อิทธิพลของกระบวนการจัดการความรู้ และการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ต่อผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงาน โดย ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษา กำลังพลหน่วยบัญชาการอากาศโยธิกองทัพอากาศ

Main Article Content

ภภิศา อัมพรเวช
ธงชัย ศรีวรรธนะ
พิพัฒน์ นนทนาธรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา อิทธิพลของกระบวนการจัดการความรู้ และการสร้างความรู้ด้วยตนเองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานโดยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ
ใช้แบบสอบในการเก็บข้อมูล ประชากรในการศึกษานี้เป็นข้าราชการในหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน กองทัพอากาศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงแบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน  และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ชาย 340 คน หญิง 60 คน ส่วนมากอายุ 18-30 ปี จำนวน 166 คน อายุ 31-40 ปี จำนวน 156 คน อายุ 41 ปีขึ้นไป 78 คนชั้นยศนายทหารประทวน 207 คน นายทหารสัญญาบัตร 121 คน และพนักงานราชการ/ลูกจ้าง 72 คน


            ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า กระบวนการจัดการความรู้ มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานมากที่สุดคือการประยุกต์ใช้ความรู้  รองลงมา คือการสร้างความรู้ตามลำดับและต่ำที่สุด คือการแสวงหาความรู้ และ ด้านการสร้างความรู้ด้วยตนเอง มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานมากที่สุด คือการกระทำเพื่อที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ รองลงมาคือการสำรวจตรวจค้น ตามลำดับและต่ำที่สุดคือการเรียนรู้จากการกระทำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในครั้งนี้ คือ องค์กรควรสนับสนุนให้มีอุปกรณ์ให้ใช้ทั่วถึง เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ ในเรื่องการประยุกต์ใช้ความรู้มากที่สุด รองลงมา คือการสร้างความรู้ และการแสวงหาความรู้ ควรได้รับการสนับสนุนตามลำดับ และด้านการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ในเรื่องการกระทำเพื่อ ที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมา คือการสำรวจตรวจค้น และการเรียนรู้จากการกระทำเพื่อที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ ตามลำดับ
ได้อย่างครอบคลุม เพื่อเกิดผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน

Article Details

How to Cite
อัมพรเวช ภ., ศรีวรรธนะ ธ., & นนทนาธรณ์ พ. (2018). อิทธิพลของกระบวนการจัดการความรู้ และการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ต่อผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงาน โดย ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษา กำลังพลหน่วยบัญชาการอากาศโยธิกองทัพอากาศ. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นายเรืออากาศ, 5, 87–99. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KANNICHA/article/view/137773
บท
บทความวิจัย

References

[1] ฉัตรชัย ธนาฤดี. (2548). การจัดการความรู้ เพื่อนำองค์การไปสู่ความได้เปรียบในการแข่งขันของ บริษัท ยูโนแคล ไทยแลนด์ จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

[2] เสกสรรค์ แย้มพินิจ.(2550). ปัญหาการศึกษาไทย ทัศนะ Constructionism กับการเรียนการสอน. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : http://pirun.ku.ac.th/-btun/column/segsan.htm (สืบค้นเมื่อ วันที่ 1 เมษายน 2559)

[3] ณภัทรวร เจริญศรี. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการความรู้ของบุคคล ในบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

[4] สมพร ทรัพย์สวัสดิ์.(2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน Video-Integration-Project(VIP) สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต.

[5] วรารี แก้วน่วม. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ถึงประโยชน์ของการจัดการความรู้ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน, ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

[6] มณีวรรณ คนยืน. (2558). อิทธิพลภาวะผู้นำต่อวัฒนธรรมองค์การ การจัดการความรู้ และผลการปฏิบัติงานบริษัทปูนซิเมนต์ไทยจำกัด (มหาชน).วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

[7.] สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. 2555.กระบวนการจัดการความรู้(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก :http://www.opdc.go.th/, (สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2559).

[8.] Ahmed, P.K., A.Y.E. Loh, et al. (1999). “Cultures for Continuous Improvement and Learning.” Total Quality Management10(4/5)

[9.] Davenport T.H., & Prusak L.(1998) Working knowledge How Organizations Manage What They Know.Boston:Harvard Business School Press.

[10] Goh, S., & Richards, G.(1997). Benchmarking the learning capability of organization. European Management Journal, 15(5).

[11] Khalil, O., Claudio, A., &Seliem, A.(2006). Knowledge Management The case of the Acushnet company. SAM Advanced Management Journal, 71(3), 34-44

[12] Nonaka, I. &Takuchi, H.(1995). The Knowledge-Creating Company. Oxford University Press, New York.Senge, P.M.(1990). The fifth discipline: The art and practice of the learning organization. New York, NY. Doubleday.

[13] Sigala, M. &Chalkiti, K. (2007), “Improving performance through tacit knowledge externalization and utilization: preliminary findings from Greek hotels”, International Journal of Productivity and Performance Management, Vol. 56 No.5/6

[14] Yang, J.T.(2007). Knowledge sharing: Investigating appropriate leadership roles andcollaborative culture. Tourism Management, 28(2).