รูปแบบการเตรียมชุมชนเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายผู้สูงอายุในหน่วยปฐมภูมิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล
พรเพ็ญ เพชรสุขศิริ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษารูปแบบการเตรียมชุมชนเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายผู้สูงอายุในหน่วยปฐมภูมิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัย      การเตรียมชุมชนเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในชุมชน และ(3) เพื่อเสนอแนะการออกกำลังกายผู้สูงอายุ      ในหน่วยปฐมภูมิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร โดยใช้ผู้สูงอายุทั้งหญิงและชายที่พักอาศัยในชุมชน จำนวน 420 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยทางสังคมมีอิทธิพลต่อการออกกำลังกาย     ของผู้สูงอายุ พบว่าปัจจัยทางสังคมมีอิทธิพลต่อความต้องการเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 โดยมีค่าน้ำหนักของตัวแปรเรียงจากมากไปหาน้อย คือ ระดับสังคมในชุมชน ระดับชุมชน ระดับองค์การ       ระดับระหว่างบุคคล สรุปข้อค้นพบจากการวิจัยโดยสรุปว่า รูปแบบการเตรียมชุมชนเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายผู้สูงอายุในหน่วยปฐมภูมิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร คือ ต้องมีมีศูนย์ออกกำลังกายที่มีกิจกรรม                  การออกกำลังกายหลากหลายและสอดคล้องกับวิถีชีวิต มีสิ่งอำนวยความสะดวก บรรยากาศร่มรื่น พร้อมอุปกรณ์การออกกำลังกาย    ที่เหมาะกับทุกกลุ่มวัยต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

พภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล , มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

พรเพ็ญ เพชรสุขศิริ, มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2555). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 11. นนทบุรี: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
ขวัญหทัย ไตรพืช, พรทิพย์ มาลาธรรม, ขนิตฐา หาญประสิทธิ์คำ และวิศาล คันธารัตนกุล. (2553). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการออกกำลังกายที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. รามาธิบดีพยาบาลสาร, ปี 16 ฉบับที่ 2, 259-278.
คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติ. (2545). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
บุหลัน ทองกลีบ. (2550). บทบาทภาครัฐในการจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร.ดุษฎีนิพนธ์ หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปิยากร หวังมหาพร. (2546). นโยบายผู้สูงอายุของประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรรณี ปานเทวัญ. (2560). โมเดลเชิงนิเวศวิทยากับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก.
สำนักสถิติสังคม. (2557). รายงานสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2557. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
อัจฉรา ปุราคม. (2552). การลงทุนด้านการส่งเสริมกีฬาและออกกำลังกายเพื่อสุขภาพในประเทศไทย . สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2560, จาก http://www.rdi.ku.ac.th/kasetresearch54/GroupSocial/20- tchara_pur/tempiate.html
Hordern, MD1, D.W. Dunstan, J.B. Prins, M.K. Baker, M.A. Singh and J.S. Coombes. (2012). “Exercise prescription for patients with type 2 diabetes and pre-diabetes: a position statement from Exercise and Sport Science Australia”. J Sci Med Sport, 15(1), 25-31.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York. Harper and Row Publications
Van, R.A.J., P. Rheeder, C.J. Eales and P.J. Becker. (2004). “Effect of exercise versus relaxation on haemoglobin A1C in Black females with type 2 diabetes mellitus”. QJM, 97(6), 343-351.