สืบค้นไท-ลาวภูคัง/ครัง/คลั่ง/ครั่งอีกครั้ง : ตำแหน่งแห่งที่, ประวัติศาสตร์ และกระบวนวิธีวิทยา Reinvestigation on Tai-Lao PhuKang/Krang/Klang : Location, History and Methodology Saran Samantarat
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
บทความต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิจัยเรื่องการศึกษาแบบองค์รวมของการปรับตัวในบริบทใหญ่ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลาวในลุ่มน้ำภาคกลางในประเทศไทย ทุนอุดหนุนวิจัยศาสตราจารย์ดีเด่นปี พ.ศ. 2552 โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย และสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาแห่งชาติ ร่วมกันสนับสนุนทุนอุดหนุนสำหรับศาสตราจารย์อรศิริ ปาณินท์
สาระสำคัญของบทความเป็นการตรวจสอบนามบัญญัติของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว (ภู) ครั่ง/คลั่ง/คัง หรือกลุ่มภาลาวสำเนียงหลวงพระบาท ที่พบว่ามีสองแนวสันนิษฐาน และมีประเด็นสำคัญที่พบว่าได้อ้างอิงข้อมูลเอกสารชั้นต้นร่วมกัน การตรวจสอบกระทำโดยวิธีการแกะรอยย้อนศึกษาเอกสารทางประวัติสาสตร์เอกสารชั้นต้นเหล่านั้นอีกครั้ง ได้แก่ จดหมายเหตุในรัชกาลที่ 2 สองรายการ และจดหมายเหตุในรัชกาลที่ 3 อีกสองรายการ ทั้งหมดเป็นเอกสารสำเนาคัดจากต้นฉบับจดหมายเหตุสมุดไทยดำโดยได้รับการอนุเคราะห์การค้นคว้าวิจัยจากสำนักหอสมุดแห่งชาติ
ประเด็นสำคัญของข้อสันนิษฐานที่ถูกสงสัยคือ “เมืองภูครั่งเป็นหัวเมืองลาวอยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงที่กองทัพไทยเคยยกไปตั้งมั่นเมื่อครั้งทำสงครามกับเขมรและเวียดนาม” ที่เสนอโดยอ้างจากเอกสารจดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 ร่างตราเจ้าพระยาจักรีตอบเมืองสุพรรณ จ.ศ.1202 เมื่อตรวจสอบสืบค้นทบทวนกลับไม่ชวนให้เชื่อตามเช่นนั้นได้ ตรงข้ามหลักฐานที่อ้างถึงรวมไปถึงเอกสารเพิ่มเติมอื่นที่เป็นอิสระต่อกันกลับสนับสนุนข้อสันนิษฐานอีกแนวที่ว่าเมืองภูครังอยู่ในอาณาบริเวณอาณัติของพิษณุโลก พบข้อความที่เป็นจุดเริ่มต้นแนวสันนิษฐานในจดหมายเหตุรัชกาลที่ 2 จ.ศ.1179
นอกจากนี้ยังพบความสอดคล้องกับข้อสันนิษฐานดังกล่าวจากมุมภาษาศาสตร์ที่ว่า ภาษาสำเนียงลาวคังหรือสำเนียงหลวงพระบาง มีความคล้ายคลึงกันระหว่างภาษาลาวในภาคเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ แขวงหลวงพระบาง แขวงไชยบุรี ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และภาษาลาวที่พูดกันในบางส่วนของเพชรบูรณ์ เลย และพิษณุโลก ในบริเวณพื้นที่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงถึงแม่น้ำน่านในประเทศไทย
จากมุมประวัติศาสตร์ทรัพยากรก็ได้พบว่า บริเวณข้างต้นในประเทศไทยอันอาจเรียกได้ว่าในอาณัติพิษณุโลกเดิมนี้เป็นพื้นที่จัดหาจัดส่ง คลั่ง/ครั่ง/คัง ทรัพยากรของป่าที่เป็นสินค้าออกสำคัญของสยามในสมัยอยุธยา-ต้นรัตนโกสินทร์ การทบทวนเอกสารยังรวมไปถึงเอกสารทางประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองในรัชกาลที่ห้าคือ “ทำเนียบหัวเมือง ร.ศ.118” ที่ก็ได้ระบุถึงเมืองภูครัง แขวงเมืองเอกพิษณุโลกไว้ด้วย ต่างก็มีส่วนสนับสนุนให้เกิดความเข้าใจในทิศทางเดียวกัน
