การพัฒนาคู่มือการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาสภาพการบริหารกิจการนักเรียน 2) พัฒนาคู่มือการบริหารกิจการนักเรียน และ 3) ประเมินความเหมาะสมของคู่มือการบริหารกิจการนักเรียน การวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการบริหารกิจการนักเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้บริหาร และครูผู้สอน จำนวน 370 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น .974 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาคู่มือการบริหารกิจการนักเรียน โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินค่าความสอดคล้องของคู่มือ ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเหมาะสมของคู่มือ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอน จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น .953 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารกิจการนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับคือ การบริหารงานกิจการนักเรียน การประเมินผลการดำเนินงานกิจการนักเรียน การวางแผนงานกิจการนักเรียน การส่งเสริมพัฒนาให้นักเรียนมีวินัย คุณธรรม จริยธรรม การดำเนินการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน และการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2) การพัฒนาคู่มือการบริหารกิจการนักเรียน พบว่า คู่มือประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ เป้าหมาย กรอบเนื้อหา งานกิจการนักเรียน หลักการจัดกิจการนักเรียน ความสำคัญของการบริหารงานกิจการนักเรียน กระบวนการบริหารงานกิจการนักเรียน หลักการบริหารงานกิจการนักเรียน ขอบข่ายการบริหารงานกิจการนักเรียน กฎหมาย ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานกิจการนักเรียน การประเมินผลการบริหารกิจการนักเรียน ความสอดคล้องของคู่มือ อยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 3) การประเมินความเหมาะสมของคู่มือ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับ คือด้านรูปแบบ ด้านการใช้ภาษา ด้านการออกแบบ ด้านประโยชน์จากการนำคู่มือไปใช้ ด้านเนื้อหา ด้านรูปเล่ม และด้านความเป็นไปได้
Article Details
References
เอทจำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). แนวทางปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : ที.เอส.บี. โปรดักส.
คัมภีร์ สุดแท้. (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
จตุพร เถาว์หิรัญ. (2558). สภาพและปัญหาการบริหารงานแนะแนว โดยใช้วงจรเดมมิ่ง (พีดีซีเอ) ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
จีรวรรณ สุวรรณสาม (2558). การพัฒนาคู่มือการนิเทศภายในแบบคู่สัญญาโรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา 3 สุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
จันทร์โท จันทร์พิมพ์. (2553). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนางานกิจการนักเรียนโรงเรียนบ้านโคกขามเลียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ราชกิจจานุเบกษา. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. เล่ม 127 ตอนที่ 45 ก 22 กรกฎาคม 2553.
วงศ์จันทร์ แก้วสีนวล. (2557). การพัฒนาคู่มือการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1.
ภาคนิพนธ์ ครุศาสตร์มหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
วณิชย์เอื้อ น้อมจิตต์กุล. (2556). การบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนงิ้วรายบุญมีรังสฤษดิ์. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วราภรณ์ บุญดอก (2559). สภาพและปัญหาการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนมัธยมวัดหนองจอก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
วีรยา คำแหง. (2552). สภาพและปัญหาการบริหารกิจกรรมลูกเสือและเนตรนารี ตามวงจรเดมมิ่งในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
สวภพ เทพกสิกุล. (2559). แนวทางการบริหารกิจการนักเรียนตามแนวคิดการเสริมสร้างความยึดมั่นผูกพันระหว่างโรงเรียน ครอบครัว และชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุจิรา ชื่นวิเศษ (2557) การพัฒนาคู่มือการนิเทศภายในโรงเรียน ของเครือข่ายเอกชนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฏร์ธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
สุรัสวดี จินดาเนตร. (2553). การพัฒนาคู่มือการสอนโครงงานคณิตศาสตร์สำหรับครู ในช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียน ดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุเทพ ไชยวุฒิ (2558). การพัฒนาคู่มือการบริหารจัดการงานวิชาการของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู. กรุงเทพมหานคร : ม.ป.ท.
สัญญา ประชากูล (2553). การพัฒนาระบบสารสนเทศงานกิจการนักเรียน โรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อภิวัฒน์ สกลชัย. (2551). ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการให้บริการนักเรียน ของโรงเรียน สังกัดเทศบาลในจังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.