ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ การสนับสนุนทางสังคม กับทักษะชีวิตในการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดของทหารกองประจำการ สังกัดกรมทหารต่อสู้อากาศยาน รักษาพระองค์ กองทัพอากาศ กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ การสนับสนุนทางสังคม กับทักษะชีวิตในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบทักษะชีวิตในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดกับทักษะชีวิตในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคม กับทักษะชีวิตในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด กลุ่มตัวอย่าง คือ ทหารกองประจำการ สังกัด กรมทหารต่อสู้อากาศยาน รักษาพระองค์ กองทัพอากาศ กรุงเทพมหานคร จำนวน 260 คน ในปี 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ผลการวิจัยในครั้งนี้พบว่า 1) ระดับความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ การสนับสนุนทางสังคม กับทักษะชีวิต ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด อยู่ในระดับสูง 2) ปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน อายุ ระดับการศึกษา ภูมิลำเนา การพักอาศัย ลักษณะที่อยู่อาศัย ทหารกองประจำการผลัด / ปี มีทักษะชีวิตในการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดแตกต่างกัน ส่วนสถานภาพสมรส รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ประวัติเกี่ยวกับยาเสพติด และลักษณะงานที่ได้รับมอบหมาย กับทักษะชีวิตในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ไม่แตกต่างกัน 3) ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับทักษะชีวิตในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) การสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับทักษะชีวิตในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นายเรืออากาศ
ข้อความที่ปรากฎในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนนายเรืออากาศฯ และคณาจารย์ท่านอื่น ๆในโรงเรียนนายเรืออากาศฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบขององค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่เพียงผู้เดียว
References
สำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด, แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด, กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง, 2558.
UNODC. สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ, “รายงานสถานการณ์ยาเสพติดทั่วโลก” [Online]. Available:http://www.unodc.org/ เอกสารเผยแพร่ เมื่อ22 มิถุนายน 2017/ [Accessed: 12 สิงหาคม 2561].
World Health Organization, Life skills education for children and adolescences in school, Geneva: Switzerland, 1994.
House, J. S., Measures and concepts of social support. In S, Cohen and S. L. Syme (eds.), Social Support and Health, pp. 83-108, New York: Academic Press,1985.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564), กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง, 2560.
Yamane Taro, Statistic, An Introductory Analysis, 2nd Ed., New York: Harper and Row, 1967.
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 ตอนที่ 63 (ฉบับ พิเศษ), 2522.
เจริญ แฉกพิมาย และนางสาวปนัดดา ศรีธนสาร, พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติด ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, งานวิจัยและพัฒนาการศึกษากองกิจการนักศึกษา, 2555.