เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • จริยธรรมการตีพิมพ์
    จรรยาบรรณของบรรณาธิการ
    1. การตรวจสอบเนื้อหาของบทความโดยคำนึงถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของวารสารฯ รวมถึงคุณประโยชน์ของบทความที่ได้รับด้วยความโปร่งใส
    2. การพิจารณา กลั่นกรอง และให้ความเห็นต่อบทความที่ได้รับจากผู้นิพนธ์ด้วยความเป็นกลาง
    3. การตัดสินใจของบรรณาธิการต่อการยอมรับหรือปฏิเสธบทความเพื่อการตีพิมพ์ ควรขึ้นอยู่กับคุณภาพของบทความ ความชัดเจนของบทความ ตลอดจนความเกี่ยวข้องกับขอบเขตของนโยบายของวารสารฯ เป็นสำคัญ
    4. การเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิเพื่ออ่านประเมินบทความเป็นไปด้วยความโปร่งใส ปราศจากผลประโยชน์ทับซ้อนและตรงตามความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชา
    5. การเต็มใจในการชี้แจงการแก้ไขด้วยความเต็มใจ การทำให้เกิดความกระจ่าง การถอน และการขออภัย หากจำเป็น
    จรรยาบรรณของผู้ทรงคุณวุฒิเพื่ออ่านประเมินบทความ
    1. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาแก่บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
    2. หลังจากได้รับบทความจากบรรณาธิการวารสาร และผู้ประเมินบทความ ตระหนักว่าตนเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้นๆ
    3. ผู้ประเมินบทความ ควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาความสำคัญของเนื้อหาในบทความที่มีต่อสาขาวิชานั้นๆ คุณภาพของการวิเคราะห์ และความเข้มข้นของผลงานหรือระบุผลงานวิจัยที่สำคัญๆ และสอดคล้องกับบทความที่กำลังประเมิน แต่ผู้เขียนบทความไม่ได้อ้างถึง เข้าไปในการประเมินบทความด้วยผู้ประเมินไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความ
    4. ผู้ประเมินบทความต้องไม่นำข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความไปเป็นผลงานของตนเอง
    5. เมื่อผู้ประเมินบทความพบว่า มีส่วนใดของบทความ ที่มีความเหมือนกัน หรือซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่นๆ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ
    จรรยาบรรณของผู้นิพนธ์
    1. การรับรองว่าบทความที่จัดส่งมานั้น เป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
    2. การรับรองว่าบทความที่จัดส่งมานั้น ไม่อยู่ระหว่างการเสนอขอลงพิมพ์ในวารสาร/สิ่งพิมพ์อื่น
    3. การไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น และต้องมีการอ้างอิงทุกครั้ง เมื่อนำผลงานของผู้อื่นมานำเสนอ หรือนำมาอ้างอิงในเนื้อหาภายในบทความของตน
    4. การรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
    5. การไม่นำผลงานไปเผยแพร่ หรือตีพิมพ์ในแหล่งอื่น หลังจากที่ได้รับการตีพิมพ์กับวารสารฯ
    6. ชื่อผู้นิพนธ์ที่ปรากฏในบทความจะต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในผลงานนี้จริง




การจัดเตรียมต้นฉบับบทความ

1) ต้นฉบับบทความต้องเป็นไฟล์เวิร์ด (Microsoft word) เท่านั้น

2) กระดาษ A4 มีความยาวระหว่าง 10-15 หน้า (รวมหน้า References) พิมพ์บนกระดาษหน้าเดียว 1 คอลัมน์ ใช้ตัวอักษรแบบ TH Niramit AS (ขนาดอักษร 16 pt.)

