กระบวนการเรียนรู้ในการสืบทอด พัฒนา การทอผ้าไทยพวน: กรณีศึกษา จังหวัดนครนายก

Main Article Content

ศุภกิจ สุขประเสริฐ
ปัทมา เจริญพร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนไทยพวนในเรื่องการทอผ้าไทยพวน และเพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้ในการสืบทอด พัฒนา และต่อยอดคุณค่าทางวัฒนธรรมการทอผ้าไทยพวน ของอำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก โดยจัดเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างประชากรชาวไทยพวนที่อาศัยอยู่ที่ จ.นครนายก จำนวน 400 คนโดยและผู้ชำนาญในการทอผ้าไทยพวน จำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน ส่วนการวิเคราะห์ผลการวิจัยนั้น ใช้วิธีเชิงพรรณนาในการอธิบายผลการวิจัยที่เกิดขึ้นผลการวิจัยพบว่า การสืบทอด ภูมิปัญญาการทอผ้าไทยพวนของชุมชนปากพลี เริ่มตั้งแต่สมัยปู่ ย่า ตายาย ของชุมชนคนไทยพวนบ้านใหม่โดยมีหลักฐานการใช้เครื่องมือที่หลงเหลืออยู่ ต่อมาได้มีการใช้พื้นที่วัดฝั่งคลองเป็นที่ฝึกสอนโดยได้รับงบประมาณจาก  กศน. อ.ปากพลี ร่วมกับศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดนครนายก มีสมาชิกมาเรียนที่วัดฝั่งคลอง ประมาณ 25 คน ปัญหาของการสืบทอดการเรียนรู้การทอผ้าไทยพวนนั้น เนื่องจากกลุ่มผู้สืบทอดเป็นผู้สูงอายุจึงทำให้การถ่ายทอดไปยังกลุ่มเยาวชนยังไม่ดีเท่าที่ควร อีกทั้งยังขาดผู้สืบทอดที่เป็นกลุ่มเยาวชน ขาดการส่งเสริมจากหน่วยงานต่างๆ ทำให้ยากต่อการสืบทอดมรดกการทอผ้าไทยพวน จากผลการวิจัยพบว่า การศึกษากระบวนการเรียนรู้ในการสืบทอด พัฒนาคุณค่าทางวัฒนธรรมการทอผ้าไทยพวนของอำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก มีการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชวัดฝั่งคลอง โดยการสร้างศูนย์ได้รับการสนับสนุนจากจังหวัดนครนายก และมีการส่งเสริมการสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมของคนพวนในพื้นที่ของนครนายกเอาไว้ อีกทั้งยังมีการสร้างพิพิธภัณฑ์โดยมีพื้นที่จัดแสดง       ห้องประชุม และมุมห้องสมุด ซึ่งเปิดให้ประชาชนที่สนใจเข้ามาศึกษาค้นคว้า และการนำเสนอถึงวิถีชีวิตของไทยพวนตั้งแต่ การสร้างบ้าน ที่อยู่อาศัย(อยู่ดี) , การทำมาหากิน อาหาร (กินดี) , การละเล่น เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กานดา เต๊ะขันหมาก.(2553). กระบวนการเรียนรู และสืบทอดภูมิปญญาการทอผามัดหมี่ ของผูทรงภูมิปญญาไทยพวนบานหินปก อําเภอบานหมี่ จังหวัดลพบุรี. สำนักคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สํานักงาน. (2545). รายงานการวิจัยเรื่องแนวทางการส่งเสริมภูมิปัญญาไทยในการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ : สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
สาวิตรี สุวรรณสถิต. (2550). สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 21 ศิลปะการทอผ้าพื้นเมือของไทยในปัจจุบัน. กรุงเทพ : สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
สุมาลย์ โทมัส.(2525). ผ้าพื้นเมือง. กรุงเทพ : สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แสงดา บันสิทธิ์.(2530),บ้านไร่ไผ่งามของป้าแสงดา. มติชนสุดสัปดาห์. วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม 2530 ฉบับที่ 357
อุดม สมพร. (2540). ผ้าจกไทยวน ราชบุรี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์
เอื้อมพร หลินเจริญ. (2554). การพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ เรื่องการศึกษาชุมชนเพื่อสืบค้นองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม:พิษณุโลก. DOI : https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/PSRU.res.2011.3
Neuman, W. L. (2006). Social Research Methods: Qualitative and Quantitative Approaches. 6th ed. Boston: Pearson.