ข่าวลวง: ปัญหาและความท้าทาย
คำสำคัญ:
ข่าวลวง, ปัญหาของข่าวลวง, การจัดการข่าวลวงบทคัดย่อ
ด้วยพัฒนาการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันทำให้ข่าวลวงในโลกโซเชียลแพร่กระจายอย่างรวดเร็วและเข้าถึงประชาชนได้อย่างกว้างขวางขึ้น เกิดเว็บไซต์หรือสำนักข่าวปลอมขึ้นมากมายที่สร้างข่าวลวงแพร่กระจายในสังคมออนไลน์จนกลายเป็นเรื่องจริงในหลอกหรือบางครั้งก็หลอกในจริง ปัญหาของข่าวลวงไม่ได้จำกัดแค่ข่าวที่มีเนื้อหาผิดๆ แต่ยังรวมถึงการเขียนข่าวที่ไร้คุณภาพ การโฆษณาที่ชวนให้เข้าใจผิด และการโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองไปจนกระทั่งมีการแทรกแซงทางการเลือกตั้งจากต่างประเทศ ปัจจุบันประชาชน สถาบันทางการเมือง และสังคมถูกปลุกปั่นเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยผู้ประสงค์ร้ายด้วยเครื่องมือการปล่อยข่าวลวง รัฐบาลในประเทศต่างๆ ได้ตระหนักในปัญหาดังกล่าวมากขึ้น ในต่างประเทศมีวิธีการจัดการกับปัญหาข่าวลวงหลายแนวทาง ได้แก่ การออกกฎหมายเซ็นเซอร์หรือควบคุมเนื้อหาข่าวลวง การกำกับดูแลผู้ให้บริการเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม การกำกับดูแลกันเองของภาคอุตสาหกรรม และแนวทางการมีส่วนร่วมหลายฝ่าย
สำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่ได้มีขีดความสามารถทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งประเทศไทยนั้น แนวทางการมีส่วนร่วมหลายฝ่ายน่าจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุด โดยใช้กลไกความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐ ภาคอุตสาหกรรม ภาคประชาชน ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ภาครัฐต้องมีการจัดระบบข้อมูลให้เข้าถึงได้ ข้อมูลที่ดี เข้าถึงได้ง่าย และใช้ข้อกฎหมายที่มีอยู่แล้วมาบังคับใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ ภาคอุตสาหกรรมมีการกำกับดูแลกันเอง ภาคประชาชนต้องมีวิจารณญาณกรองข่าวสารที่ได้รับมาก่อนจะเผยแพร่
References
คมกริช เพ็ญศรี. (2554). ความต้องการสวัสดิการของพนักงานบริษัท ไซเบอร์แพลนเน็ต อินเตอร์แอคทีฟ จำกัดเพื่อเตรียมความ
พร้อมสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นบริษัท (มหาชน). (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะห์
ศาสตร์.
ฐานิฎา เจริญเลิศวิวัฒน์. (2558). ความพึงพอใจในค่าตอบแทน สวัสดิการและคุณภาพชีวิตการทำงานที่มีผลต่อความจงรักภักดีต่อ
องค์กร: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, คณะ
บริหารธุรกิจ.
ธัญญา ผลอนันต์. (2541). ค่าจ้างและสวัสดิการยืดหยุ่น 1. กรุงเทพฯ: ขวัญข้าว.
นิติพล ภูตะโชติ. (2556). พฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิสัย จันทร์เกตุ. (2558). พฤติกรรมการใช้งานสารสนเทศเพื่อการศึกษาที่มีผลต่อความสำเร็จในการเรียนของ
นักเรียนวิทยาลัยเทคนิคชัยนาท. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, คณะบริหารธุรกิจ.
วิทยา ตันติเสวี. (2549). แบบฟอร์มเอกสารในการบริหารงานบุคคลและธุรการ. กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมนิติเพรส จำกัด.