3) ตั้งค่าหน้ากระดาษโดยเว้นขอบกระดาษ ขอบบน – ล่าง.1.23 นิ้ว ขอบขวา - ซ้าย 1.06 นิ้ว

4) การนำเสนอรูปภาพและตาราง ต้องนำเสนอรูปภาพและตารางที่มีความคมชัดพร้อมระบุหมายเลขและชื่อกำกับใต้รูปภาพไว้ด้านล่าง พิมพ์เป็นตัวหนา เช่น ตารางที่ 1 หรือ Table 1 และ รูปภาพที่ 1 หรือ Figure 1 โมเดลที่ 1 หรือ Model 1 รูปภาพที่นำเสนอต้องมีคำอธิบายรายละเอียดของข้อมูลครบถ้วนและเข้าใจได้โดยไม่จำเป็นต้องกลับไปอ่านที่เนื้อความอีก ระบุลำดับของรูปภาพทุกรูปให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่อยู่ในต้นฉบับ โดยคำอธิบายต้องกระชับและสอดคล้องกับรูปภาพที่นำเสนอ

5) ชื่อเรื่องต้องมีภาษาไทย (18 pt.) และภาษาอังกฤษ (18 pt.) ตรงกลางหน้ากระดาษ

6) ชื่อผู้เขียน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (14 pt.) ไม่ต้องระบุตำแหน่งทางวิชาการ คำนำหน้า นาย/นาง/นางสาว/คุณ/ยศตำแหน่ง (ยกเว้นกรณีเป็นพระภิกษุ) พิมพ์ด้วยตัวอักษรปกติอยู่ใต้ชื่อเรื่องโดยชิดขอบขวา และใช้ตัวเลขยกกำกับหน้าชื่อผู้เขียนแสดงชื่อหน่วยงาน

7) มีบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 300 คำต่อบทคัดย่อ

8) กำหนดคำสำคัญ (Keywords) จากชื่อบทความ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (3 - 5 คำ)

9) การเรียงหัวข้อ หัวข้อใหญ่สุด (16 pt. ตัวหนา) ให้พิมพ์ชิดขอบด้านซ้าย หัวข้อย่อย (16 pt. ตัวหนา)

10) การใช้ตัวเลขตลอดทั้งบทความ ต้องใช้ตัวเลขอารบิกทั้งหมด ไม่ใช้ตัวเลขไทย

         

รูปแบบบทความวิจัย

บทความวิจัยมีองค์ประกอบหัวข้อ ดังนี้

1) ชื่อเรื่องภาษาไทย (18 pt.) ภาษาอังกฤษ (18 pt.)

2) ชื่อผู้เขียนและผู้ร่วมเขียนบทความ (ภาษาไทย 14 pt.)

- ผู้เขียนระบุเลขยกหน้าชื่อผู้เขียนแต่ละท่าน

3) ชื่อผู้เขียนและผู้ร่วมเขียน (ภาษาอังกฤษ 14 pt.)

4) คณะ, สถาบัน (ภาษาไทย 14 pt.) ไม่ต้องหนา

     - (คณะหรือสถาบันที่ต่างกันระบุเลขยกตามลำดับ)

5) Faculty, Institute, Thailand. (อังกฤษ 14 pt.) ไม่ต้องหนา

6) Corresponding Author’s Email (อีเมลผู้ติดต่อประสานบทความ 14 pt.)

7) บทคัดย่อ (หัวเรื่อง 16 pt., เนื้อความ 14 pt., 500 คำ, ระบุวัตถุประสงค์วิจัย ประเภทของงานวิจัย กลุ่มประชากร พื้นที่ การวิเคราะห์ข้อมูล (สถิติ, เชิงพรรณนา) และผลการวิจัยตามลำดับของวัตถุประสงค์)

8) คำสำคัญ (14 pt.) (3 – 5 คำ ตามชื่อของบทความ คั่นด้วยเครื่องหมาย Semicolon ;)

9) Abstract (16 pt., เนื้อความ 14 pt.) (แปลรักษารูปคำและประโยคให้ตรงกับภาษาไทย ไม่แปลสรุปย่อ ไม่แปลจับประเด็น ไม่แปบขยายความ ใส่ตัวเลขข้อย่อหน้า วรรคตอน ลำดับหัวข้อหลัก หัวข้อรอง ให้ตรงกับภาษาไทย)

10) keywords (14 pt.)

11) บทนำ (16 pt., เนื้อความ 16 pt.) แบ่งเป็นสี่ย่อหน้า ดังนี้

- ความเป็นมา บริบท สภาพปัญหาของประเด็น (อ้างอิง)

- กรณีที่ศึกษา/กรณีพื้นที่ (อ้างอิง)

- หลักการ แนวคิด ทฤษฎี เชิงวิชาการ แนวทางปฏิบัติ มาตรฐานการแก้ไขปัญหาหรือการส่งเสริมพัฒนา (อ้างอิง)

- แรงจูงใจที่อยากจะศึกษา (ต้องสะท้อนเชื่อมโยงกับประเด็นที่กล่าวมาข้างต้น และระบุเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์) เหตุผลความคาดหวัง คุณค่า ประโยชน์ ที่หวังได้จากการศึกษา

12) วัตถุประสงค์ของการวิจัย (16 pt., เนื้อความ 16 pt.)

