การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าม่อห้อม กลุ่มม่อห้อมโบราณย้อมมือ บ้านบ่อแฮ้ว ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

Main Article Content

ชัญญานุช แซ่ตั้ง
บุรินทร์ รุจจนพันธุ์
ภัชรชาติ ทูรวัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ได้รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับกลุ่มม่อห้อมย้อมมือแบบโบราณบ้านบ่อแฮ้วที่ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าม่อห้อมด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ศึกษากลยุทธ์ทางการตลาด และปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สะท้อนอัตลักษณ์ล้านนา วิธีดำเนินการโดยทบทวนวรรณกรรม วิเคราะห์ประเด็นด้วยส่วนประสมทางการตลาด เสวนากลุ่มย่อย ศึกษาดูงาน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีอัตลักษณ์ล้านนา แล้วประยุกต์ออกแบบผลิตภัณฑ์ และถ่ายทอดความรู้ เรียนรู้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าม่อห้อมแพร่ ทำให้กลุ่มได้รับการพัฒนาในมิติทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมมาสร้างเป็นสัญลักษณ์ ประยุกต์ใช้การออกแบบเสื้อ ชุด กระเป๋า ของที่ระลึกและตุ๊กตา สนับสนุนให้กลุ่มมีทักษะการออกแบบด้วย JK-Weave และการวาดให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค เกิดสินค้าแบรนด์ม่อห้อมเป็นสินค้าโอท็อปที่สร้างสรรค์ ผลการเปลี่ยนแปลง พบว่า เกิดการพัฒนากลุ่ม ถูกยอมรับจากชุมชน สนับสนุนจากอบต. เผยแพร่ในเว็บไซต์สื่อมัลติมีเดีย และสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยเนชั่นด้วยการรณรงค์สวมชุดพื้นเมืองทุกวันศุกร์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2538). รูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไทย. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2564,จาก http://www.openbase.in.th/node/5409.
เกษม จันทร์แก้ว. (2525). หลักการสิ่งแวดล้อมศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จรุงยศ อรัณยะนาค. (2561). การออกแบบตราสินค้าและเว็บไซต์อย่างมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างยั่งยืน. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 15(1), 1-12.
ฑัตษภร ศรีสุข, อดิศักดิ์ จำปาทอง, ชรัสนันท์ ตาชม.(2561). แนวทางการพัฒนาการตลาดการท่องเที่ยวและห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีน่านแบบบูรณาการ. วารสารสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 313-330.
ทวี ทองสว่าง และทัศนีย์ ทองสว่าง. (2523). การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บทที่1 การพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ธนกฤต แก้วพิลารมย์. (2559). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทกระเป๋าสำหรับสุภาพสตรีจากผ้าหม้อห้อมด้วยการทอแบบลายสอง.วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ์, 20 (1), 80–87.
ธีระวุฒิ อินจันทร์, ชัยยันต์ เมธานุวัฒนเดช, รัฐศาสตร์ ทองสุข และพรพิพัฒน์ เจนธรรมคุณ. (2554). ผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อมในจังหวัดแพร่.วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 6(1), 91-111.
ประภาศรี ถนอมธรรม. (2561). การพัฒนาการผลิตผ้าฝ้ายย้อมโคลนของกลุ่มผู้ผลิตผ้าฝ้ายในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชัยภูมิ.วารสารสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4 (2), 271-282.
ปวินท์รัตน์ แซ่ตั้ง. (2556). การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอย้อมสีธรรมชาติ ผ่านกระบวนการย้อมสีธรรมชาติโดยการใช้สารช่วยย้อม จากน้ำพุร้อนแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง.วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 1(1), 9-22.
เผ่าภิญโญศ์ ฉิมพะเนาว์. (2551). การออกแบบลายทอผ้าด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ JK-Weave. เชียงใหม่ : หจก.วนิดาการพิมพ์.
รจนา ชื่นศิริกุลชัย. (2557). การสร้างนักออกแบบกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ให้มีความเป็นอัตลักษณ์ล้านนาต่อการพัฒนาแฟชั่นในระบบเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์.วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 2(2),141-152.
ศุภชัย เหมือนโพธิ์ และธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ. (2561). การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชน ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์.วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 10(1), 131-144.
สมบูรณ์ ธรรมลังกา. (2556). รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานในจังหวัดเชียงราย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(2), 58-66.
สุกัญญา ดวงอุปมา. (2557).แนวทางการพัฒนาศักยภาพที่ดีของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดกาฬสินธุ์.วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 2(2), 133-139.
อัญชลีพร ใจสิทธิ์ และจุฑาทิพย์ เฉลิมผล. (2561).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จของเกษตรกรในการผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือในบ้านดอนหลวงตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 6(3), 623-630.