ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มี ส่วนได้เสียสาธารณะของผู้ทำบัญชีในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจมาตรฐานรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (TFRS for NPAEs) ของผู้ทำบัญชีในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (TFRS for NPAEs) ของผู้ทำบัญชีในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเก็บข้อมูลด้วยเครื่องมือแบบสอบถาม จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 220 คน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะในระดับปานกลาง และปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และชั่วโมงการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพมีความสัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจมาตรฐานรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (TFRS for NPAEs) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาทำให้พบว่า ผู้ทำบัญชีควรพัฒนาความรู้ความเข้าใจของตนเองอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะมาตรฐานบัญชีที่ยังมีระดับความรู้น้อย ทั้งการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มผู้ทำบัญชีที่จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เจ้าของกิจการหรือหัวหน้าของผู้ทำบัญชีควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ทำบัญชีเข้ารับการอบรมสัมนา รวมทั้งสภาวิชาชีพบัญชีฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดหลักสูตรอบรมโดยเฉพาะทั้งภาคทฤษฎีและการปฏิบัติมีการจัดทำคู่มือเพิ่มเติมหรือตัวอย่างประกอบในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน และการจัดอบรมหลักสูตรออนไลน์
Article Details
References
เกศรา สุพยนต์. (2554). ความรู้ความเข้าใจและความคิดเห็นของนักบัญชีเกี่ยวกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรังสิต.
จตุพร บัวหลวง, สุบรรณ เอี่ยมวิจารณ์ และวราพร เปรมพาณิชย์นุกูล. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาวิชาชีพบัญชีและความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในจังหวัด
อุบลราชธานี. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 7(1), 128-137.
นฤนาถ ศราภัยวานิช, มนทิพย์ ตั้งเอกจิต สุวรรณา เลาหะวิสุทธิ์, ดุลยา สุขถมยา. (2561). ความรู้ความเข้าใจของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีเกี่ยวกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับ
กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ. 9(1), 137-152.
นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะและศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2561). การปฏิบัติตามมาตรฐานบัญชี NPAEs (Conformity with TFRS for NPAEs). กรุงเทพฯ : ทีพีเอ็น เพรส.
มัทชัย สุทธิพันธ์ และคณะ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจในมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะและคุณภาพในการปฏิบัติงานของนัก
บัญชีไทย : กรณีศึกษาจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์. 36(142).40-51.
วรรษมน ทองรักษ์. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความน่าเชื่อถือของงบการเงินของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในมุมมองนักวิเคราะห์สินเชื่อ. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต
สาขาการบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
รินทร์ลภัส ชัยหิรัญกิตติ, ปวีณา คำพุกกะ. (2563). ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะของนักบัญชี. วารสารบริหารศาสตร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 9(1), 86-104.
สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2554). มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2561, จาก
http://www.tfac.or.th/upload/9414/e8cXTzUL59.pdf
สุธาทิพย์ บุญเรือง, ปรีชา ชุมศรี และมัทนชัย สุทธิพันธุ์. (2562). คุณภาพข้อมูลทางบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการตัดสินใจของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัด
สงขลา. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 11(1), 77-94.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2562). รายงานสถานการณ์วิสหากิจขนาดกลางและขนาดย่อม. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562, จาก
https://sme.go.th/upload/mod_download/download-20190909060638.pdf
อนุรักษ์ ทองสุโขวงศ์และศิริลักษณ์ ศุทธชัย.(2553). การใช้ประโยชน์จากรายงานทางการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, วารสารวิชาการ มอบ.
12(2), 79-84.
Faul, F.; Erdfelder, E.; Buchner, A.; Lang, A.-G.(2009). Statistical power analyses using G* Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses.
Behav. Res.Methods.