การเห็นคุณค่าในตนเอง ความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค กับความสุข ในการทำงานของข้าราชการกรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับการเห็นคุณค่าในตนเอง ระดับความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค และระดับความสุขในการทำงานของข้าราชการกรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสุขในการทำงานของข้าราชการกรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเห็นคุณค่าในตนเองกับความสุขในการทำงานของข้าราชการกรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคกับความสุขในการทำงานของข้าราชการกรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการกรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ จำนวน 188 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ผลการวิจัยในครั้งนี้พบว่า 1) การเห็นคุณค่าในตนเอง ความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคและความสุขในการทำงานของข้าราชการกรมกิจการพลเรือนทหารอากาศอยู่ในระดับสูง 2) ข้าราชการกรมกิจการพลเรือนทหารอากาศที่มีเพศ อายุ ตำแหน่ง ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส อายุราชการ และรายได้ต่อเดือนแตกต่างกันมีความสุขในการทำงาน ไม่แตกต่างกัน 3) การเห็นคุณค่าในตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขในการทำงานของข้าราชการกรมกิจการพลเรือนทหารอากาศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขในการทำงานของข้าราชการกรมกิจการพลเรือนทหารอากาศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นายเรืออากาศ
ข้อความที่ปรากฎในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนนายเรืออากาศฯ และคณาจารย์ท่านอื่น ๆในโรงเรียนนายเรืออากาศฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบขององค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่เพียงผู้เดียว
References
จอม รุ่งสว่าง, นโยบายผู้บัญชาการทหารอากาศ ประจำปี 2560 [Online]. Available:
http://www.rtaf.mi.th/th/Documents/Publication/ RTAF_Policy_2560-2561.pdf, [Accessed: 20 กุมภาพันธ์ 2561].
เกียรติวรรณ อมาตยกุล, พลังแห่งความเชื่อมั่น, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ ที.พี.พริ้นท์ จำกัด, 2543.
จันทร์ฉาย พิทักษ์ศิริกุล, ผลของการจัดโปรแกรมการฝึกการกล้าแสดงออกต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3, วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532.
Stoltz, P. G., Adversity Quotient: Turning Obstacles into Opportunities, John Willey & Son, New York, 1997.
ธีระศักดิ์ กำบรรณารักษ์, AQ พลังแห่งความสำเร็จ. กรุงเทพมหานคร: ธรรกมลการพิมพ์, 2551.
Yamane Taro, Statistic, An Introductory Analysis, 2nd Ed., Harper and Row, New York, 1967.
Coopersmith, The Antecedent of Self Esteem, Consulting Psychologists Press Inc, California, 1981.
Manion, “Joy at work: creating a positive workplace”, Journal of Nursing Administration, 33(12):652 - 659, December 2003.