ศึกษาสภาพการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษา (STEM Education) ของโรงเรียนในโครงการขับเคลื่อนโรงเรียนสะเต็มศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1

Main Article Content

ปทุมรัตน์ สีธูป
ผธเนศพล ธเนศพล อินทร์จันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษา (STEM Education) ของโรงเรียน ในโครงการขับเคลื่อนโรงเรียนสะเต็มศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1 การดำเนินการวิจัยมี 1 ขั้นตอน คือ ศึกษาสภาพการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาของโรงเรียนในโครงการขับเคลื่อนโรงเรียนสะเต็มศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 20 คน ครูฝ่ายวิชาการ จำนวน 20 คน และครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 20 คน คณิตศาสตร์ จำนวน 20 คน เทคโนโลยี จำนวน 20 คน ปีการศึกษา 2560 รวม 100 คน จากการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .94 สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย และค่า ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ระดับสภาพการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาของโรงเรียนในโครงการขับเคลื่อนโรงเรียน สะเต็มศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มีระดับสภาพการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาของโรงเรียนในโครงการขับเคลื่อนโรงเรียนสะเต็มศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1 ในลำดับสูงสุด คือ อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ ด้านบริหารจัดการกิจกรรมสะเต็มศึกษา อยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ ด้านกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ และลำดับต่ำสุดได้แก่ ด้านหลักสูตร และมาตรฐานสะเต็มศึกษา แต่ยังคงอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับด้านที่มีค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ด้านบริหารจัดการกิจกรรมสะเต็มศึกษาด้านกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านหลักสูตร และมาตรฐานสะเต็มศึกษา ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
สีธูป ป. . ., & อินทร์จันทร์ ผ. ธ. (2019). ศึกษาสภาพการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษา (STEM Education) ของโรงเรียนในโครงการขับเคลื่อนโรงเรียนสะเต็มศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นายเรืออากาศ, 7, 80–90. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KANNICHA/article/view/183363
บท
บทความวิจัย

References

เอกกวีร์ พิทักษ์ธนัชกุล, การศึกษาในโลกยุคปัจจุบัน, [Online]. Available : https://www.stou.ac.th/study/sumrit 2558. [Accessed : 15 ตุลาคม 2557].

พรทิพย์ ศิริภัทราชัย, STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21, [Online]. Available : http://www.bu.ac.th/knowledgecenter 2556. [Accessed : 15 ตุลาคม 2557].

กมลฉัตร กล่อมอิ่ม, “การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู”, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, ปีที่ 18, ฉบับที่ 4, ตุลาคม – ธันวาคม, 2559.

บุญชม ศรีสะอาด, การวิจัยเบื้องต้น, (พิมพ์ครั้งที่ 7), กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น, 2543.

นุชนภา ราชนิยม, การศึกษาสภาพปัญหาและความพร้อมของการจัดการเรียนการสอนรูปแบบสะเต็มศึกษา ในระดับประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558.

ราวรรณ์ ทิลานันท์, การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานสะเต็มศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิทยาศาสตร์และความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6, วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 2558.

จำรัส อินทลาภาพร, มารุต พัฒผล, วิชัย วงษ์ใหญ่ และศรีสมร พุ่มสะอาด. การศึกษา แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาสาหรับผู้เรียนระดับประถมศึกษา, สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2558.

นิตยา ภูผาบาง, การใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษา เรื่อง พลาสติกชีวภาพจากแป้งมันสำปะหลังเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการสาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2, วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมีศึกษา คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559.