การมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม อย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

ภัครดา ฉายอรุณ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี 2) ศึกษากลยุทธ์ในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม 3) ศึกษาการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมอย่างยั่งยืน กลุ่มเป้าหมายคือนักท่องเที่ยวในจังหวัดสุพรรณบุรี    จำนวน 45 คน ได้มาโดยวิธีเจาะจง เครื่องมือในการวิจัย แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี คือการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการคิดริเริ่ม ร่วมกำหนดนโยบาย ร่วมวางแผน ตัดสินใจและปฏิบัติตามแผน ร่วมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ ร่วมติดตามประเมินผล ซึ่งมีลักษณะที่เป็นรูปธรรม การให้ความร่วมมือของทุกภาคส่วน สามารถทำให้เกิดกลยุทธ์ที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ภัครดา ฉายอรุณ, หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยรังสิต

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยรังสิต

References

กรรณิการ์ กาญจนวัฎศรี. (2561). การบริหารการพัฒนา. เอกสารประกอบการสอน. สืบค้นเมื่อ

มกราคม 2561 จาก http://pws.npru.ac.th.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2557). มหัศจรรย์ประเพณีท่องเที่ยวไทย 2557. สืบค้นเมื่อ 30 กุมภาพันธ์ 2561, จาก https://www.mots.go.th/News-view.php?nid=5468.

ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว. (2556). “แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม”. สืบค้นวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2561, จาก httt://tourism-dan1.blogspot.com.

แก้วคำ ไกรสรพงษ์. (2551). เครือข่ายนโยบายในคำและความคิดในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย เล่ม 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พระครูโกศัยพัฒนาบัณฑิต และ พระศักดิทัศน์ แสงทอง. (2017). ผู้บริหารในยุคใหม่

กับประเทศไทย 4.0. Journal of MCU พุทธปัญญาทบทวน, 2(3), 67-74.