The Effect of Developing English Language Skills by Watching Movies and Listening to Music on Third-Year Nursing Students in Trang Nursing College
Main Article Content
Abstract
การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะภาษาอังกฤษด้านการฟัง และการอ่านภาษาอังกฤษก่อนและหลังการชมภาพยนตร์และฟังเพลงภาษาอังกฤษในกลุ่มทดลองและเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะภาษาอังกฤษด้านการฟัง และการอ่านภาษาอังกฤษระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังการชมภาพยนตร์และฟังเพลงภาษาอังกฤษ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง ปีการศึกษา 2562 จำนวน 94 คน ได้มาด้วยวิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีการจับคู่ (Matching) โดยมีระยะเวลาในการทดลอง 4 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบทดสอบก่อนและหลังทำกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่า t-test แบบ Dependent t-test และ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า
1.ค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะภาษาอังกฤษด้านการฟัง และการอ่านภาษาอังกฤษในกลุ่มทดลองหลังการชมภาพยนตร์และฟังเพลงภาษาอังกฤษมากกว่าก่อนการชมภาพยนตร์และฟังเพลงภาษาอังกฤษอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะภาษาอังกฤษด้านการฟัง และการอ่านภาษาอังกฤษในกลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ ควรมีการนำวิธีการดูหนังและฟังเพลงมาใช้นการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนไม่เบื่อง่าย สำหรับการชมภาพยนตร์และฟังเพลงภาษาอังกฤษควรเลือกภาพยนตร์และเพลงที่อยู่ในความสนใจของผู้เรียนและเหมาะสมกับผู้เรียน จะส่งผลต่อการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ : ทักษะภาษาอังกฤษด้านการฟังและการอ่าน นักศึกษาพยาบาล การชมภาพยนตร์และฟังเพลง
Downloads
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นายเรืออากาศ
ข้อความที่ปรากฎในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนนายเรืออากาศฯ และคณาจารย์ท่านอื่น ๆในโรงเรียนนายเรืออากาศฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบขององค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่เพียงผู้เดียว
References
[2] Kenneth Beare, “Strategies to Improve English Listening Skills”. [Online]. Available : https://www.thoughtco.com/improving-listening-skills-1210394. [Accessed: 5 December 2019].
[3] Abdel Rahma, “Improving English Language Speaking Skills of Ajloun National University Students”. International Journal of English and Education. Vol.5, Issue.3, pp181-195. 2016.
[4] Holly W. Arnol, “Improving the Writing Skills of English Learners: An Impact on Student Learning Analysis”. TEACH Journal of Christian Education. Vol. 11, No. 2, 2017, pp. 14-20.
[5] Hulya Kuçukoglu, “Improving reading skills through effective reading strategies”. Social and Behavioral Sciences Hacettepe University. Vol. 15, No. 23, 2019, pp. 709-714.
[6] คณะกรรมการอุดมศึกษา, “ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง นโยบายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.mua.go.th/users/he-commission/doc/law/ohec 20law/2559 20Eng 20agen 202559-1.pdf. [วันที่ค้นข้อมูล 8 มกราคม 2563].
[7] ฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง, “หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง 2559 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง สถาบันสมทบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข”. [เอกสารอัดสำเนา]. 2559.
[8] กระทรวงศึกษาธิการ, “ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2560”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/news/data6/.pdf. [วันที่ค้นข้อมูล 20 ธันวาคม 2562].
[9] ฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง, “ผลการสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษ นักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง พ.ศ. 2562”. [เอกสารอัดสำเนา, 2562]
[10] ปวีณนุช พุ่มจิต และ อังค์วรา เหลืองนภา, “การใช้แอปพลิเคชันในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษด้านการฟัง”. ในการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2 วันที่ 19 มกราคม 2562 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. [หน้า 550-561].
[11] อุมาพร ใยถาวร, “การเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะการฟังภาษาองกฤษของนักศึกษาโดยใชเพลงภาษาอังกฤษกับการสอนแบบปกติ :The Comparative Study of Developing Students’ Listening Skills by Using English Songs as a Teaching Instrument and a Conventional Instruction”.ในการประชุมวิชาการปัญญาภิวัฒน์ ครั้งที่ 49 พฤษภาคม 2557 คณะศิลปศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์. [หน้า D1-D 43].
[12] อภิราดี จันทร์แสง, “การพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้รายการโทรทัศน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3: Developing of English Listening Skills for Mathayomsuksa 3 Students By Using Television Programs”.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://rerujournal.reru.ac.th/wp-content/uploads/2018/03/OK-15-.pdf. [วันที่ค้นข้อมูล 8 มกราคม 2563].
[13] อาทิตยา เวียงนิล และคณะ, “การศึกษารูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านกิจกรรม การเรียนรู้ภาษาอังกฤษนอกห้องเรียน กรณีศึกษานักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง”. วารสารวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ปีที่ 6, ฉบับที่ 1, หน้า 37-53, 2559.
[14] ณัฏฐ์นรี ฤทธิรัตน์ และ ธัญภา ชิระมณี, “ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทย: Problems and Obstacles to Developing English Speaking Skill of Thai University Students”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://gsbooks.gs.kku.ac.th/57/grc15/files/hmp39.pdf. [วันที่ค้นข้อมูล 8 มกราคม 2563].
[15] สุตาภัทร จันทร์ประเสริฐ , ศิริรัตน์ สัยวุฒิ, พรเทพ แก้วเชื้อ, ศิรินยา แตงอ่อน และ วรรณวิมล บุญญพงษ์, “นวัตกรรมการสอนของอาจารย์มหาวิทยาลัยแบบใหม่ในยุค 4.0”. การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 10 วันที่27-28 มี นาคม 256 การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย, [หน้า 1-8].
[16] Victoria and Alan, “Modern American Classics for Learning English with Movies”. (Online). Available: https://www.fluentu.com/blog/english/learn-english-movies-films-modern-american-classics/. [Accessed: 1 January 2020].
[17] เนาวรัตน์ อินทรประสิทธิ์ และอาคม สระบัว, “รายงานการวิจัยการใช้กิจกรรมเพลงภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริม
การออกเสียงต่อเนื่องกันในภาษาอังกฤษ”.คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. [2558]
[18] อนามัย ดำเนตร, “ผลการเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้ภาพยนตร์ร่วมสมัยภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาทักษะการวิเคราะห์ประโยคและไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนิสิตคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน”. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. ปีที่ 11, ฉบับที่ 1, หน้า 3109-3209, มกราคม-เมษายน, 2561.
[19] มาริสา กาสุวรรณ์, “ประสิทธิผลของกิจกรรมเพลงภาษาอังกฤษต่อการเรียนรู้และความคงทนของคำศัพท์และทักษะด้านการพูด”. วิทยานิพนธ์ปริญญาสิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. [2556].
[20] อุมาพร ใยถาวร. “การเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะการฟังภาษาองกฤษของนักศึกษาโดยใช้เพลงภาษาอังกฤษกับการสอนแบบปกติ”. การประชุมวิชาการปัญญาภิวัฒน์ครั้งที่ 4วันที่ 9 พฤษภาคม 2557 สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์. [หน้า D1-D43]
[21] อาทิตยา เวียงนิล. “ศึกษารูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษนอกห้องเรียน:กรณีศึกษานักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง”. วารสารวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ปีที่ 6, ฉบับที่ 1, หน้า 37-53, มกราคม-มิถุนายน, 2559.