การตัดสินใจใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในจังหวัดภูเก็ต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติในการยอมรับการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ 2) ศึกษาปัจจัยหรือเหตุผลในการตัดสินใจลงทุนติดตั้งโซลาร์รูฟภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ และ 3) เพื่อเป็นแนวทางของการวางแผน และประกอบการตัดสินใจในการพัฒนาการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานทดแทนของจังหวัดพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 5 คนเป็นตัวแทนจากภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตระหว่างวันที่ 1 มีนาคม -5 มิถุนายน 2564 ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนทั้งภาคธุรกิจและภาคเอกชนมีทัศนคติในทางบวกต่อการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ โดยประชาชนเห็นประโยชน์การจากเปลี่ยนมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการลดการพึ่งพาโรงไฟฟ้าและเป็นการลดค่าใช้จ่ายลงได้จริง แต่ปัจจัยหรือเหตุผลในการตัดสินใจ คือ การลงทุนติดตั้งครั้งแรกที่ยังมีราคาแพงและข้อกังวลในเรื่องการบริการหลังการขายของบริษัทที่รับติดตั้งและนโยบายที่ไม่ชัดเจนและไม่ต่อเนื่องของภาครัฐ ส่วนแนวทางในการพัฒนาการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานทดแทนของจังหวัดนั้นมีศักยภาพมากพอที่จะพัฒนาควบคู่ไปกับสมารท์ซิตี้ แต่ต้องอาศัยความร่วมมือที่ดีระหว่างภาครัฐ และเอกชนที่อาจจะดำเนินการอย่างมีส่วนร่วมทั้งระบบ ข้อเสนอแนะคือ ควรเพิ่มศึกษาแหล่งเงินทุนกู้ยืมที่ให้อัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อกระตุ้นให้ภาคเอกชนและภาคครัวเรือนสามารถเข้าถึงการใช้ไฟฟ้าในยามฉุกเฉินได้ ในการศึกษาครั้งต่อไปควรทำการศึกษาว่าอัตรารับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินที่เหมาะสมควรเป็นเท่าไร เพื่อหาอัตราการรับซื้อไฟฟ้าหรือวิธีการรับซื้อที่ทำให้สังคมโดยรวมได้ผลประโยชน์มากที่สุด
Article Details
References
ธนาพล ตันติสัตยกุล. (2558). การประเมินมาตรการสนับสนุนทางการเงินสำหรับระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาที่พักอาศัยในประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23 (4), 605-621.
บางจากโซลาร์เอ็นเนอร์ยี. (2554). บางจากฯลุยโครงการพลังงานแสงอาทิตย์เต็มสูบ ตั้งงบลงทุนกว่า 5 หมื่นล้าน. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2564, จาก https://mgronline.com/business.
สำนักงานจังหวัดภูเก็ต. (2564). แผนพัฒนาจังหวัดภูเก็ต ปี พ.ศ. 2566-2570. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2564, จาก https://ita.phuket.go.th/assets/upload/O4.pdf.
ศูนย์ข่าวพลังงานภาคใต้. (2563). รายงานการใช้กระแสไฟฟ้าภาคใต้ ปี 2562. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.energynewscenter.com/.
สุภาพร สิทธิโกศล และคณะ. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ของประชาชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8 (4).
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ. (2564). แผนแม่บทพลังงาน. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564, จาก http://www.eppo.go.th.