  1. เพื่อ................................................................................................
  2. เพื่อ................................................................................................
  3. เพื่อ................................................................................................

13) กรอบแนวคิดการวิจัย (ถ้ามี)

14) สมมุติฐานของการวิจัย (ถ้ามี)

15) วิธีดำเนินการวิจัย (16 pt., เนื้อความ 16 pt.)

ขั้นตอนที่ 1  การศึกษาด้านเนื้อเอกสารแนวคิดทฤษฎี (Documentary Study)

ขั้นตอนที่ 2  การศึกษาในภาคสนาม (Field Study)

ขั้นตอนที่ 3  ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants)

ขั้นตอนที่ 4  เครื่องมือและวิธีการที่ใช้ในการศึกษา

1) การสัมภาษณ์ (In–depth Interviews)

2) การจัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group Discussion)

 3) ศึกษาและติดตามผลการปฏิบัติ/ทดลอง/ฝึกอบรม

ขั้นตอนที่ 5  การรวบรวมข้อมูล

ขั้นตอนที่ 6  การวิเคราะห์ข้อมูล 

ขั้นตอนที่ 7  ผลการศึกษาวิจัย และ การนำเสนอผลการศึกษาวิจัย

      (Presentation of the Research Results)

16) ผลการวิจัย (16 pt., เนื้อความ 16 pt.)

วัตถุประสงค์ที่ 1 ผลการวิจัยพบว่า.....................................................

วัตถุประสงค์ที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า.....................................................

วัตถุประสงค์ที่ 3 ผลการวิจัยพบว่า.....................................................

17) สรุป (16 pt., เนื้อความ 16 pt.)

สรุปภาพรวมครอบคลุมผลการวิจัย เป็นความเรียงไม่ใส่เลขเป็นข้อมาตรา ไม่เอียง
ไม่หนา ไม่แทรกภาพโมเดล (ไม่ต้องแทรกอ้างอิง)

18) อภิปรายผลการวิจัย (16 pt., เนื้อความ 16 pt.)

เสนอเป็นความเรียง ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยง ความสอดคล้อง ความเหมือน ความแตกต่างกับกรอบแนวคิดทฤษฎี งานวิจัยอื่นๆในอดีตที่ผ่านมาอย่างไร

ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า........................... ทั้งนี้เป็นเพราะ........................ สอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยของ...................................................................................... (อ้างอิง)

ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า........................... ทั้งนี้เป็นเพราะ........................ สอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยของ..................................................................................... (อ้างอิง)

ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 พบว่า........................... ทั้งนี้เป็นเพราะ........................ สอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยของ..................................................................................... (อ้างอิง)

19) ข้อเสนอแนะ (16 pt., เนื้อความ 16 pt.)

  1. ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย (เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์)

ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ที่ 1 พบว่า ............................................................ดังนั้น

ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ที่ 2 พบว่า ..............................................................ดังนั้น

ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ที่ 3 พบว่า ..............................................................ดังนั้น

  1. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป (ต้องเกี่ยวเนื่องต่อยอดจากบทความนี้)

2.1. ............................................................................................................................

     2.2. ............................................................................................................................

2.3. ............................................................................................................................

20) อ้างสารอ้างอิง (16 pt., เนื้อความ 16 pt.) ในรูปแบบของ APA

เฉพาะบทความวิจัยควรมีการอ้างอิง แหล่งข้อมูลอ้างอิง ที่ปรากฏในเนื้อหาบทความทั้งหมด จะต้องนำมาเขียนเป็นรายการอ้างอิงใน References ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ทุกๆอ้างอิง ตามรูปแบบอ้างอิงของวารสาร และเรียงลำดับตามตัวอักษร (ห้ามอ้างอิง References ที่ไม่ปรากฏการอ้างอิงในเนื้อหาบทความ)