ความพึงพอใจเกี่ยวกับนโยบายสิทธิประโยชน์ทางภาษีของผู้มีเงินได้ กรณีศึกษาภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปีภาษี 2562

Main Article Content

ธนิษฐ์ฌา พูนทอง
สุมาลี รามนัฎ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจเกี่ยวกับนโยบายสิทธิประโยชน์ทางภาษีของผู้มีเงินได้ กรณีศึกษาภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปีภาษี 2562 2) ศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจเกี่ยวกับนโยบายสิทธิประโยชน์ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีศึกษาภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปีภาษี 2562 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้มีเงินได้ที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 91 ทางอินเทอร์เนต จำนวน 400 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง      เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา เท่ากับ 0.981 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้การสมมติฐานด้วย t-test, One-Way ANOVA และ Least Significant Difference : LSD ผลการวิจัย พบว่า 1. ความพึงพอใจเกี่ยวกับนโยบายสิทธิประโยชน์ทางภาษีของผู้มีเงินได้ กรณีศึกษาภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปีภาษี 2562 อยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน คือ ด้านค่าลดหย่อนและยกเว้นเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย การลงทุน การออมและสังคม ด้านค่าลดหย่อนและยกเว้นส่วนตัว และครอบครัว และด้านการหักค่าใช้จ่ายและอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามลำดับ 2. การเปรียบเทียบความพึงพอใจเกี่ยวกับนโยบายสิทธิประโยชน์ทางภาษีของผู้มีเงินได้ กรณีศึกษาภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปีภาษี 2562 พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเพศและด้านสถานภาพ มีความพึงพอใจเกี่ยวกับนโยบายสิทธิประโยชน์ทางภาษี กรณีศึกษาภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปีภาษี 2562 ในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล ด้านอายุ ด้านระดับการศึกษา    ด้านอาชีพ/รายได้หลัก และด้านรายได้ต่อปี มีความพึงพอใจเกี่ยวกับนโยบายสิทธิประโยชน์ทางภาษีของผู้มีเงินได้ กรณีศึกษาภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปีภาษี 2562 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ธนิษฐ์ฌา พูนทอง , นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

สุมาลี รามนัฎ, หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

References

กรมสรรพากร. (2562). ความรู้เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2562, จาก https://www.rd.go.th/publish/309.0.html.

ขนิษฐา นิลรัตนานนท์. (2555). ความพึงพอใจเกี่ยวกับนโยบายสิทธิประโยชน์ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของ ผู้มีเงินได้ประเภทเงินเดือน. การค้นคว้าแบบอิสระบัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จิรพร ศิริเสถียร. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้มีเงินได้ในจังหวัดอ่างทอง. การค้นคว้าแบบอิสระเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธัญญ์วรัตน์ อรรถวิทย์. (2559). ปัญหาการใช้สิทธิประโยชน์ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรการ กระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงวันที่ 25-31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ

ชลบุรีและระยอง. งานนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

นฤมล กันทะอุโมงค์. (2561). ความเข้าใจและความต้องการของผู้มีเงินได้ในจังหวัดลำพูนต่อสิทธิประโยชน์

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา. การค้นคว้าแบบอิสระบัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นันทิดา วัฒนประภา. (2559). ปัจจัยในการวางแผนการเงินที่มีผลต่อความคุ้มค่าในการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของลูกค้าที่มาใช้บริการธนาคารกสิกรไทย สาขาแหลมฉบัง. งานนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภาวินี อนันต์ธนสาร. (2559). มาตรการการปรับเพิ่มรายการค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาศึกษากรณีการหักค่าลดหย่อนค่าใช้จ่ายในทางการแพทย์. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2551). วิจัยทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมกรุงเทพฯ

ลดาวัลย์ ใยพิมล. (2557). มาตรการการปรับเพิ่มค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ศึกษากรณีค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต กับความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ครั้งใหม่.

วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจมหาบัณฑิตย์.

ลมัย ศรีวรรณา. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามแบบ ภ.ง.ด. 90

และตามแบบ ภ.ง.ด.91. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิไลพร ผาดงยาง. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา.

การค้นคว้าแบบอิสระบัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศุภัตตา ป้องเศร้า. (2558). มาตรการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อการกระจายภาระภาษีของไทย. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สายใจ เตชะสาย. (2554). ความคิดเห็นของผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในจังหวัดตากที่มีผลต่อมาตรการ ภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล. การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.