บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการหรือบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร อย่างเคร่งครัด รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสาร ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร  ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสาร   รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง  ซึ่งทางวารสารได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 20% ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฏาคม 2564 เป็นต้นไป หรือจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง

การจัดเตรียมต้นฉบับบทความ

1) ต้นฉบับบทความต้องเป็นไฟล์เวิร์ด (Microsoft word) เท่านั้น

2) กระดาษ A4 มีความยาวระหว่าง 10-15 หน้า (รวมหน้า References) พิมพ์บนกระดาษหน้าเดียว 1 คอลัมน์ ใช้ตัวอักษรแบบ TH Niramit AS (ขนาดอักษร 16 pt.)

3) ตั้งค่าหน้ากระดาษโดยเว้นขอบกระดาษ ขอบบน – ล่าง.1.23 นิ้ว ขอบขวา - ซ้าย 1.06 นิ้ว

4) การนำเสนอรูปภาพและตาราง ต้องนำเสนอรูปภาพและตารางที่มีความคมชัดพร้อมระบุหมายเลข และชื่อกำกับใต้รูปภาพไว้ด้านล่าง พิมพ์เป็นตัวหนา เช่น ตารางที่ 1 หรือ Table 1 และ รูปภาพ      ที่ 1 หรือ Figure 1 โมเดลที่ 1 หรือ Model 1 รูปภาพที่นำเสนอต้องมีคำอธิบายรายละเอียดของข้อมูลครบถ้วนและเข้าใจได้โดยไม่จำเป็นต้องกลับไปอ่านที่เนื้อความอีก ระบุลำดับของรูปภาพทุกรูปให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่อยู่ในต้นฉบับ โดยคำอธิบายต้องกระชับและสอดคล้องกับรูปภาพที่นำเสนอ

5) ชื่อเรื่องต้องมีภาษาไทย (18 pt.) และภาษาอังกฤษ (18 pt.) ตรงกลางหน้ากระดาษ

6) ชื่อผู้เขียน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (14 pt.) ไม่ต้องระบุตำแหน่งทางวิชาการ คำนำหน้า นาย/นาง/นางสาว/คุณ/ยศตำแหน่ง (ยกเว้นกรณีเป็นพระภิกษุ) พิมพ์ด้วยตัวอักษรปกติอยู่ใต้ชื่อเรื่องโดยชิดขอบขวา และใช้ตัวเลขยกกำกับหน้าชื่อผู้เขียนแสดงชื่อหน่วยงาน

7) มีบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 300 คำต่อบทคัดย่อ

8) กำหนดคำสำคัญ (Keywords) จากชื่อบทความ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (3 - 5 คำ)

9) การเรียงหัวข้อ หัวข้อใหญ่สุด (16 pt. ตัวหนา) ให้พิมพ์ชิดขอบด้านซ้าย หัวข้อย่อย (16 pt. ตัวหนา)

10) การใช้ตัวเลขตลอดทั้งบทความ ต้องใช้ตัวเลขอารบิกทั้งหมด ไม่ใช้ตัวเลขไทย

        

รูปแบบบทความวิจัย

บทความวิจัยมีองค์ประกอบหัวข้อ ดังนี้

1) ชื่อเรื่องภาษาไทย (18 pt.) ภาษาอังกฤษ (18 pt.)

2) ชื่อผู้เขียนและผู้ร่วมเขียนบทความ (ภาษาไทย 14 pt.)  - ผู้เขียนระบุเลขยกหน้าชื่อผู้เขียนแต่ละท่าน

3) ชื่อผู้เขียนและผู้ร่วมเขียน (ภาษาอังกฤษ 14 pt.)

4) คณะ, สถาบัน (ภาษาไทย 14 pt.) ไม่ต้องหนา  - (คณะหรือสถาบันที่ต่างกันระบุเลขยกตามลำดับ)

5) Faculty, Institute, Thailand. (อังกฤษ 14 pt.) ไม่ต้องหนา

6) Corresponding Author’s Email (อีเมลผู้ติดต่อประสานบทความ 14 pt.)

