การยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือและพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการสั่งอาหารผ่านทางแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง

Main Article Content

อนาวิล ศักดิ์สูง
อัศนีย์ ณ น่าน
ฑัตษภร ศรีสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือและพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่ส่งผลต่อ                การเลือกใช้บริการสั่งอาหารผ่านทางแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริโภคที่ใช้และเคยใช้บริการสั่งซื้ออาหารผ่านแอปพลิเคชัน ได้แก่ Grab food และ Food Panda ในจังหวัดลำปาง จำนวน 347 คน        โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ                      การวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือของผู้บริโภคในจังหวัดลำปางโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการรับรู้ประโยชน์การใช้งานมีค่าเฉลี่ยในระดับสูงสุด รองลงมาด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน และด้านการรับรู้ความเข้ากันได้                   2) พฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ในการเลือกใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในจังหวัดลำปางโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านอารมณ์ออนไลน์ในการใช้งานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาด้านประสิทธิภาพของสารสนเทศ และด้านบันเทิงออนไลน์ 3) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือด้านการรับรู้ความเข้ากัน พฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ ด้านความบันเทิงออนไลน์  ด้านอารมณ์ออนไลน์ และด้านประสิทธิภาพสารสนเทศมีผลต่อการเลือกใช้บริการสั่งอาหารผ่านทางแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยร่วมกันพยากรณ์          การเลือกใช้บริการสั่งอาหารผ่านทางแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง คิดเป็นร้อยละ 55.0 พฤติกรรมการยอมรับเทคโนโลยีมือถือของผู้บริโภคออนไลน์เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการควรตระหนักและให้ความสำคัญ ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจโลก         อีกทั้งผู้บริโภคและร้านค้าปลีกสามารถนำไปใช้ในการดำเนินงานเนื่องจากสะดวก คุ้มค่า และมีประสิทธิภาพ โดยใช้อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อเสมือนจริงที่ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถโต้ตอบ แสดงความคิดเห็น และเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

อนาวิล ศักดิ์สูง, หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเนชั่น

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเนชั่น

อัศนีย์ ณ น่าน , หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเนชั่น

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเนชั่น

ฑัตษภร ศรีสุข , หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเนชั่น

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเนชั่น

References

กรรณิการ์ โพธิ์ศรี. (2559). ผลกระทบของวัฒนธรรม สื่อสังคม และพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่มีต่อการตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยวของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร . ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
จิดาภา ทัดหอม (2558) . การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ความไว้วางใจและคุณภาพของระบบสารสนเทศที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของผู้บริโภคออนไลน์ในกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ณรงค์ศักดิ์ ปลอดมีชัย. (2562). การเติบโตของตลาดฟู้ด เดลิเวอรี. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2563, จาก https://www.posttoday.com/finance-stock/columnist/602101.
ณัฎฐนันท์ พิธิวัตโชติกุล (2558). การยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และ พฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร . ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
นธกฤต วันต๊ะเมล์. (2557). การสื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ: ภาควิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วรรณิกา จิตตินรากร (2559). การยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วิริยาภรณ์ เตชะกฤตธีรพงศ์ (2558) .ปัจจัยการยอมรับการใช้งานเทคโนโลยีการทำงานร่วมกันของบุคลากรในองค์การ. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สิทธิชัย ภูษาแก้ว (2560). ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ Grab ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร .ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สุทินา หิรัญประทีป. (2558). ประสิทธิผลของการสื่อสารการตลาดออนไลน์สำหรับกลุ่มเยาวชนของธุรกิจดนตรีในประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สุรพล อิสรไกรศีล. (2563).“ราชบัณฑิตบัญญัติศัพท์ New normal ใช้ทับศัพท์ “นิวนอร์มัล” หรือ ความปรกติใหม่,” สืบค้นเมื่อว้นที่ 20 สิงหาคม 2563, จาก https://workpointtoday.comราชบัณฑิตบัญญัติศัพท์-new-normal.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2559). “รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของประเทศไทย ปี 2558”. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2563,จาก https://www.etda.or.th/publishing-detail/thailand-internet-user-profile-2015-th.html.
อัครเดช ปิ่นสุข. (2557). การยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ คุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประสมการตลาดในมุมมองของลูกค้าที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ (E-satisfaction) ในการจองตั๋วภาพยนตร์
ออนไลน์ผ่านระบบแอพพลิเคชั่นของผู้ใช้บริการในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Jirayu Limjinda. (2019). เมื่อคนไทย “ติดมือถือ” มากเป็นอันดับหนึ่งของโลก. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2563, จาก https://medium.com/@jir4yu.
Ooi, K.B. and Tan, G. W. H. (2016). Mobile technology acceptance model: an investigation using mobile users to explore smartphone credit card. Journal of Expert systems
with application. 59, 33-46.
Richard, M. O., & Chebat, J. C. (2016). Modeling online consumer behavior: Preeminence of emotions and moderating influences of need for cognition and optimal stimulation level. Journal of Business Research, 69, 541–553
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row Pub.