ปัญหา อุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของคนต่างด้าว ในการบริหารจัดการอาคารชุด

Main Article Content

เจตริน นิลภา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา วิวัฒนาการ แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับกฎหมายอาคารชุด       และการบริหารจัดการอาคารชุดรวมทั้งการควบคุมการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว และศึกษาหลักกฎหมายในการบริหารอาคารชุดของคนต่างด้าวของประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา และเขตบริหารพิเศษ Special Administrative Region (SAR) ฮ่องกง รวมทั้งศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารอาคารชุดโดยคนต่างด้าว โดยเปรียบเทียบประเทศไทยและต่างประเทศ และเพื่อให้ได้แนวทางแก้ไขปัญหา ปรับปรุง และพัฒนากฎหมายอาคารชุดของประเทศไทยให้มีความเหมาะสมกับสภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของไทยในส่วนของการบริหารอาคารชุดของคนต่างด้าว การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Documentary research) เป็นหลัก โดยศึกษาจากบทบัญญัติของกฎหมาย วิทยานิพนธ์ สาระนิพนธ์ งานวิจัย คำพิพากษาของศาล เอกสารทางวิชาการ บทความ วารสารทางกฎหมาย การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า ประการแรก พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 ได้กำหนดให้คนต่างด้าวและนิติบุคคลต่างด้าวในพื้นที่ 3 จังหวัด EEC คือ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา มีสิทธิพิเศษเกี่ยวกับการซื้อห้องชุดในอัตราส่วนที่เกินกว่าร้อยละ 49 ทำให้อาคารชุดหลังนั้นคนต่างด้าวมีสิทธิในการบริหารอาคารชุด ซึ่งตามกฎหมายดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้นิติบุคคลอาคารชุดต้องเป็นนิติบุคคลต่างด้าวแต่อย่างใด ประการที่สอง ปัญหาเกี่ยวกับนิติบุคคลอาคารชุดที่เป็นนิติบุคคลต่างด้าวจะต้องดำเนินการทำธุรกรรมในการให้เช่าพื้นที่ของอาคารชุดซึ่งเป็นอาคารชุดสำนักงานอันเป็นพื้นที่ส่วนกลางตามข้อบังคับอาคารชุด       ตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 จะกระทำได้หรือไม่ และประการสุดท้าย หากนิติบุคคลอาคารชุดจะจ้างคนต่างด้าว    หรือนิติบุคคลต่างด้าวเพื่อบริหารอาคารชุด จะทำได้หรือไม่ตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2542

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

เจตริน นิลภา, มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

References

จรัญ โฆษณานันท์. (2561). นิติปรัชญา. (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จิรโชค วีระสย.(2561).“ว่าด้วยทฤษฎีการหน้าที่ประโยชน์(Functionalism) ในสังคมวิทยา”.วารสารมจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์.ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน.
วิชัย ตันติกุลานันท์. (2559). คำอธิบายกฎหมายเกี่ยวกับอาคารชุด กฎหมายคอนโดมิเนียม. (พิมพค์รั้งที่9). กรุงเทพฯ: พิมพ์อักษร.
วิวัธน์ ศรีเจริญวงศ์ และพัลลภ กฤตยานวัช. (2560). หนังสือกฎหมายอาคารชุด และการบริหารนิติบุคคล อาคารชุด.(พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มาสเตอร์ คีย์.
สยาม ลิขิตพงศธร.(2557). การขออนุญาตการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวและพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองกรณีของ“บริษัท นิฮอนวาโซอุ(ไทยแลนด์)จำกัด. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า.
สายจิตต์ พลอินทร์.(2560).ยุทธศาสตร์การพัฒนางานวิจัยเพื่อรองรับเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor).หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรประจำปีการศึกษา พุทธศักราช 2560-2561.
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค. (2553).คู่มือกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.
Jinjutha Techakumphu. (2015).LEGAL PROBLEMS INVOLVING MIXED-USE CONDOMINIUM IN ONE BUILDING.LLM.ThesisThammasart University.
Nishimura & Asahi. (2017).Real Estate Law in Japan.London : Global Legal Group Ltd.