การจัดทำบริการคำบรรยายแทนเสียงในช่วงเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกับเวลาออกอากาศ
คำสำคัญ:
คำบรรยายแทนเสียงแบบปิด, เวลาจริง, ระบบออกอากาศ, โทรทัศน์ระบบดิจิทัล, อัตราบิตบทคัดย่อ
การจัดทำบริการคำบรรยายแทนเสียงในช่วงเวลาเดียวหรือใกล้เคียงกับเวลาออกอากาศ เพื่อทดสอบออกอากาศโทรทัศน์แบบเสมือนจริง มีโครงสร้างของระบบออกอากาศดังนี้ ระบบถอดความเสียงแบบทันต่อเวลาเลือกใช้เทคนิคการถอดความโดยใช้ผู้ถอดความแบบแบ่งพิมพ์ซึ่งพัฒนาโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ส่วนอุปกรณ์ที่ต่อเชื่อมกับระบบฮาร์ดแวร์และเครือข่ายที่มีอยู่เดิมของสถานีโทรทัศน์ ThaiPBS เลือกใช้อุปกรณ์ VT3 รุ่น Peach ร่วมกับซอฟต์แวร์ PIMmala subtitle gateway ในการทดสอบทางเทคนิคและทดสอบการยอมรับจากผู้ใช้งานที่เป็นคนพิการทางการได้ยิน จากผลการทดสอบเชิงเทคนิค 5 ครั้ง และทดสอบกลุ่มผู้ใช้งานคนพิการทางการได้ยินซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก 2 ครั้ง พบว่าโครงสร้างระบบของสถานีโทรทัศน์ ThaiPBS ที่มีการปรับปรุงให้รองรับบริการคำบรรยายแทนเสียงฯ สามารถออกอากาศได้จริงในเชิงเทคนิค ด้านความถูกต้องของการถอดความรายการข่าวมีค่าความถูกต้องเฉลี่ยอยู่ที่ 80-90% จากการทดสอบกับผู้ใช้ที่เป็นคนพิการทางการได้ยินพบว่าผู้ใช้ยอมรับความถูกต้องที่ระดับนี้ได้ ด้านความทันต่อเวลาไม่สามารถแสดงข้อความที่ละตัวอักษรได้ เนื่องจากข้อจำกัดด้าน Bandwidth ที่จัดสรรไว้ให้กับบริการนี้อยู่ที่ 100 kpbs ทำให้ต้องแสดงทุก 500 msec และขนาดภาพข้อความเท่ากับ SD และในด้าน delay ของการถอดความเสียงพูดในการออกอากาศอยู่ที่ 6.6 วินาที
References
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม, 2560, แนวปฏิบัติทางเทคนิคสำหรับการให้
บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล (Technical Guidelines for Digital Terrestrial Television Broadcasting).
กรุงเทพมหานคร. น. 15, 36.
ห้างหุ้นส่วนจำกัด นีว่า เทคโนโลยี. (2560). คำป้อน Subtitle. น. 1-2. (ออนไลน์). สืบค้นจาก
https://www.nivatech.co.th/download/Kumpon-Subtitle.pdf
Chunwijitra, V., Chotimongkol, V., and Wutiwiwatchai, C., (2015)., Combining multiple-type input units using
recurrent neural network for LVCSR language modeling. Proceedings of Interspeech 2015, Germany, 16, 2385-
Mozilla. (2018, February 3). Introduction to WebRTC protocols. Retrieved from https://developer.mozilla.org/en-
US/docs/Web/API/WebRTC_API/Protocols
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ปรากฏในวารสารกิจการสื่อสารดิจิทัล เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงาน กสทช. ซึ่งสำนักงาน กสทช. เปิดโอกาสให้สาธารณะหรือบุคคลทั่วไปสามารถนำผลงานไปเผยแพร่ คัดลอก หรือตีพิมพ์ซ้ำได้ ภายใต้สัญญาอนุญาตแบบเปิด (Creative Commons: CC) โดยมีเงื่อนไขสำหรับผู้ที่นำผลงานไปใช้ต้องระบุอ้างอิงแหล่งที่มา (Attribution: BY) ห้ามดัดแปลง (NoDerivatives: ND) และต้องไม่ใช้เพื่อการค้า (NonCommercial: NC) เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากสำนักงาน กสทช.
อนึ่ง ข้อความ ตาราง และภาพที่ปรากฏในบทความซึ่งได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์และเผยแพร่ในวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ โดยไม่ผูกพันต่อ กสทช. และสำนักงาน กสทช. หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้นิพนธ์แต่ละท่านต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับ กสทช. และสำนักงาน กสทช. แต่ประการใด