การอนุรักษ์และพัฒนาอาคารสถานีรถไฟในฐานะมรดกทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมของไทย The Conservation and Development of Railway Station Buildings as Historical and Architectural Heritage of Thailand
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
ตลอดระยะเวลา 114 ปีที่ผ่านมา การรถไฟแห่งประเทศไทยได้พัฒนากิจการเดินรถอย่างต่อเนื่อง มีการก่อสร้างทางรถไฟรวมความยาวทั้งสิ้น 4,034 กิโลเมตร สถานรถไฟจำนวน 442 สถานี กระจายตัวอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศ อาคารสถานีรถไฟแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางด้านรูปแบบ วัสดุ วิธีการก่อสร้างที่มีความหลากหลายและมีลักษณะเฉพาะตัว อาคารสถานีรถไฟหลายหลังที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมและประวัติศาสตร์ได้รับการสำรวจและระบุคุณค่าความสำคัญในฐานะเป็นมรดกของชาติและมีการรักษาให้อยู่ในสภาพดี อย่างไรก็ตาม มีอาคารสถานีรถไฟ นิคม พนักงานรถไฟ อาคารโรงรถจักร ถังน้ำรถจักร สะพาน และสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมากที่ควรได้รับการสำรวจและระบุคุณค่าความสำคัญ เพื่อหาแนวทางในการอนุรักษ์และพัฒนาที่เหมาะสมด้วยเช่นกัน
ในปัจจุบัน การรถไฟแห่งประเทศไทยยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในการอนุรักษ์และพัฒนาอาคารสถานีรถไฟ และย่านสถานีรถไฟ รวมทั้งการขาดงบประมาณและบุคลากรในการดำเนินการ ทำให้ที่ผ่านมามีการรื้อถอนอาคารสถานีรถไฟและสิ่งก่อสร้างที่มีความสำคัญทางศิลปกรรม ประวัติศาสตร์ และสถาปัตยกรรมหลายแห่ง โดยที่ยังไม่ได้มีการสำรวจ บันทึก และระบุคุณค่าความสำคัญ นอกจากนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทยยังไม่มีแนวทางการปรับปรุงอาคารสถานีรถไฟซึ่งส่วนใหญ่สร้างด้วยไม้ มีอายุมากกว่า 50 ปี และอยู่ในสภาพทรุดโทรมซึ่งอาจส่งผลให้อาคารต้องถูกรื้อถอนลงในไม่ช้า
จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น การรถไฟแห่งประเทศไทยควรหาแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาอาคารสถานีรถไฟ และย่านสถานีรถไฟ เพื่อที่จะรักษาอาคารสถานีรถไฟ สิ่งปลูกสร้าง และสภาพแวดล้อมที่มีความสอดคล้องกับคุณค่าทางศิลปกรรม ประวัติศาสตร์ และสถาปัตยกรรม ตลอดจนความต้องการในการพัฒนาเมืองสมัยใหม่ตามนโยบายของการรถไฟแห่งประเทศไทย การจัดทำแผนอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ย่านสถานีรถไฟควรเริ่มจากการสำรวจ บันทึกข้อมูล และระบุคุณค่าความสำคัญของอาคารสิ่งปลูกสร้างภายในพื้นที่ ทั้งทางด้านศิลปกรรม ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม เศรษฐกิจและสังคมที่มีต่อชุมชน ผลสรุปของการระบุคุณค่าความสำคัญนี้จะนำไปสู่การเลือกวิธีการอนุรักษ์ที่เหมาะสม เพื่อรักษาคุณค่าในด้านความแท้และบูรณภาพ โดยอาจใช้วิธีการสงวนรักษา บูรณะ ฟื้นฟูปรับเปลี่ยนการใช้สอย หรือสร้างขึ้นใหม่ สำหรับการรักษาคุณค่าความสำคัญนั้นจะต้องมีแผนงาน งบประมาณ ระบบการพิจารณาและตัดสินใจที่โปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ บุคลากรผู้รับผิดชอบที่มีความชัดเจน มีการออกกฎระเบียบควบคุมการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างเหมาะสม มีมาตรการบริหารจัดการที่ดี รวมทั้งต้องมีการดำเนินงานที่เน้นการบูรณาการและการมีส่วนร่วมระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
Abstract
The State Railway of Thailand (SRT) has developed its railway operations continuously over the past 114 years. There are a total of 4,034 kilometers of railway tracks and 442 railway stations located in all regions of the country. The railway station buildings demonstrate the development and use of various and unique architectural styles, materials, and construction techniques. Some railway station buildings with high architectural and historical significance have been surveyed and identified as part of Thailand’s national heritage. These railway station buildings are well treated and are in good condition; however, many other railway station buildings, railway communities, water towers, bridges and other structures related to the SRT’s development have not been identified or surveyed. The remaining structures should be surveyed and identified for their significance in order to determine how to appropriately conserve and develop around them.
The SRT currently has no clear policy on conservation or development of railway station buildings and railway station districts. They also lack the budget and personnel to work on such preservation plans. Consequently, many structures with high artistic, architectural and historical value nave been demolished without being surveyed, recorded or identified for their significance. In addition, the SRT has no appropriate guidelines for improving or conserving the many old and valuable timber railway station buildings. This lack of guidelines may soon result in the demolition of these significant buildings.
For the reasons mentioned above, the SRT should find ways incorporate the conservation and development of railway station districts should start with identifying, recording and surveying the buildings and other structures in the districts to determine their architectural, historical and socio-economic significance. The identification process would help the SRT select appropriate conservation techniques for each structure so that their authenticity and integrity would be preserved. Conservation techniques could be preservation, restoration, rehabilitation, or reconstruction, To conserve these valuable and significant structures there must be a proper plan, sufficient budget, a transparent consideration system, clear roles set up for responsible personnel, and appropriate rules and regulations. These guidelines will control changes to conserved areas and help avoid inappropriate development. The implementation of conservation program will also emphasize the importance of integration and participation between the SRT, government agencies and the private sector.