ภาวะผู้นำ และวัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงาน ของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

Main Article Content

นิวัฒน์ รังสร้อย
พีระพงษ์ วรภัทร์ถิระกุล
เกรียงศักดิ์ แสงสว่าง

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาภาวะผู้นำ และวัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงาน   ของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) 2)เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรต่อปัจจัยด้านภาวะผู้นำ และวัฒนธรรมองค์การที่มีต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ และวัฒนธรรมองค์การต่อความสามารถในการอธิบายและทำนาย    ของตัวแปรภาวะผู้นำ และวัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 200 คน โดยใช้สูตรเครจซี่และมอร์แกน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์      ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำแบบปล่อยเสรี มีค่าเฉลี่ยสูงสุด  (=3.55) และวัฒนธรรมองค์การ ด้านวัฒนธรรมการปรับตัวมีค่าเฉลี่ยโดยรวมสูงสุด  ( = 3.60) และส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากร ด้านค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม  (=3. 95) มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 2. การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล ของบุคลากรต่อปัจจัยด้านภาวะผู้นำ และวัฒนธรรมองค์การที่มีต่อคุณภาพชีวิตในการทำงาน โดยสรุปว่า ภาพรวมไม่แตกต่างกันที่นัยสำคัญทางสถิติ .05 และความสัมพันธ์ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ และวัฒนธรรมองค์การในการอธิบายและทำนายของตัวแปร พบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีความสัมพันธ์ในทางบวกในระดับสูง (r = .843) ส่งผลต่อวัฒนธรรมส่วนร่วม (r =.633) ซึ่งจะมีผลทางบวกต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร (R2=0.84, R2Adjusted=0.83, Sr2=3.34, F=23.52, p<0.001) 3. ข้อค้นพบจากการวิจัยในครั้งนี้ องค์การต้องเห็นคุณค่าและความสำคัญพฤติกรรมด้านภาวะผู้นำ พร้อมทั้งควรมุ่งเน้นให้เกิดการถ่ายทอดวัฒนธรรมการทำงานและสร้างค่านิยมจากบุคคลรุ่นหนึ่ง ไปยังอีกรุ่นหนึ่งในรูปแบบที่หลากหลาย โดยที่บุคลากรสามารถรับรู้ถึงวัฒนธรรมผ่านพฤติกรรมธรรมเนียมวิธีการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อองค์การอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

นิวัฒน์ รังสร้อย, มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

พีระพงษ์ วรภัทร์ถิระกุล , มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

เกรียงศักดิ์ แสงสว่าง, มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

References

จิรศักดิ์ จิยะจันทน์. (2563). การบริหารองค์การที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานสายงานปฏิบัติการนครหลวง บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(1), 240-253.

จิรัชญา ศุขโภคา. (2561). อิทธิพลการรับรู้การสนับสนุนจากหัวหน้างานและจากองค์กรที่มีผลต่อ ประสิทธิภาพในการทำงานผ่านความผูกพันต่อองค์กรและความไว้วางใจของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(2), 1835-1852.

นิวัฒน์ รังสร้อย. (2561). ประสิทธิผลโครงการพัฒนาทักษะทางดนตรีของกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬานครทรรศน์, 5(3), (กันยายน-ธันวาคม), 859-871.

พภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2562). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่มีต่อการบริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตพื้นที่ 13 (กรุงเทพมหานคร). วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(1), (เดือนมกราคม-มิถุนายน), 486-498.

พราวพิชชา เถลิงพล. (2563). ประสิทธิผลการบริหารจัดการระบบประกันสุขภาพของกลุ่มแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(1), (มกราคม), 254-267.

พิชญา แก้วสระแสน และไพบูลย์ อาชารุ่งโรจน์ (2560). ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยในการทำงาน ความเครียด และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของพนักงานบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยศิลปากร, Vol. 10 No. 1.

วรรณภา ลือกิตินันท์. (2560). ตัวแบบความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กร. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9(3), 55-66.

สุจิตรา บุญยรัตพันธุ์. (2546). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับรัฐประศาสนศาสตร์ .(พิมพ์ครั้งที่ 7).กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุพิชฌาย์ ลิ้มตระกูลไทย. (2561). คุณลักษณะงานที่มีผลต่อความผูกพันด้านความรู้สึกต่อองค์กรผ่านผลการปฏิบัติงาน ในบทบาทการรับรู้การสนับสนุนจากหัวหน้างาน และการรับรู้การสนับสนุน จากองค์กรของโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อุทัย เลาหวิเชียร.(2542). รัฐประศาสนศาสตร์ ; ลักษณะวิชาและมิติต่าง ๆ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เสมาธรรม.

Jackson, S.E., Schuler, R.S., & Werner, S.(2009). Managing human resources. Mason, OH: South-Western Cengage Learning.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.