วรมน บุญศาสตร. (2558). การสื่อสารการตลาดสู่กลุ่มผู้บริโภคเจเนอร์เรชั่น ซี ในยุคดิจิทัล. วารสารการสื่อสารและการจัดการนิด้า ,
(1) :หน้า 16-17.
วภัสสราณัฐ รวยธนาสมบัติ. (2558). การศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ตของผู้
บริโภคในแต่ละเจเนอเรชั่น. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี.
วีณาวรรณ จักรชัยชาญ. (2550). ความต้องการสวัสดิการยืดหยุ่นของพนักงานในสถานประกอบการผลิตอัญมณี. (สารนิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์.
ศศิจันทร์ ปัญจทวี. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้ระบบสารสนเทศ กรณีศึกษา สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขต
เชียงใหม่. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม, คณะบริหารธุรกิจ.
เสาวคนธ์ วิทวัสโอฬาร. (2559). เจเนอเรชันวายในองค์กร:การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสอดคล้องของค่านิยมกับความ
ผูกพันต่อองค์กร. Journal of Management Sciences, 33(1) : หน้า 55.
สยาม อินยิ้ม. (2547). รูปแบบจำลองสวัสดิการยืดหยุ่น ของธุรกิจอาหารสัตว์น้ำ กลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม และอาหาร เครือ
เจริญโภคภัณฑ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์.
สุขุมวิทย์ ไสยโสภณ. (2560). การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์. ขอนแก่น: บริษัทเพ็ญพริ้นติ้ง จำกัด.
สุรางค์รัตน์ วศินารมณ์. (2540). สวัสดิการในองค์กร : แนวคิดและวิธีการบริหาร. กรุงเทพฯ: เม็ดทรายพริ้นติ้ง.
สมรัตน์ เชาวมัน. (2557). ความพึงพอใจของบุคลากรวิชาชีพต่อการจัดสวัสดิการของโรงพยาบาลนครธน.(สารนิพนธ์ปริญญามหา
บัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์.
สลักจิต ภู่ประกร. (2555). ความพึงพอใจในสวัสดิการที่ได้รับของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่. (สารนิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, คณะบริหารธุรกิจ.
สรรเพชญ ไชยสิริยะสวัสดิ์. (3 มกราคม 2561). สแกนนิสัย"คน 4 เจเนอเรชั่น" แม้ต่างกันก็อยู่ร่วมกันได้. สืบค้นจาก
https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1401795159.
อนันตชัย คงจันทร์. (2557). Human Resource Management การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: หจก.ภาพพิมพ์.
อนิวัช แก้วจำนง. (2552). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. สงขลา: บริษัท นำศิลป์โฆษณา จำกัด.
Mariann Hardey. (2011). Generation C Content, creation, connections and choice. International Journal of Market
Research, Vol. 53 (Issue 6): p 752.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ปรากฏในวารสารกิจการสื่อสารดิจิทัล เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงาน กสทช. ซึ่งสำนักงาน กสทช. เปิดโอกาสให้สาธารณะหรือบุคคลทั่วไปสามารถนำผลงานไปเผยแพร่ คัดลอก หรือตีพิมพ์ซ้ำได้ ภายใต้สัญญาอนุญาตแบบเปิด (Creative Commons: CC) โดยมีเงื่อนไขสำหรับผู้ที่นำผลงานไปใช้ต้องระบุอ้างอิงแหล่งที่มา (Attribution: BY) ห้ามดัดแปลง (NoDerivatives: ND) และต้องไม่ใช้เพื่อการค้า (NonCommercial: NC) เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากสำนักงาน กสทช.
อนึ่ง ข้อความ ตาราง และภาพที่ปรากฏในบทความซึ่งได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์และเผยแพร่ในวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ โดยไม่ผูกพันต่อ กสทช. และสำนักงาน กสทช. หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้นิพนธ์แต่ละท่านต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับ กสทช. และสำนักงาน กสทช. แต่ประการใด