การศึกษารูปแบบองค์กรรัฐวิสาหกิจที่แปรสภาพสู่การเป็นองค์การมหาชน

Main Article Content

ศุภชัย เหมือนโพธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบองค์กรประเภทต่างๆ ตามบทบาท และภารกิจของภาครัฐ 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคขององค์กรรัฐวิสาหกิจที่เปลี่ยนเป็นองค์การมหาชน และ 3) ศึกษาผลกระทบเชิงบวก และผลกระทบเชิงลบการแปรรูปสู่การเป็นองค์การมหาชน การศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ 1) การศึกษารูปแบบองค์กร 2) การอบรมให้ความรู้การแปรสภาพสู่การเป็นองค์การมหาชน และ 3) การสังเคราะห์ผลการศึกษารูปแบบองค์กรรัฐวิสาหกิจที่แปรสภาพสู่การเป็นองค์การมหาชน โดยใช้วิธีการเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)        โดยประชุมเชิงปฏิบัติการ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานในรูปแบบขององค์การมหาชน คือ สามารถดำเนินงานต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและคล่องตัวกว่าส่วนราชการอื่นๆ เนื่องจากมีรูปแบบการบริหารคล้ายกับภาคเอกชน โดยมีคณะกรรมการเป็นผู้ควบคุมดูแล ซึ่งคณะกรรมการมีความเป็นอิสระพอสมควร สามารถกำหนดระเบียบข้อบังคับ การจัดโครงสร้างการดำเนินงาน การจัดการภายในองค์กร ตลอดจนการบริหารงบประมาณได้    โดยมีรัฐเป็นผู้ตรวจสอบ รูปแบบองค์กรที่เป็นหน่วยราชการ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานของรัฐในรูปแบบใหม่ 2) การปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์กรรัฐวิสาหกิจ       ไปเป็นองค์การมหาชน ประเด็นสำคัญที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการปรับเปลี่ยนองค์กรได้แก่ การยอมรับของบุคลากร     ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบหลัก และปัจจัยที่สำคัญยิ่งในการปรับเปลี่ยนองค์กร อาทิ เรื่องค่าจ้าง สัญญาจ้าง สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ รวมถึงความรู้สึกมั่นคงในอาชีพ 3) ผลกระทบเชิงบวก องค์การมหาชนมีอำนาจตัดสินใจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดภายในองค์กรนั้นๆ จึงมีความคล่องตัวในการดำเนินงานมากกว่า มีความยืดหยุ่นมากกว่า สามารถตอบสนองภารกิจของรัฐได้รวดเร็วกว่ารัฐวิสาหกิจ และมีความเป็นอิสระในการกำหนดระเบียบข้อบังคับ การจัดโครงสร้างการดำเนินงาน การจัดการภายในองค์กร ตลอดจนการบริหารงบประมาณ ส่วนผลกระทบเชิงลบ ในการปรับเปลี่ยนเป็นองค์การมหาชน จะทำให้มีประเด็นเกี่ยวกับการบริหารอัตรากำลังเดิม เข้าสู่อัตรากำลังของโครงสร้างและหน่วยงานใหม่       ซึ่งอาจจะเกิดการเหลื่อมกันระหว่างอัตรากำลังเดิม

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ศุภชัย เหมือนโพธิ์ , ภาควิชาการตลาดและโลจิสติกส์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ภาควิชาการตลาดและโลจิสติกส์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

References

กษม ชนะวงศ์ และคณะ. (2560). การแปรรูปรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย กรณีศึกษาโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง. วารสารการบริหารท้องถิ่น. 10(1): 54 - 63.
ไทยมณี ไชยาฤทธิ์. (2561). การจัดการองค์กรภาครัฐเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม. วารสาร มจร นครน่านปริทรรศน์. 2(2): 1 - 12.
ธีรพัฒน์ อังศุชวาล. (2548). องค์การมหาชน: ผลผลิตจากการปฏิรูประบบราชการตามแผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการ (พ.ศ. 2540-2544). สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2561,จาก http://public-law.net/publaw/view.aspx?id=1637.
พระครูโกศลวชิรกิจ และพิษณุ บุญนิยม. (2559). แนวคิดการปฏิรูประบบราชการในประเทศไทย. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม. 3, 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม): 13 – 24.
สมาน รังสิโยกฤษฎ์ และสุธี สุทธิสมบูรณ์. (2544). หลักการบริหารเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ลักษณ์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2558). หลักการจำแนกประเภทหน่วยงานภาครัฐในการกำกับของฝ่ายบริหาร. กรุงเทพมหานคร: ก.พ.ร.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2558). วาระปฏิรูปพิเศษ 7: การปฏิรูปองค์การมหาชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
Krejcie,R.V; & Morgan,D.W. (1970). "Determining sample size for research activities", Educational and Measurement, 30: 607 - 610.