การจัดการในภารกิจพิเศษของซีลประจำการ จากกรณีปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัย ถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน

Main Article Content

ปิยะ มาตขาว
รัตพงษ์ สอนสุภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษากระบวนการวางแผนของภารกิจพิเศษของซีลประจำการ เพื่อช่วยเหลือทีมหมูป่าอคาเดมี ในอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วยการศึกษาค้นคว้าข้อมูลข่าวสารจากเอกสารทางวิชาการ รวมไปถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการว่าด้วยกระบวนการวางแผนของภารกิจพิเศษซีลในภารกิจค้นหาภายในถ้ำ ได้แก่ 1) ผู้บังคับบัญชาหน่วยซีล 2) หน่วยซีลที่เป็นผู้ปฏิบัติงานภาคสนามที่มีบทบาทสำคัญ และ 3) ตัวแทนจากหน่วยงานอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้น ทำการวิเคราะห์ โดยอาศัยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ อ่านผล ตีความ และหาข้อสรุปเปิดเผยแทนข้อเท็จจริง ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการจัดการในภารกิจพิเศษของซีลประจำการ จากกรณีปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน สามารถสรุปได้ 3 ประการ ได้แก่ 1) กระบวนการจัดการภารกิจพิเศษในการจัดกำลังพลแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนบังคับการ ส่วนปฏิบัติการ และส่วนสนับสนุน  2) การจัดการของหน่วยนั้น ทีมเป็นสิ่งสำคัญในการเข้าช่วยเหลือ เป็นการวางแผน ในการมองถึงภารกิจในเป้าหมายเป็นหลัก ตระหนักถึงมาตรฐานความปลอดภัย มีการปลุกขวัญกำลังใจกำลังพลให้มีความพร้อมอยู่เสมอ และมีแผนในการรับฟังความคิดเห็นหน่วยข้างเคียงและจิตอาสาที่มาช่วยในภารกิจ การวางแผนการจัดการนั้นมองถึงภารกิจเป็นสำคัญ ทุกหน่วยงานมีการวางแผนร่วมเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ มีการซักซ้อมขั้นตอนการปฏิบัติ การศึกษาอุปสรรคแล้วนำมาปรับปรุงให้งานเดินต่อได้ 3) กระบวนการวางแผนของผู้นำในระดับต่าง ๆ ของ “ซีลในราชการ” ในหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ ในปฏิบัติการช่วยเหลือ 13 ชีวิตของทีมหมูป่า อคาเดมี ที่ติดอยู่ในถ้ำหลวง สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีเรื่องการวางแผนและการบริหารตามวงจรเดมมิ่ง ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติ การตรวจสอบ และการดำเนินงานให้เหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทองทิพภา วิริยะพันธุ์. (2553). การบริหารทีมงานและการแก้ปัญหา. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
ศักดิ์ชัย มูลชอบ. (2545). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนในสถานีตำรวจ สังกัด
ตำรวจภูธรจังหวัดจันทบุรี และตำรวจภูธรจังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญา
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
สมคิด บางโม. (2544). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
สุเทพ เชาวลิต. (2556). การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.
Deming, W. E. (1986). Out of the Crisis. MIT Center for Advanced Engineering Study, Cambridge University .