7) บทคัดย่อ (หัวเรื่อง 16 pt เนื้อความ 14 pt 500 คำ, ระบุวัตถุประสงค์วิจัย ประเภทของงานวิจัย กลุ่มประชากร พื้นที่ การวิเคราะห์ข้อมูล (สถิติ, เชิงพรรณนา) และผลการวิจัยตามลำดับของวัตถุประสงค์)

8) คำสำคัญ (14 pt) (3 – 5 คำ ตามชื่อของบทความ คั่นด้วยเครื่องหมาย Semicolon ;)

9) Abstract (16 pt  เนื้อความ 14 pt) (แปลรักษารูปคำและประโยคให้ตรงกับภาษาไทย ไม่แปลสรุปย่อไม่แปลจับประเด็น ไม่แปบขยายความ ใส่ตัวเลขข้อย่อหน้า วรรคตอน ลำดับหัวข้อหลัก หัวข้อรอง ให้ตรงกับภาษาไทย)

10) keywords (14 pt.)

11) บทนำ (16 pt  เนื้อความ 16 pt ) แบ่งเป็นสี่ย่อหน้า ดังนี้

- ความเป็นมา บริบท สภาพปัญหาของประเด็น (อ้างอิง)

- กรณีที่ศึกษา/กรณีพื้นที่ (อ้างอิง)

- หลักการ แนวคิด ทฤษฎี เชิงวิชาการ แนวทางปฏิบัติ มาตรฐานการแก้ไขปัญหาหรือการส่งเสริมพัฒนา (อ้างอิง)

- แรงจูงใจที่อยากจะศึกษา (ต้องสะท้อนเชื่อมโยงกับประเด็นที่กล่าวมาข้างต้น และระบุเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์) เหตุผลความคาดหวัง คุณค่า ประโยชน์ ที่หวังได้จากการศึกษา

12) วัตถุประสงค์ของการวิจัย (16 pt  เนื้อความ 16 pt )

เพื่อ................................................................................................

เพื่อ................................................................................................

เพื่อ................................................................................................

13) สมมุติฐานของการวิจัย (ถ้ามี)

14) กรอบแนวคิดการวิจัย (ถ้ามี)

15) วิธีดำเนินการวิจัย (16 pt  เนื้อความ 16 pt )

ขั้นตอนที่ 1  การศึกษาด้านเนื้อเอกสารแนวคิดทฤษฎี (Documentary Study)

ขั้นตอนที่ 2  การศึกษาในภาคสนาม (Field Study)

ขั้นตอนที่ 3  ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants)

ขั้นตอนที่ 4  เครื่องมือและวิธีการที่ใช้ในการศึกษา

1) การสัมภาษณ์ (In–depth Interviews)

2) การจัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group Discussion)

3) ศึกษาและติดตามผลการปฏิบัติ/ทดลอง/ฝึกอบรม

ขั้นตอนที่ 5  การรวบรวมข้อมูล

ขั้นตอนที่ 6  การวิเคราะห์ข้อมูล

ขั้นตอนที่ 7  สรุปผลการศึกษาวิจัย และ การนำเสนอผลการศึกษาวิจัย (Presentation of the Research Results)

16) ผลการวิจัย (16 pt  เนื้อความ 16 pt )

วัตถุประสงค์ที่ 1 ผลการวิจัยพบว่า.....................................................

วัตถุประสงค์ที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า.....................................................

วัตถุประสงค์ที่ 3 ผลการวิจัยพบว่า.....................................................

