ปัญหาการเรียกค่าจ้างว่าความและค่าตอบแทนของวิชาชีพทนายความ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการเรียกค่าจ้างว่าความและค่าตอบแทนของวิชาชีพทนายความ รวมถึงการดำเนินคดีแบบกลุ่ม นั้นเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันหรือไม่และในต่างประเทศการเรียกค่าจ้างว่าความในลักษณะแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทที่ลูกความจะได้รับตามคำพิพากษานั้นมีหลักเกณฑ์อย่างไร จากการศึกษา พบว่า กฎหมายของไทยในปัจจุบันยังไม่มีหลักเกณฑ์และกฎหมายที่บัญญัติรับรองไว้จึงทำให้เกิดปัญหา ซึ่งในต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ค่าจ้างว่าความในลักษณะแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทที่ลูกความจะได้รับตามคำพิพากษาหรือที่เรียกว่า Contingency มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนให้ใช้บังคับได้ เว้นในบางกรณี เช่น คดีที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัว คดีอาญาทุกฐานความผิด นอกจากนี้จากการศึกษายัง พบว่าค่าตอบแทนตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายแก่ทนายความที่รัฐจัดหาให้ผู้ต้องหาในคดีอาญา พ.ศ. 2550 ในชั้นสอบสวนนั้น อัตราเงินรางวัลยังไม่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันทำให้ทนายความที่มีประสบการณ์ขาดแรงจูงใจเข้ามาทำหน้าที่ ประกอบกับระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการจ่ายค่าป่วยการแก่ที่ปรึกษากฎหมาย ในชั้นสอบสวนในคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2560 ได้กำหนดอัตราค่าป่วยการในการปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะเหมาเป็นรายวันมิใช่เป็นรายคดีเช่นเดียวกันกับเงินรางวัลประเภทอื่น ๆ ทำให้ที่ปรึกษากฎหมายที่รับผิดชอบคดีเป็นจำนวนมากเกิดการเปรียบเทียบและขาดแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ ดังนั้น ควรแก้ไขเพิ่มเติมอัตราเงินรางวัลและค่าตอบแทนดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นค่าตอบแทนเป็นรายคดี
Article Details
References
ทินพันธุ์ นาคะตะ และคณะ. (2559). รายงานของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เรื่องการปฏิรูปทนายความอาสา ทนายความขอแรงและที่ปรึกษากฎหมายของเด็กหรือเยาวชน. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2562, จาก https://www.parliament.go.th/ ewtadmin/ewt/parliament_parcy/
download/ usergroup_disaster/3-5.pdf.
วนิดา มีศรี. (2558). การกำหนดค่าทนายความตามผลคดี. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายเอกชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วุฒิ พิทักษ์ธานิน. (2555). ปัญหาระบบทนายความขอแรงในคดีอาญา: ศึกษาเฉพาะกรณี ศาลจังหวัดราชบุรี. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม.
สุพิศ ประณีตพลกรัง. (2558). การดำเนินคดีแบบกลุ่ม. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
สุวิทย์ สุวรรณ. (2540). การประกอบวิชาชีพกฎหมายในต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: สภาทนายความ.
เสรี สุวรรณภานนท์. (2546). ปัญหาการจ้างว่าความที่ไม่แน่นอน. กรุงเทพฯ: พิมพ์อักษร.
อนันต์ ช่วยนึก. (2553). บทความปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการเรียกค่าตอบแทนการจ้างว่าความในการฟ้องคดีแบบกลุ่ม.วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 9 (2), 61-71.
iLaw. (2561). ร่างพ.ร.บ.ระเบียบราชการศาลยุติธรรม: แก้ไขกฎหมายชัดขึ้นให้ผู้พิพากษาบริหารกำหนดเบี้ยประชุม. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2562, จาก : https://www.ilaw.or.th/ node/4983.