แนวทางการพัฒนาวนวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว หลังเหตุการณ์ช่วยเหลือทีมหมูป่า อคาเดมี

Main Article Content

วิษณุ พนาสิทธิ์
รัตพงษ์ สอนสุภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาวนอุทยานถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวหลังเหตุการณ์ช่วยเหลือทีมหมูป่า อคาเดมี จังหวัดเชียงราย โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ สื่อพิมพ์ออนไลน์ การสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มเป้าหมายภาคส่วนที่มีบทบาทสำคัญต่อการท่องเที่ยว    ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ได้แก่ ตัวแทนจากภาครัฐ คือ หัวหน้าวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน และภาคเอกชน         คือ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาวนอุทยานถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน แบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่ 1) ส่วนแรก คือ “ไข่แดง” หรือ “บริเวณภายในวนอุทยานถ้ำหลวงฯ” แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวควรใช้ทฤษฎีการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเป็นหลัก อาจผสมผสานกับทฤษฎีการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็นบางส่วน 2) ส่วนที่สอง    คือ “ไข่ขาว” หรือ “บริเวณชุมชนรอบนอกวนอุทยานถ้ำหลวงฯ” แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวควรใช้ทฤษฎีการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนผสมผสานกับทฤษฎีการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยคำนึงถึงสภาพที่แท้จริง รวมทั้งข้อจำกัดต่าง ๆ     ของสังคมและสภาพแวดล้อมบริเวณชุมชนรอบนอกวนอุทยานถ้ำหลวงฯ เพื่อสามารถตอบโจทย์นักท่องเที่ยวแต่ละประเภทได้อย่างครบถ้วน และ 3) ส่วนที่สาม คือ “กระทะใหญ่” ซึ่งก็คือ “ระดับจังหวัด/พื้นที่อำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดเชียงราย” แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวควรใช้ทฤษฎีการจัดการท่องเที่ยวอย่างผสมผสาน/บูรณาการ ทั้งทฤษฎีการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และทฤษฎีการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงสภาพที่แท้จริง รวมทั้งข้อจำกัดต่าง ๆ ของสังคมและสภาพแวดล้อมของพื้นที่แต่ละอำเภอในจังหวัดเชียงราย เพื่อสามารถตอบโจทย์นักท่องเที่ยวแต่ละประเภทได้อย่างครบถ้วน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

วิษณุ พนาสิทธิ์ , หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

รัตพงษ์ สอนสุภาพ, หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

References

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2559). การดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้สูญหายในวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย. เอกสารสรุปผลการถอดบทเรียนภายหลังการปฏิบัติงาน (After Action Review : AAR).
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2545). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศในมุมมองของคนในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และเพ็ญศิริ ศรีคำภา. (2557). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2542). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พรพิมล ขำเพชร และรุ่งรวี จิตภักดี. (2560). ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อความยั่งยืน. เอกสารการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 7. วันที่ 24 พฤศจิกายน 2560.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พิมพา หิรัญกิตติ และคณะ.(2557). พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของนักท่องเที่ยวชาวไทย.วารสารสุทธิปริทัศน์, ปีที่ 28 ฉบับที่ 88.