การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในภาคตะวันออกของประเทศไทย

Main Article Content

อัญชลี ศรีเกตุ
ปิยะนุช เงินคล้าย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสำเร็จของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน 2) ศึกษาเงื่อนไขของความสำเร็จของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน และ 3) เสนอแนวทางในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้ประสบผลสำเร็จ ในเขตพื้นที่ 3 ชุมชน    เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้นำท้องถิ่น สมาชิกอาวุโสในท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน     ผู้ดูแลแหล่งท่องเที่ยวชุมชน เจ้าของธุรกิจให้บริการนักท่องเที่ยว ผู้ปฏิบัติหน้าที่ให้บริการนักท่องเที่ยว จำนวน 30 คน      ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์เนื้อหา        และนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของทั้ง 3 ชุมชนในภาพรวมประสบผลสำเร็จ           ในระดับสูง เมื่อพิจารณาสิ่งบ่งชี้ความสำเร็จ พบว่า มี 3 ด้าน ได้แก่ (1) จำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้ของแต่ละชุมชนเพิ่มขึ้นทุกปี นับตั้งแต่ริเริ่มจัดการท่องเที่ยว (2) สมาชิกในชุมชนพึงพอใจในการจัดการท่องเที่ยวของชุมชน โดยไม่รู้สึกว่านักท่องเที่ยวสร้างผลกระทบเชิงลบแก่ชุมชน และนักท่องเที่ยวพึงพอใจในการบริการของชุมชน  (3) การจัดการท่องเที่ยวของทั้ง 3 ชุมชน           มีมาตรฐานตามหลักการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (GSTC) ส่วนเงื่อนไขที่สนับสนุนการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้ประสบผลสำเร็จ มี 4 ด้านคือ (1) การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของประชาชน (2) บทบาทของผู้นำชุมชนและคณะกรรมการ (3) การสนับสนุน    จากเครือข่ายภายในชุมชน (4) การสนับสนุนจากเครือข่ายภายนอกชุมชน สำหรับแนวทางในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้ประสบผลสำเร็จคือ (1) ชุมชนต้องจัดการท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐานตามหลักการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก รวมทั้งต้องสร้าง          อัตลักษณ์ชุมชนของตนให้โดดเด่นและรักษาไว้ซึ่งความเป็นชุมชนท้องถิ่น (2) ชุมชนต้องจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวให้หลากหลาย และประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวชุมชนเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง (3) ผู้นำและคณะกรรมการชุมชนต้องสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะของชุมชน และ (4) ผู้นำชุมชนหรือคณะกรรมการจัดการท่องเที่ยวควรสร้างเครือข่ายภายในชุมชนและภายนอกชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

อัญชลี ศรีเกตุ , มหาวิทยาลัยรามคำแหง

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ปิยะนุช เงินคล้าย, มหาวิทยาลัยรามคำแหง

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558-2560. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2562, จาก http://www.mots.go.th
พิมพ์ระวี โรจน์รุ่งสัตย์.(2556) การท่องเที่ยวชุมชน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
วิภาดา ศุภรัฐปรีชา. (2553). ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อสังคมและวัฒนธรรมในชุมชนวัดเกตเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ การจัดการทางวัฒนธรรม ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมลักษณา ไชยเสริฐ. (2549). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจสถานีตารวจนครบาล. บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
Fong, Suk-Fun., Lo, May-Chin., Songan, Peter. And Naie,Vikneswaran. (2017). self-efficacy and sustainable rural tourism development: localcommunities’ perspectives from Kuching, Sarawak. Asia Pacific Journal of Tourism Research. 22(2), 147-159.
Goodwin, H. and Santilli, R. (2009). Community -Based Tourism. : a success?. ICRT Occasional..
Kontogeorgopoulos, Nick., Churyen, Anyway. And Duangsaeng, Varaphorn. (2014). Success Factors in Community-Based Tourism in Thailand: The Role of Luck, External Support, and Local Leadership. Tourism Planning & Development. 11(1): 106- 124.
Nitikasetsoontorn. (2015). The success factors of community-based tourism in Thailand. NIDA Development Journal. 55(2): 25-58.
Okazaki, Etsuko. (2008). A Community-Based Tourism Model: Its Conception and Use. Journal of Sustainable Tourism, 16(5), 2008, pp. 511–529.
Suriya, Komsan. (2010). Impact of Community -based Tourism in a Village Economy in Thailand: An analysis with VCGE model. Retrieved January 26, 2019. From https://ecomod.net/sites/default/files/document-conference/ecomod2010/1302.pdf.