ภาพยนตร์แอนิเมชัน ๙ ศาสตรา : สัมพันธบทจากเรื่อง “รามเกียรติ์” กับนัยของการประกอบสร้าง ในบริบทสังคมไทยร่วมสมัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาสัมพันธบทจากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์และนัยการประกอบสร้างในภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง ๙ ศาสตรา จากการกำกับของณัฐ ยศวัฒนานนท์ ซึ่งออกฉายในปี 2561 ผลการศึกษาพบว่า ๙ ศาสตรา เกิดแบบแผนสัมพันธบท 4 มิติ ได้แก่ 1) เค้าเดิมของตัวละคร จากการหยิบยกลักษณะและบทบาทของตัวละครทศกัณฐ์ พิเภก และหนุมาน 2) การเพิ่มเติมเนื้อหา ได้แก่ เพิ่มตัวละครเอก อ๊อดและเสี่ยวหลาน และการเพิ่มเหตุการณ์ใหม่ คือ มวยไทย เพื่อนำเสนอความเป็นไทย 3) การปรับเปลี่ยนองค์ประกอบและเรื่องราว ทั้งปรับเปลี่ยนตัวละครดังกล่าว เปลี่ยนเมืองพระรามเป็นเมืองของมนุษย์ และจากแนวคิดธรรมะชนะอธรรมตลอดจนความลุ่มหลงมาสู่แนวคิดความสามัคคี และ 4) การตัดทอนเนื้อหา ได้แก่ ตัดทอนพระราม และตัดทอนลักษณะนิสัยความลุ่มหลงในอิสตรีของทศกัณฐ์เพื่อขับเน้นความสมานฉันท์ สัมพันธบทแสดงนัยที่สัมพันธ์กับบริบทสังคมไทยร่วมสมัย ประการแรก สะท้อนความแตกแยกทางการเมืองไทย จึงทำให้ภาพยนตร์ดัดแปลงเรื่องราวมาสู่แนวคิดเรื่องความสามัคคีและสมานฉันท์ แทนการสงครามดังเช่นในอดีต อีกประการหนึ่ง คือ อิทธิพลของกระแสโลกาภิวัตน์กับการแสดงความเป็นไทย ด้านหนึ่ง ภาพยนตร์เป็นผลพวงของการเน้นย้ำและเผยแพร่ “ความเป็นไทย” แต่อีกด้านหนึ่ง ภาพยนตร์ก็แสดงให้เห็นความเป็นไทยที่มีการผสมผสานกับวัฒนธรรมและสื่อนานาชาติท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารไทยศึกษาอยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-Noncommercial-NoDerivatives4.0 Intenational (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต
References
Maklai, K. et al. (2021). The Creation Myths and Making History Though the Animation movies (Krut: the Himmaphan warriors) in Contemporary Thai Society Context. in The 14 th Research Administation Network Conference. Bangkok: Strategic Wisdom and Research Institute, Srinakharinwirot University.
Mongkol, C. (2017). A Comparative Study of Dasakantha in various versions of the Ramakien. (Master thesis). Silpakorn University,
Bangkok, Thailand.
Pantoomakomol, S. (1994). The Intertextuality of the Fabulous Thai Country Songs During 1955-1992. (Master’s thesis).
Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand.
Poolthupya, S. (2006). The Influence of the Ramayana on Thai Culture: Kingship, Literature, Fine Arts and Performing Arts. The Journal of the Royal Institute of Thailand, 31 (1): pp. 269-277.
Prachakul, N. (2009). Yok akson yon khwamkhit lem 2 wa duai sangkhomsat lae manutsat [Rethinking Text, Reflecting Thoughts Vol. 2 : On Social Studies and Humanities]. Bangkok: Witphasa Publishing.
Prasannam, N. (2021). Khian duai ngao lao duai saeng: Wannakam kap kan datplaeng sueksa [The Poetics of Lights and Shadows: Literature and Adaptation Studies]. Bangkok: Saengdao Publishing.
Ruengruglikit, C. (2016). The Theme and its’ Roles in Ramakien by King Rama I. Journal of Humanities and Social Sciences. SRU, 8(3),
-30. Retrieved from https://e-journal.sru.ac.th/index.php/ jhsc/article/view/525.
Sajjapun, R. (2003). Namanukromramkiat prawatkhwampenma tualakhon sathanthi phithi awut paiyanyai. [Glossary of Names in Ramakien]Bangkok : Suwiriyasatchut.
Sajjapun, R. (2017). An wannakam Gen Z [Reading Gen Z Literature]. Bangkok: Saengdao Publishing.
Sajjapun, R. (2020). Okat mai nai wannakhadi sueksa [New Opportunities in Literary Studies]. Bangkok: Saengdao Publishing.
Sakolrak, S. (2003). Thai literary transformation: an analytical study of the modernization of Lilit Phra Lor. (Doctoral thesis). SOAS University, London, United Kingdom.
Yoswatananont, N. Cho luek bueanglang kap Nat Yoswatananontphukamkap lae khian bot 9 Sattra [In-depth Interviewing with Nat Yoswatananont, the director and script writer of the exciting Thai animation film‘9 Satra’]. (2018). Retrieved from https://akibatan.com/2018/01/akibatan-interview-with-nat-yoswatananont-9-satra-creator/.