การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการบริหารจัดการขยะชุมชนฐานราก: องค์การบริหารส่วนตำบลลำพยนต์ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

สิทธิพร เขาอุ่น
กฤษณะ ดาราเรือง
สมเดช สิทธิพงศ์พิทยา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดขยะชุมชนฐานราก และเพื่อสร้าง           ความร่วมมือในการพัฒนาการบริหารจัดการขยะชุมชนฐานรากขององค์การบริหารส่วนตำบลลำพยนต์ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการประชุมกลุ่มย่อย ฝ่ายบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลลำพยนต์ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้บริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล พระสงฆ์ ปราชญ์ชาวบ้าน อสม. และแกนนำชุมชน     จำนวน 80 คน ทำการวิเคราะห์ Content Analysis, SWOT Analysis, Critical Success Factor ผลการวิจัย พบว่า        1) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการขยะชุมชนฐานราก ประกอบด้วย (1) การแปลงนโยบายจังหวัดสะอาดไปปฏิบัติ      ในระดับหมู่บ้าน ตั้งคณะทำงาน “หมู่บ้านสะอาด” (2) สร้างภาคีเครือข่ายแกนนำการบริหารจัดการขยะ บ้าน วัด โรงเรียน “บวร” (3) สร้างมาตรการทางสังคมสำนึกการเป็นเจ้าของชุมชนร่วมกัน และ (4) ผู้นำชุมชนเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินกิจกรรมลดขยะในครัวเรือน 2) ด้านการสร้างความร่วมมือในการพัฒนาการบริหารจัดการขยะชุมชนฐานราก ประกอบด้วย (1) ประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ชุมชนในการบริหารจัดการขยะอย่างถูกหลักวิชาการ (2) รณรงค์และประชาสัมพันธ์      ให้ชุมชนดำเนินกิจกรรมลดปริมาณขยะด้วยหลัก 3Rs (3) ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนทำปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์        และ (4) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์การบริหารจัดการขยะอย่างถูกหลักวิชาการระหว่างชุมชน ส่งผลให้ปริมาณขยะมูลฝอยชุมชน พ.ศ. 2561 จำนวน 1,486.59 ตัน/ปี พ.ศ. 2562 ลดลงเหลือ 522.95 ตัน/ปี

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

สิทธิพร เขาอุ่น, คณะบริหารและการจัดการ มหาวิทยาเจ้าพระยา

คณะบริหารและการจัดการ มหาวิทยาเจ้าพระยา

กฤษณะ ดาราเรือง , คณะบริหารและการจัดการ มหาวิทยาเจ้าพระยา

คณะบริหารและการจัดการ มหาวิทยาเจ้าพระยา

สมเดช สิทธิพงศ์พิทยา, คณะบริหารและการจัดการ มหาวิทยาเจ้าพระยา

คณะบริหารและการจัดการ มหาวิทยาเจ้าพระยา

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2562). รายงานสรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2561. กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรุงเทพฯ: หจก.ส.มงคลการพิมพ์.

กรมควบคุมมลพิษ. (2559). แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 – 2564). สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ กรุงเทพฯ:

บริษัท แอคทีฟพริ้นท์ จำกัด

จิรนนท์ พุทธา และ สยัมภู ใสทา. (2560). การพัฒนาเครือข่ายการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างยั่งยืน: บ้านตีนโนนเหนือ ตำบลห้วยป่าหวาย อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี. ทุนอุดหนุนจากโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก เครือข่ายวิจัยเครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

ดำหริ กำปั่นวงษ์. (2562). การจัดการขยะเหลือศูนย์โดยการมีส่วนร่วมของพหุภาคี เขตเทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์, ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม 2562), 236-244.

ธัชพล ทีดี. (2561). รูปแบบการบริหารจัดการเมืองสะอาดอย่างยั่งยืน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลพบุรี.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, Vol.20 Special Issue September – October, 1-13.

ภิศักดิ์ กัลยาณมิตร และ วชิรวัชร งามละม่อม. (2561). แนวทางการพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอย

ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์,

ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน 2561), 172–193.

วชิรวิชญ์ วรชิษณุพงศ์. (2561). รูปแบบการจัดการขยะชุมชนในเทศบาลตำบลดงมะดะ อำเภอแม่ลาว

จังหวัดเชียงราย. นเรศวรวิจัย, ครั้งที่ 13: วิจัยและนวัตกรรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม

สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2562, จาก conference.nu.ac.th › nrc13 › downloadPro.

วิทยา ทัศนไพบูลย์, ทวนทอง เชาวกีรติพงศ์ และ วิษณุ บัวเทศ. (2560). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดกำแพงเพชร.วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, ปีที่ 7 ฉบับที่ 13 (กรกฎาคม –ธันวาคม 2560), 67–82.

สิทธิศักดิ์ บุญลอย และ พึงรัก ริยะขัน. (2560). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอย ชุมชนบ้านดอนสัก หมู่ที่ 3 ตำบลไกรกลาง อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. โครงการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17 บูรณาการงานวิจัยสู่การพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน”. ณ ศูนย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง วังจันทน์ริเวอร์วิว มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก.

องค์การบริหารส่วนตำบลลำพยนต์. (2562). แบบตรวจติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายและแนวทางการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอย. จังหวัดนครสวรรค์.

อิสรภาพ มาเรือน. (2558). กระบวนการสร้างความร่วมมือทางสังคมระหว่างชุมชนชาวเขาเผ่าม้ง เผ่าเมี่ยน เผ่าลัวะ เพื่อการจัดการขยะอย่างยั่งยืน ในพื้นที่ตำบลป่ากลาง อำเภอปัว จังหวัดน่าน.วารสารวิชาการสาธารณสุข, ปีที่ 24 ฉบับที่ 1 (มกราคม – กุมภาพันธ์), 33 – 40.

Le Thu Hoaa and Ngo Thanh Maib. (2016) .Community-based Solid Waste Management: The Case of Sai Son Commune, Quoc Oai District, Hanoi. Journal of Mekong Societies, 12(1), 77-94.

Banerjee, P., Hazra, A., Ghosh, P., Ganguly, A., Murmu, N.C., and Chatterjee, P. K., (2019). Solid Waste Management in India: A Brief Review: Proceedings of 6th IconSWM 2016. Retrieved November 22, 2018, from https://www.researchgate.net/publication/327823547_Solid_Waste_Management_in_India_A_Brief_Review_Proceedings_of_6th_IconSWM_2016