ปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยทนายความ

Main Article Content

ชวินโรจน์ กฤตบุญไกรเลิศ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มุ่งศึกษาปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ทนายความมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ในศาล แทนคู่ความได้ทุกคดี แต่มิได้มีการกำหนดว่าทนายความนั้น        ต้องมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในคดีแต่ละประเภทอย่างไร ซึ่งคดีความต่าง ๆ มีบทบัญญัติวิธีพิจารณาความที่แตกต่างกัน ทนายความคนหนึ่ง ๆ นั้น ไม่สามารถที่จะมีความเชี่ยวชาญความเข้าใจในข้อกฎหมายครอบคลุมทุกประเภทคดีได้ ประกอบกับข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 กำหนดข้อห้ามมิให้ทนายความโฆษณาชักชวนให้ผู้มีอรรถคดีมาหา เพื่อเป็นทนายความว่าต่าง      หรือแก้ต่างให้ ทำให้ทนายความไม่สามารถบอกกล่าวถึงความเชี่ยวชาญในคดีประเภทต่าง ๆ ของตนให้ประชาชนได้รับทราบ            อันอาจส่งผลกระทบต่อผลของคดีที่ออกมาเพราะประชาชนไม่สามารถหาทนายความที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในคดีมาดำเนินคดีให้  นอกจากนั้น การทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษากฎหมาย พระราชบัญญัติทนายความ มิได้มีการกำหนดว่าบุคคลใดสามารถเป็นที่ปรึกษา           ทางกฎหมายได้จึงมีการตั้งตนเป็นที่ปรึกษากฎหมายกันอย่างแพร่หลาย ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของผู้ที่ประกอบวิชาชีพทนายความ รวมถึงมาตรฐานของการเป็นที่ปรึกษากฎหมายอันอาจทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่น และในส่วนของการจัดตั้งสำนักงานทนายความ     ซึ่งเป็นสถานที่ในการปฏิบัติงานของทนายความอันเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินการทางคดีให้กับลูกความนั้น พบว่า พระราชบัญญัติทนายความ หรือข้อบังคับของสภาทนายความ มิได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์การจัดตั้ง ควบคุม ตรวจสอบ กำกับดูแล     การดำเนินงานของสำนักงานทนายความให้ชัดเจน ก่อให้เกิดปัญหาการถูกหลอกลวง ฉ้อโกง หรือการให้คำปรึกษาในทางคดีที่ไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมาย ทำให้ประชาชนได้รับความเสียหาย

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ชวินโรจน์ กฤตบุญไกรเลิศ, มหาวิทยาลัยศรีปทุม

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

References

จิตติ ติงศภัทิย์. (2563). หลักวิชาชีพนักกฎหมาย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จินตลีย์ อุเจริญ. (2558). การกำหนดให้มีทนายความผู้เชี่ยวชาญในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์
นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายมหาชน. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชิตชัย ชินสันติ. (2556). ปัญหาการโฆษณาของวิชาชีพทนายความ ตามข้อบังคับสภาทนายความ พ.ศ.2529. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภูมิ โชคเหมาะ. (2559). แนวทางการพิจารณาคดีความผิดทางแพ่งและทางอาญาของผู้ประกอบ
วิชาชีพเฉพาะ: ศึกษากรณีวิชาชีพทนายความ และวิชาชีพแพทย์. วารสารรามคำแหง ฉบับนิติศาสตร์, ปีที่ 5 ฉบับที่ 2,111-152.
มารุต บุนนาค. (2562). วิชาว่าความและมรรยาททนายความ. พิมพ์ครั้งที่16. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน.