ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการผิดนัดชำระหนี้ กรณีศึกษาบริษัท สุพรีม สามเสน จำกัด

Main Article Content

ชนากานต์ ปานถนอม
สุมาลี รามนัฏ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัท สุพรีม สามเสน จำกัด ปัจจัยการผิดนัดชำระหนี้ประกอบด้วยปัจจัยภายนอก ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านนโยบายรัฐ และด้านเหตุการณ์ไม่คาดคิด และปัจจัยภายในได้แก่ ด้านองค์กรและด้านการรับชำระหนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ ลูกหนี้การค้าของบริษัท สุพรีม สามเสน จำกัด จำนวน 110 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา เท่ากับ 0.829 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานการวิจัยโดยใช้สถิติการทดสอบที (One-way analysis of variance) และการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม (Multiple Comparison) โดยวิธี Least Significant Difference (LSD) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัท สุพรีม สามเสน จำกัด เมื่อพิจารณาในภาพรวมและรายด้าน ปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบ ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านนโยบายรัฐ ด้านเหตุการณ์ไม่คาดคิด และปัจจัยภายในที่มีผลกระทบ ได้แก่ ด้านองค์กรและด้านการรับชำระหนี้ เมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลจะมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กานต์พิชชา กองคนขวา. (2561). มูลเหตุการค้างชำระหนี้ในระบบ: กรณีศึกษาเกษตรกรในจังหวัดพะเยา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 39(1), 1-21.
ธนิดา ตันติอาภากุล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผิดนัดชำระหนี้สินเชื่ออุปโภคของธนาคารพาณิชย์ และบริษัทที่ประกอบธุรกิจ แต่มิใช่สถาบันการเงินในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิยะมาศ หน่อนาค และอนุฉัตร ช่ำชอง. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดหนี้ค้างชำระสินเชื่อสวัสดิการข้าราชการตำรวจของธนาคารออมสินเขตเชียงราย. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ปรารถนา เชียงส่ง, กัสมา กาซ้อน และวัฒนา ยืนยง. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารลูกหนี้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของธุรกิจเช่าซื้อในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 11(3), 353-359.
รัชดาภรณ์ บุญวงศ์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการค้างชำระหนี้เงินกู้ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรกระบุรีจำกัดจังหวัดระนอง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วนิดา วังเฮงยะฤทธิ์. (2557). การประเมินประสิทธิผลการควบคุมภายในด้านการบริหารลูกหนี้ บริษัท AAA จำกัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
วิชญ์พล คุ้มกัน และกุลบุตร โกเมนกุล. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผิดนัดชำระหนี้กรณีศึกษาในกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจ SMEsในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสุรนารีสายสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์, 13(1), 105-125.
วีนา อายุเคน และวิโรจน์ เจษาลักษณ์. (2560). การดำเนินตามมาตรฐานการให้สินเชื่อและการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย สาขานครปฐม. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1), 952-975.
ศุภภร อิ่มสุข. (2561). การศึกษามูลเหตุของการค้างชำระหนี้เงินกู้ของลูกค้าธนาคารในจังหวัดพะเยา. การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สาวินี เพ็งธรรม และศิวฤทธิ์ สุนทรเสณี. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหนี้ค้างชำระสินเชื่อธนาคารประชาชนของธนาคารออมสินเขตชัยภูมิ. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
อาริษา โพชนุกุล. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการผิดชำระหนี้บัตรสินเชื่อเกษตรกร ธ.ก.ส. สาขาระโนด จังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Yamane, T. (1997). Taro Statistic. An Introductory Analysis. New York: Harper & row.