17) สรุป (16 pt  เนื้อความ 16 pt )

สรุปภาพรวมครอบคลุมผลการวิจัย เป็นความเรียงไม่ใส่เลขเป็นข้อมาตรา ไม่เอียง  ไม่หนา ไม่แทรกภาพโมเดล (ไม่ต้องแทรกอ้างอิง)

18) อภิปรายผลการวิจัย (16 pt  เนื้อความ 16 pt ) เสนอเป็นความเรียง ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยง ความสอดคล้อง ความเหมือน ความแตกต่างกับกรอบแนวคิดทฤษฎี งานวิจัยอื่นๆในอดีตที่ผ่านมาอย่างไร

ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า........................... ทั้งนี้เป็นเพราะ........................ สอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยของ...................................................................................... (อ้างอิง)

ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า........................... ทั้งนี้เป็นเพราะ........................ สอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยของ..................................................................................... (อ้างอิง)

ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 พบว่า........................... ทั้งนี้เป็นเพราะ........................ สอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎี

19) ข้อเสนอแนะ (16 pt  เนื้อความ 16 pt )

ข้อเสนอแนะจากการวิจัย

ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ที่ 1 พบว่า ............................................................ดังนั้น

ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ที่ 2 พบว่า ..............................................................ดังนั้น

ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ที่ 3 พบว่า ..............................................................ดังนั้น

ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป (ต้องเกี่ยวเนื่องต่อยอดจากบทความนี้)

2.1. ............................................................................................................................

2.2. ............................................................................................................................

2.3. ............................................................................................................................

20) เอกสารอ้างอิง (16 pt., เนื้อความ 16 pt.) ในรูปแบบของ APA

เฉพาะบทความวิจัยควรมีการอ้างอิง แหล่งข้อมูลอ้างอิง ที่ปรากฏในเนื้อหาบทความทั้งหมด จะต้องนำมาเขียนเป็นรายการอ้างอิงใน References ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ทุกๆอ้างอิง ตามรูปแบบอ้างอิงของวารสารและเรียงลำดับตามตัวอักษร (ห้ามอ้างอิง References ที่ไม่ปรากฏการอ้างอิงในเนื้อหาบทความ)

รูปแบบการนำบทความลงตีพิมพ์ลงในวารสาร

          ต้นฉบับบทความที่เสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารให้อยู่ในรูปแบบของไฟล์เอกสาร *.docx ของ Microsoft Word Version 2010 หรือมากกว่า หากต้นฉบับประกอบด้วยภาพ ตาราง หรือสมการ ให้ส่งแยกจากไฟล์เอกสาร ในรูปแบบไฟล์ภาพ สกุล *.PDF*.JPG*.GIF หรือ *.bmp ความยาวของต้นฉบับต้องไม่เกิน 15 หน้า (รวมบทคัดย่อ ภาพ ตารางและเอกสารอ้างอิง) กองบรรณาธิการจะพิจารณาบทความเบื้องต้น เกี่ยวกับความถูกต้องของรูปแบบทั่วไป ถ้าไม่ผ่านการพิจารณาจะส่งกลับไปแก้ไข ถ้าผ่านจะเข้าสู่การพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิเมื่อผลการประเมินผ่านหรือไม่ผ่านหรือมีการแก้ไข จะแจ้งผลให้ผู้เขียนทราบ โดยการพิจารณาบทความเพื่อลงตีพิมพ์ได้จะคำนึงถึงความหลากหลายและความเหมาะสม

สิทธิของบรรณาธิการ

          ในกรณีที่กองบรรณาธิการหรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิผู้ตรวจประเมินบทความมีความเห็นว่าควรแก้ไข กองบรรณาธิการจะส่งคืนเพื่อให้เจ้าของบทความแก้ไข โดยจะยึดถือข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิผู้ตรวจประเมินเป็นเกณฑ์หลัก และหรือขอสงวนสิทธิ์ที่จะพิจารณาไม่ตีพิมพ์ ในกรณีที่รายงานการวิจัย บทความทางวิชาการหรือบทความวิจัยไม่ตรงกับแนวทางของวารสาร หรือไม่ผ่านการพิจารณาของกองบรรณาธิการหรือผู้เชี่ยวชาญเมื่อบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ผู้เขียนจะได้รับวารสาร ลิ้งค์ฉบับที่นำบทความลงตีพิมพ์ พร้อมกับหนังสือรับรองการตีพิมพ์บทความในวารสาร