คลองไทย 9A : การศึกษาผลกระทบทางสังคม-วัฒนธรรม กรณีศึกษาจังหวัดตรัง

Main Article Content

กฤตศิลป์ ธำรงวิศว
สุริยะใส กตะศิลา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาที่นำมาซึ่งเหตุของผลกระทบทางสังคมในการดำเนินโครงการคลองไทย 9A 2) เพื่อศึกษาผลกระทบทางสังคม-วัฒนธรรม และวิถีดำเนินชีวิตในการขุดคลองไทย 9A กรณีศึกษาจังหวัดตรัง             โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ      โดยการสุ่มประชากรที่เลือกมาอย่างเจาะจง จำนวน 11 คน ประกอบด้วย กลุ่มนักวิชาการ จำนวน 3 คน กลุ่มข้าราชการ    ในพื้นที่ จำนวน 6 คน อดีตข้าราชการ จำนวน 1 คน และกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว จำนวน 1 คน และการประชุมระดมความคิด (Focus Group) จำนวน 2 ครั้ง และใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า 1. สภาพปัญหาที่นำมา ซึ่งเป็นต้นเหตุของผลกระทบทางสังคมในการดำเนินโครงการคลองไทย 9A  มี 5 ปรากฏการณ์ ได้แก่ 1) ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่เกิดจากการก่อสร้างโครงการ 2) การสร้างท่าเรือน้ำลึกและการขุดคลองไทยกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ 3) การขุดคลองไทยพาดผ่านแม่น้ำตรัง  4) การเสียพื้นที่ทางการเกษตรจากการขุดคลองไทย 9A 5) เสียงที่เกินมาตรฐานที่เกิดจากการขุดคลองไทยโดยการใช้ระเบิดและเครื่องจักรขนาดใหญ่ 2. ผลกระทบทางสังคม วัฒนธรรมและวิถีดำเนินชีวิต   ในการขุดคลองไทย 9A กรณีศึกษาจังหวัดตรัง แบ่งเป็น 2 ด้าน ได้แก่ 1) ผลกระทบทางด้านวัฒนธรรม 2) ผลกระทบทางด้านวิถีดำเนินชีวิต

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

กฤตศิลป์ ธำรงวิศว , วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

สุริยะใส กตะศิลา , วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

References

คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2548). รายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการขุดคอคอดกระ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

ดลหทัย จิรวิวรรธน์. (2559). คลองไทย : ประเด็นที่ต้องพิจารณาและการเตรียมความพร้อมด้านกฎหมาย

วิทยานิพนธ์หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายการค้าระหว่างประเทศ. คณะนิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุบผา ทองแท้. (2562). พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาโยงใต้.สัมภาษณ์. ตุลาคม, 18.

ประดิษฐ์ บุญเกิด และคณะ. (2560). คลองกระ-ไทย : มรดกทางยุทธศาสตร์ของชาติ. กรุงเทพฯ : ฟองทอง

เอ็นเตอร์ไพรส์.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2548). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว หน่วยที่ 1-7.

พิมพ์ครั้งที่ 5. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุภางค์ จันทวานิช. (2556). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.