เมื่อพิจารณาร่วมกับขอบเขตทางภาษาของวิถีผู้คนที่สลับสับกันซ้อนทับกันไปมา ในการตั้งถิ่นฐานการค้า และการเดินทางในสมัยที่ราชอาณาจักรล้านช้าง-ล้านนาติดต่อถึงกันและกัน เห็นว่าการศึกษาวิจัยเชิงชาติพันธ์ทางสถาปัตยกรรมซึ่งเป็นกรอบการวิจัยนี้ ไม่ควรจินตนาการจากสำนึกขอบเขตแดนประเทศแบบรัฐชาติปัจจุบัน หรือด้วยการศึกษารูปแบบเปรียบเทียบเชิงสัมบูรณ์แต่เพียงมุมมองเดียว ทว่าจำเป็นต้องทำความเข้าใจผ่านมุมอื่นเชิงสัมพัทธ์ที่มีอำนาจในการอธิบายปรากฏการณ์สังคมในปัจจุบันได้ด้วย เช่น ชาติพันธุ์ภาษา วัฒนธรรมศึกษาและมานุษยวิทยา อาทิ ทฤษฎีการผลิตสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมการพลัดถิ่น และทฤษฎีสำนึกทางชาติพันธุ์ เป็นต้น การวิจัยทบทวนความรู้ก่อนนำไปใช้ว่ายังไม่หมดอายุเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น
Abstract
This paper is a part of production of subgroup research under ‘Holistic Study for the Adaptability in the Different Context of Tai-Lao Ethnic in the Central Region Basin of Thailand’ supported by three members, the Thailand Research Fund, Office of the Higher Education Commission and Kasetsart University. Leaded and belonged to Professor Emeritus Ornsiri Panon on behalf of her ‘2009 Outstanding Professor Research Fund’
The mail idea aims to reinvestigate, review and redefine a few independency documentations, especially, the Siamese chronicles, on ‘Tai-Lao (Phu)/Krang/Klang’ in term of ethnic group same as Laoluangprabang in term of linguistic group by reinterpreted on the chronicles in Rama II-Rama III regimes of Rattanakosin period following former study references, emphasis to proof and choose the most reasonable on from paradoxical two hypothesis about the location of MuangPhuKrang. The first extensively hypothesis consisted that the place is on the left side of Mekong River referred from Rama III Chronicles. The second hypothesis presented, the problematic location probably sitting on the periphery of Phitsanulok precinct.
The result confutes the first and supports the second hypothesis. Matching to Linguistic view, found that Luangphrabang dialect speaking in Phisanulok, Phetchabun, Loei, from right side of Mekong River to Nan River in Thailand.
Also from Economics History view, found that ‘lac’ (from local insect Krang-Laccifer lacca Kerr), which collected in this area, had been important export goods since early Ayutthaya period. Last supporting data come from ‘Tamniab HuaMuang RC.118’ – List of Provinces 1900’ and official documentary in King Rama V regime insist that ‘MuangPhukang’ existing in Phitsanulok precinct.
According to the historical context, forestry goods collective and merchandise brought ethnoliguistic people settle here and there for a long time. The ethnic vernacular architectural research must overcome the static boundary of Nationality by considerate, new ceiling of relativity theoretical concepts which expand the explanation power for complicated complexity context until now such as Diaporas, cultural identity, ethnicity consciousness from Cultural Study, Ethnicity Anthropology, Most of all, to testify any Knowledge for its expired date before use, are necessary.