คุณสมบัติผู้จัดการคลังสินค้าที่พึงประสงค์ในภาคเกษตร 4.0: อุตสาหกรรมเกษตร อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

ณัฐพงษ์ แต้มแก้ว
จารุกิตติ์ ดิษสระ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาคุณสมบัติผู้จัดการคลังสินค้าที่พึงประสงค์ในภาคเกษตร 4.0: อุตสาหกรรมเกษตร อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ (1) เพื่อศึกษาคุณสมบัติผู้จัดการคลังสินค้าและกำหนดคุณสมบัติที่พึงประสงค์ในภาคการเกษตร 4.0 (2) เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำจัดทำเป็นคู่มือคุณสมบัติผู้จัดการคลังสินค้าที่พึงประสงค์ในภาคการเกษตร 4.0 การศึกษาคุณสมบัติผู้จัดการคลังสินค้าที่พึงประสงค์ในอุตสาหกรรมเกษตร ผู้วิจัยใช้เทคนิคการวิจัยแบบเดลฟาย (Delphi Technique) ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญผลจากการวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างของคุณสมบัติผู้จัดการคลังสินค้าของอุตสาหกรรมเกษตรกับข้อมูลเชิงประจักษ์สรุปได้ว่า 1. ด้านความรู้เฉพาะด้าน และความรู้ทั่วไป ให้ความสำคัญกับคุณสมบัติการบริหารจัดการเครื่องมือขนถ่ายเป็นอันดับแรก 2. ด้านความรู้ในทางเทคนิค ให้ความสำคัญกับคุณสมบัติความรู้ในด้านหลักการบริหารจัดเก็บสินค้าเกษตร เป็นอันดับแรก 3. ด้านความรู้ ในเรื่องระบบ ให้ความสำคัญกับคุณสมบัติความรู้เกี่ยวกับระบบการกระจายสินค้าเป็นอันดับแรก 4. ด้านความรู้ในเรื่องภาวะผู้นำ ให้ความสำคัญกับคุณสมบัติเทคนิคเกี่ยวกับภาวะผู้นำเป็นอันดับแรก 5. ด้านความรู้ในเรื่องวิธีการให้ความสำคัญ กับคุณสมบัติรอบรู้ในกระบวนการทำงานในการรับเข้า จัดเก็บสินค้า และดูแลสินค้า เป็นอันดับแรก 6. ด้านความรู้ในเรื่องอื่นๆให้ความสำคัญกับคุณสมบัติความรู้ในด้านมนุษย์สัมพันธ์ เป็นอันดับแรก คุณสมบัติด้านสมรรถนะหลักในภาพรวม ควรให้ความสำคัญกับคุณสมบัติ ด้านพฤติกรรม และด้านอื่นๆเป็นอันดับแรก รองลงมา ให้ความสำคัญกับด้านการเขียน ด้านการใช้คำพูด และด้านการใช้ภาษา ตามลำดับ คุณสมบัติด้านแรงจูงใจ คุณสมบัติด้านแรงจูงใจในภาพรวม ควรให้ความสำคัญกับคุณสมบัติแรงกระตุ้นหรือแรงจูงใจที่มาจากตนเองเป็นอันดับแรก รองลงมา ให้ความสำคัญกับแรงกระตุ้นหรือแรงจูงใจที่มาจากพนักงาน และแรงจูงใจอื่นๆ ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ณัฐพงษ์ แต้มแก้ว , มหาวิทยาลัยเกริก

มหาวิทยาลัยเกริก

จารุกิตติ์ ดิษสระ, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

References

เกียรติขจร โฆมานะสิน. (2551). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เพื่อองค์กรที่เป็นเลิศ. กรุงเทพฯ:บริษัท อินโนกราฟฟิกส์ จำกัด.
โกศล ดีศีลธรรม. (2554). ลีนโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ (ตอนที่ 1). สืบค้น 25 มกราคม 2557, จาก http://thailandindustry.com/guru/view.php?id=13070§ion=9.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณะกรรมการการพัฒนาข้าราชการและพลเรือน. (2548). เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่องสมรรถนะของข้าราชการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาข้าราชการและพลเรือน. (อัดสำเนา).
คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2553). การจัดการสินค้าคงคลัง. กรุงเทพฯ: บริษัท โฟกัสมีเดีย แอนด์ พับลิชชิ่ง.
เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. (2536). เทคนิคการสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัยทางการพยาบาล. สงขลา : อัลลายด์เพรส.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.