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อวัตถุประสงค์ด้านสุขภาพที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ด้านการใช้งานอินเตอร์เน็ตเพื่อวัตถุประสงค์ด้านสุขภาพ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ต้องการนำแนวทางส่งเสริมสุขภาพไปใช้ เพื่อทำให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ เช่น การเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี นอกจากนี้สามารถติดตามข้อมูลด้านสุขภาพใหม่ๆ เช่น การป้องกันการระบาดของโรคบางชนิด ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่คิดว่าการค้นหาข้อมูลในการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจมีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ

Article Details

How to Cite
ปุยภิรมย์ ย. (2019). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการค้นหาข้อมูลด้านสุขภาพ. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นายเรืออากาศ, 4, 63–72. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KANNICHA/article/view/201822
บท
บทความวิจัย

References

[1] เขมิกา กลิ่นเกสร.พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต คณะมัณฑนศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553.

[2] เดชดนัยจุ้ยชุม. การแสวงหาสารสนเทศเพื่อการศึกษาและการรู้สารสนเทศมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาสารสนเทศของนักศึกษาในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, นราธิวาส: มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 2555.

[3] ฐิติยา เนตรวงษ์. การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการใช้อาคารสถานที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.งานวิจัยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2551.

[4] พรรณทิพา นาคคล้าย.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2550.

[5]ลิขิต กาญจนาภรณ์.พื้นฐานพฤติกรรมมนุษย์.กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2525.

[6] สมใจ ศรีปานเงิน.ความต้องการใช้และการใช้ทรัพยากรสารนิเทศของผู้ใช้ห้องสมุดเฉพาะสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี.กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2540.

[7] สุรศักดิ์ ปาเฮ.เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการครูผู้สอนภาษาอังกฤษการเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learning.สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่, 2555.

[8] อรุณ รักธรรม.พฤติกรรมข้าราชการไทย.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2524.