ศึกษากฎหมายทำแท้งกับสิทธิสตรีตามกฎหมายไทย

Main Article Content

ชูเดช พันทวี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับสิทธิสตรีและแนวคิดเกี่ยวกับการทำแท้งเสรีของประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับบทบัญญัติของกฎหมายที่มีผลใช้บังคับของประเทศไทยในปัจจุบัน เพื่อสะท้อนให้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทยปัจจุบันเกี่ยวกับสิทธิสตรีและการทำแท้งตลอดจนเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อให้การทำแท้งนั้นสามารถทำได้อย่างเสรีมากขึ้นและเพื่อปรับปรุงแก้ไขกฎหมายไทยให้พัฒนายิ่งขึ้น ผลการศึกษาพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันส่วนใหญ่มาจากวัยรุ่นและวัยทำงานโดยมีปัจจัยของความไม่พร้อมทางด้านเศรษฐกิจและสังคมเป็นหลัก ปัจจัยรองจะเป็นปัญหาทางด้านสุขภาพทางร่างกายและทางจิตใจและปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือปัญหาต่อสุขภาพของทารกที่อยู่ในครรภ์ของหญิงซึ่งมีสภาพผิดปกติหรือไม่สมบูรณ์ หากปล่อยให้คลอดมา ย่อมส่งผลกระทบต่อหญิงนั้นในหลายๆ ด้าน เช่น ค่าใช้จ่ายในการรักษาและส่งเสียเลี้ยงดูบุตรที่ผิดปกติ สภาพจิตใจของมารดาที่ต้องทนเห็นความทุกข์ทรมานของบุตรซึ่งถือเป็นเหตุผลที่จำเป็นอย่างยิ่ง แต่หากพิจารณาถึงบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญาที่มีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันนั้นได้กำหนดเหตุยกเว้นที่สามารถทำแท้งได้เพียงแค่ 2 เหตุเท่านั้น ซึ่งมิได้ครอบคลุมถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาการพยายามทำแท้งด้วยตนเองหรือทำแท้งเถื่อนขึ้นแต่อย่างใด และยังถือได้ว่าเป็นการไม่เคารพละเมิดต่อสิทธิมนุษยชนของสตรีอีกด้วยหากรัฐไม่ดำเนินการแก้ไขปัญหาหรือหามาตรการในการช่วยเหลือสตรีซึ่งอยู่ในสภาวะที่จำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น จึงสมควรปรับปรุงแก้ไชประมวลกฎหมายอาญาให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โคทม อารียา. (2554). การทำแท้ง: ทางเลือกที่ควรผ่อนผัน. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2563,จาก www.polsci.cjula.ac.th/sumonthip/devian-abor.html.
ณัฏฐณิชา อเนกสมบูรณ์ผล. (2563). กฎหมายการทำแท้งของประเทศอังกฤษ. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2563, จากwww.scribd.com/doc/43584942/Abortion.
ปิยะบุตร แสงกนกกุล. (2558). บทความเรื่อง 30 ปี กฎหมายทำแท้งเสรีในฝรั่งเศส. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2563, จาก https://www.public-law.net/publaw/view.aspx?id=674.
ภิรัชญา วีระสุโข. (2554). มโนทัศน์สิทธิสตรีคือสิทธิมนุษยชน. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2563, จาก https://www.gotoknow.org/posts/420022.
เลอเกียรติ คำประดิษฐ์. (2562). Induced Abortion ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา 29.สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2564, จาก https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/index.php?option=com_content&view=article
&id=1539:induced-abortion-n&catid=45&Itemid=561.
สำนักอนามัยเจริญพันธุ์. (2558). รายงานเฝ้าระวังการทำแท้งประเทศไทย พ.ศ. 2556. สืบค้นเมื่อวันที่ 1ธันวาคม 2563, จาก https://rh.anamai.moph.go.th/th/surveillance-report/2506#wow-
Book.