ความฉลาดทางอารมณ์ การจัดการความเครียด และพฤติกรรมความรุนแรงของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคโนโลยีโพนพิสัย อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ ระดับการจัดการความเครียด และระดับพฤติกรรมความรุนแรงของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคโนโลยีโพนพิสัย อำเภอ โพนพิสัย จังหวัดหนองคาย 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมความรุนแรงของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับพฤติกรรมความรุนแรงของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความเครียดกับพฤติกรรมความรุนแรงของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน โดยกำหนดค่านัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพส่วนใหญ่มีความฉลาดทางอารมณ์ การจัดการ ความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง และพฤติกรรมความรุนแรงอยู่ในระดับต่ำ 2) นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพที่มีเพศแตกต่างกัน มีพฤติกรรมความรุนแรงแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 3) ความฉลาดทางอารมณ์ มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมความรุนแรง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 และ 4) การจัดการความเครียดโดยมุ่งเน้นการแก้ปัญหามีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมความรุนแรงที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และ การจัดการความเครียดโดยมุ่งเน้นอารมณ์มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมความรุนแรง ที่ระดับนัยสำคัญ ทางสถิติ .01
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นายเรืออากาศ
ข้อความที่ปรากฎในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนนายเรืออากาศฯ และคณาจารย์ท่านอื่น ๆในโรงเรียนนายเรืออากาศฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบขององค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่เพียงผู้เดียว
References
เทวินทร์ ขอเหนี่ยวกลาง, “นักเรียนชายฝักใฝ่ความรุนแรง”, [Online],Available:http//www.ipoll.th.org/article/boy/boy/htm, [Accessed: 8 กรกฎาคม 2561].
สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์, แนวทางการดูแลช่วยเหลือวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมความรุนแรงสำหรับบุคลากรสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: บริษัทดีน่าดู มีเดีย พลัส จำกัด, 2556.
ศศิกานต์ ศิริมา, “ปัญหาการทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่น”, [Online], Available: https://gotoknow.org/posts/564305, [Accessed: 8 กรกฎาคม 2561].
สุเอก ฉินธนทรัพย์, “ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรุนแรงในการกระทำผิดกฎหมาย”. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ, 2547.
Goleman, D., Working with emotional intelligence, New York: Bantam Books, 1998.
Yamane, T., Statistic: An introductory analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row Publications, 1973.
ลลิดา วิรทัศนุสรณ์, “ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับสุขภาพจิตของนักเรียน ช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนศรีบุณยานนท์ จังหวัดนนทบุรี”, การศึกษาค้นคว้าอิสระ วิทยานิพนธ์ วท.ม.มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ, 2552.
Lazarus, R.S. and S. Folkman., Stress, Appraisal, and Coping. New York: Springer, 1984.
คณะกรรมาธิการกิจการสตรี เยาวชน และผู้สูงอายุ วุฒิสภา, ความรุนแรงเด็ก สตรี และผู้สูงอายุในครอบครัว. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, 2542.
วีระวัฒน์ ปันนิตามัย, เชาวน์ อารมณ์ (EQ): ดัชนีวัดความสุขและความสำเร็จของชีวิต. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท, 2545.
สุชา จันทน์เอม, จิตวิทยาเด็กเกเร. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, 2527.
Gary F. Kelly., Sexuality today: the human perspective. Guilford: Dushkin, 1988.
ประณต เค้าฉิม, จิตวิทยาวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2549.