การระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศโดยอนุญาโตตุลาการ เปรียบเทียบประเทศสิงคโปร์และประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัญหาการนำกฎหมายต้นแบบมาใช้ในการพัฒนาการระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศโดยอนุญาโตตุลาการ การพัฒนาของกฎหมายอนุญาโตตุลาการ และการพัฒนาระบบอนุญาโตตุลาการของประเทศสิงคโปร์กับประเทศไทย เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศโดยอนุญาโตตุลาการของประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาเอกสารจากตัวบทกฎหมาย ตำราทางวิชาการ งานวิจัย คำพิพากษาฎีกา บทความจากวารสารหรือนิตยสารทางกฎหมาย ข้อมูลจากเว็ปไซด์ทางอินเตอร์เน็ตทั้งของประเทศไทยและของต่างประเทศเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศโดยอนุญาโตตุลาการ จากการศึกษาวิจัยพบว่า ประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์ มีระบบอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศที่แตกต่างกัน สาเหตุหลักที่ทำให้ทั้งสองประเทศมีระบบอนุญาโตตุลาการ ที่แตกต่างกันคือ ระยะเวลาในกระบวนพิจารณาตั้งแต่เริ่มยื่นคำร้องจนกระทั้งคณะอนุญาโตตุลาการทำคำชี้ขาด และผู้เชี่ยวชาญที่มาเป็นคณะอนุญาโตตุลาการ และประเทศที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในระบบบริหารจัดการของสถาบันอนุญาโตตุลาการอันถือได้ว่าเป็นสถาบันที่ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศอย่างมาก และมีจำนวนคดีที่เข้าสู่สถาบันมากขึ้นเรื่อยๆ คือ ประเทศสิงคโปร์ที่มีจำนวนอนุญาโตตุลาการจากหลายประเทศที่มีความชำนาญอยู่ในสถาบัน อีกทั้งประเทศสิงคโปร์นั้นได้มีการวางแผนที่สามารถสื่อให้นักลงทุนที่จะนำคดีขึ้นสู่สถาบันอนุญาโตตุลาการของประเทศสิงคโปร์นั้น เห็นได้ว่าจะใช้ระยะเวลาเพียง 3 เดือนเท่านั้น และประเทศสิงคโปร์มีการใช้ภาษาที่ดีกว่าประเทศไทย เพราะพื้นฐานเดิมประเทศสิงคโปร์ใช้ภาษาจีนและภาษาอังกฤษในการสนทนา ซึ่งนักลงทุนทางด้านการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบันมักจะมีการติดต่อค้าขายกับประเทศจีนเป็นจำนวนมาก จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้สิงคโปร์ก้าวไปไกลกว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียนในด้านของสถาบันอนุญาโตตุลาการ ประเทศไทยจึงควรนำระบบบริหารจัดการภายในสถาบันอนุญาโตตุลาการของประเทศสิงคโปร์ มาเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบอนุญาโตตุลาการให้ดียิ่งขึ้น
Article Details
References
อนันต์ จันทรโอภากร, (2538). กฎหมายอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นิติธรรม.
เสาวนีย์ อัศวโรจน์. (2545)“พรบ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 : ทางแก้ใหม่ของอนุญาโตตุลาการในประเทศไทย,” วารสารนิติศาสตร์, 32, 1-23.
หัสยา นุ่นแจ้ง. (2552). ศึกษาระบบอนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศ เปรียบเทียบ : ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.