ความเชื่อและแนวความคิดในการอนุรักษ์โบราณสถานของไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน Thai’s Attitude and Concept in Conservation of Historic Structures from Past to Present

Main Article Content

Somchart Chungsiriarak

Abstract

บทคัดย่อ

ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ในการรักษาโบราณสถาน ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่พุทธศาสนสถานมายาวนานนับพันปี โดยมีจุดประสงค์เพื่อการบำรุงพระศาสนาและการบริจาคทาน อันจะนำไปสู่ชีวิตและภพภูมิที่ดีหลังความตาย แต่การรักษารูปแบบดั้งเดิมของโบราณสถานไม่เคยเป็นจุดประสงค์ในการนี้เลย จนกระทั่งเมื่อประเทศไทยเปิดประเทศรับอารยธรรมตะวันตกตอนกลางศตวรรษที่ 19 ในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา แนวความคิดในการรักษาโบราณสถานเริ่มเปลี่ยนแปลงไปสู่กระแสตะวันตกมากขึ้น และเห็นรูปธรรมชัดเจนเมื่อองค์กรและกฎหมายที่ทำหน้าที่ในการดูแลโบราณสถานโดยตรงถูกสถาปนาขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าแนวคิดและวิธีการอนุรักษ์แบบจารีตประเพณีหายไป แต่กลับอยู่คู่กับแนวความคิดสมัยใหม่อย่างมั่นคงและผสมผสาน เห็นได้ชัดจากการปฏิบัติการอนุรักษ์ซึ่งทั้งภาครัฐและประชาชนไทยต่างใช้วิธีการรักษาแบบจารีตประเพณีเป็นหลัก โดยมีจุดประสงค์ “ซ่อมให้สมบูรณ์และดูยิ่งใหญ่” เนื่องมาจากภาครัฐเองยังขาดผู้ที่รู้และเข้าใจหลักการอนุรักษ์สากล ขณะเดียวกันภาคประชาชนก็ไม่พยายามเข้าใจในหลักการแบบใหม่ ที่ยึดถือเรื่องหลักฐานจริงและความเป็นของแท้เช่นเดียวกัน ความอ่อนแอในการอนุรักษ์ตั้งแต่ยุคเริ่มต้นส่งผลอย่างต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน ผลงานอนุรักษ์ที่ผ่านมาทำให้ประเทศไทยไม่สามารถประกาศได้อย่างมั่นใจว่า โบราณสถานของไทยเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นของแท้  ในศตวรรษที่ 21 นี้ที่ประเทศไทยประกาศจะนำตนเองเข้าสู่ประชาคมโลกนั้น ประเทศไทยมีภาระสำคัญยิ่งในด้านการอนุรักษ์คือ การสร้างสมดุลให้ดีกว่าเดิมระหว่างแนวคิดการอนุรักษ์แบบจารีตประเพณีและแนวคิดแบบสากลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

Abstract

Care of historic structures in Thailand covers more than a thousand years of history. Buddhist temples were centre to the care where purpose of maintenance lied on support the religion as well as merit making. The deed that would bring about good afterlives. Preservation of structures’ authenticity has never been an aim of such activity. Only when Thailand opened the country to the west in the mid of the nineteenth century in the reign of King Rama IV the new idea in conservation from Europe has been forming. The substantial change to modern idea of conservation was evident in the reign of King Rama VI and VII when relevant legislations and organizations were established. On the other hand traditional concept and practice were still intact and co-existed with the new idea. Its strong influence was seen in conservation practice by both government and people that continued to follow the traditional method aiming “restored structures for the former glory”. The reason was partly because of the lack of understanding among the government officials as well as ignorance among people in the modern concept based on authenticity of historic structures. The weakness from the beginning of the era of modern conservation results in quality of conservation in Thailand nowadays. Thailand is not confident in its historic structures as authentic, historical evidences. In this twenty first century that Thailand declares to bring the country to the global society, its important duty in conservation is to re-evaluate its past performance and making a better balance between traditional value and the modern concept. �ณส������*X�v��ตรงถูกสถาปนาขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าแนวคิดและวิธีการอนุรักษ์แบบจารีตประเพณีหายไป แต่กลับอยู่คู่กับแนวความคิดสมัยใหม่อย่างมั่นคงและผสมผสาน เห็นได้ชัดจากการปฏิบัติการอนุรักษ์ซึ่งทั้งภาครัฐและประชาชนไทยต่างใช้วิธีการรักษาแบบจารีตประเพณีเป็นหลัก โดยมีจุดประสงค์ “ซ่อมให้สมบูรณ์และดูยิ่งใหญ่” เนื่องมาจากภาครัฐเองยังขาดผู้ที่รู้และเข้าใจหลักการอนุรักษ์สากล ขณะเดียวกันภาคประชาชนก็ไม่พยายามเข้าใจในหลักการแบบใหม่ ที่ยึดถือเรื่องหลักฐานจริงและความเป็นของแท้เช่นเดียวกัน ความอ่อนแอในการอนุรักษ์ตั้งแต่ยุคเริ่มต้นส่งผลอย่างต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน ผลงานอนุรักษ์ที่ผ่านมาทำให้ประเทศไทยไม่สามารถประกาศได้อย่างมั่นใจว่า โบราณสถานของไทยเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นของแท้  ในศตวรรษที่ 21 นี้ที่ประเทศไทยประกาศจะนำตนเองเข้าสู่ประชาคมโลกนั้น ประเทศไทยมีภาระสำคัญยิ่งในด้านการอนุรักษ์คือ การสร้างสมดุลให้ดีกว่าเดิมระหว่างแนวคิดการอนุรักษ์แบบจารีตประเพณีและแนวคิดแบบสากลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
ARTICLES